
Common


เรามี“เพื่อน”ได้มากที่สุด…กี่คน?
Dunbar’s Number คือตัวเลขจำนวนเพื่อนที่สมองส่วนหน้าของมนุษย์จะสามารถจำรายละเอียดได้ ซึ่งก็คือ 150 คน และก็เป็นตัวเลขเดียวกับจำนวนคนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มในประวัติศาสตร์ ซึ่งมาจากผลได้และต้นทุนของการรวมกลุ่ม บทความนี้จะชี้ให้เห็นมิติที่สอดคล้องกันดังกล่าว
“ความยากจน” คืออะไร?
ความยากจนเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามมานาน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าความยากจนคืออะไร มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และทำไมจึงแก้ไขได้ยากยิ่ง รวมทั้งยังได้เกริ่นถึงโครงการของช่างภาพคนหนึ่งที่ตระเวนถ่ายภาพทางเลือกของคนจนในแต่ละประเทศมาให้ชมกันด้วย
จะแบ่ง”เงินรางวัล”จากการแข่งขันอย่างไรดี?
หากมีเงินรางวัลอยู่จำนวนหนึ่ง เคยสงสัยไหมว่า เราควรจะแบ่งเงินก้อนนั้นให้เป็นรางวัลสำหรับกี่รางวัลดี และรางวัลต่างๆ เช่นที่หนึ่งและที่สอง ควรมีมูลค่าต่างกันเท่าไหร่ สัดส่วนดังกล่าวควรจะมาจากอะไร และมันจะส่งผลต่อการแข่งขันอย่างไรบ้าง บทความใน AER จะให้แนวทางกับเรา
“เสรีภาพทางการเมือง” หรือ “เสรีภาพทางเศรษฐกิจ” อะไรควรมาก่อนกัน?
เสรีภาพทางการเมือง และ เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ต่างก็เป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่ ประเทศที่พัฒนาแล้วย่อมประกอบด้วยเสรีภาพทั้งสองด้าน บทความชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ลำดับของการเปิดเสรีในแต่ละด้านก่อนหลังนั้น มีผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นแตกต่างกันมากทีเดียว
ใช้เวลานานแค่ไหนในการ “เปลี่ยนนิสัย” ตัวเอง?
การเปลี่ยนนิสัยตัวเราเองเป็นเรื่องยากมาก หลายคนคงเคยพยายามและล้มเลิกไปหลายครั้ง สาเหตุหนึ่งก็เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงเป้าหมาย บทความนี้จะพอบอกเราได้ว่า นานแค่ไหนที่เราต้องเพียรพยายามเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ล้มเลิกกลางคัน
“การเมืองนำเศรษฐกิจ” หรือ “เศรษฐกิจนำการเมือง”?
การเมืองและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กัน ในอดีต การเมืองเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลของหลายประเทศมักจะอ้าง(ทางการเมือง)ว่า เศรษฐกิจนำการเมือง แท้จริงแล้ว ประเทศแบบไหนที่การเมืองนำ และแบบไหนที่เศรษฐกิจนำ
ทำไม “เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” จึงเพิ่มขึ้น?
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ผลการวิจัยจำนวนหนึ่งมักจะอ้างถึงพฤติกรรมหรือนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่นยุคใหม่ แต่ถ้าสมมติว่าพวกเขามีความมีเหตุมีผลไม่ได้เปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนๆ แล้วอะไรคือเหตุผลทางที่ทำให้พฤติกรรมของพวกเขาเปลี่ยนไป เศรษฐศาสตร์จะช่วยตอบเราเรื่องนี้
โอกาสชนะของ “ฟุตบอลทีมชาติ” ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
หากมองการซื้อขายตัวนักเตะตามราคาตลาดเป็นมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า (Export-Import) แล้วมองอันดับของทีมชาติตามการจัดของ FIFA เป็นผลประกอบการของประเทศ เช่นนี้แล้วการซื้อขายตัวนักเตะจะทำให้ประเทศนั้นๆ เกิดผลได้ทางการค้า (Gain from Trade) หรือไม่
ทำไมผู้หญิงต้อง “ช็อปปิ้ง”?
หลายๆ ครั้งคุณผู้ชายไม่เข้าใจว่าทำไมคุณผู้หญิงต้องช็อปปิ้ง และหลายครั้งคุณผู้หญิงเองก็ควบคุมตนเองไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพราะความสุขของพวกเธออยู่ที่การปลดปล่อยอารมณ์ในการจับจ่ายมากกว่าเรื่องการใช้สอย โดยเหตุผลที่แท้จริงของการช็อปปิ้ง Sheconomics จะทำให้เราเข้าใจ และนำเสนอวิธีการแก้ไขที่(น่าจะ)ได้ผล
ถ้าประชากรมี“อายุยืนขึ้น” ประเทศจะรวยขึ้นหรือไม่?
ประเทศที่ร่ำรวย ประชากรจะมีอายุยืนยาว เพราะมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วในทางกลับกัน การที่ประชากรมีอายุยืนขึ้นจะทำให้พวกเขาจะรวยขึ้นหรือไม่ Acemoglu and Johnson (2007) ตอบว่าไม่ และ Cervellati and Sunde (2011) เสริมว่าขึ้นอยู่กับขั้นการเปลี่ยนแปลงโคงสร้างประชากรของแต่ละประเทศ
“มือที่สาม”เข้ามาแทรกได้อย่างไร?
ในปัจจุบัน หันไปมองทางไหน ทุกคนก็มีแฟนหมดแล้ว โดยเฉพาะถึงขั้นพูดกันว่าคนดีดีก็คงมีแฟนกันหมดแล้ว แต่เชื่อไหมว่าต่อให้เขาคนนั้นมีแฟนแล้ว แต่เหตุการณ์มือที่สามก็ไม่วายมีโอกาสเกิดขึ้นได้ บทความนี้มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ว่า ทำไมรักสามเส้าจึงเกิดขึ้น และเราจะไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
“Design by APPLE in California, Assembled in China” สหรัฐฯ ได้หรือขาดดุลการค้ากับจีนกันแน่?
สินค้าที่ประเทศหนึ่งเป็นเจ้าของ แต่ผลิตหรือประกอบที่ประเทศอื่น จะส่งผลอย่างไรต่อดุลการค้าหรือทั้งระบบเศรษฐกิจ กรณีของ iPhone เป็นตัวอย่างที่ดีต่อการตอบคำถามนี้ รวมไปถึงนโยบายที่ควรจะเป็น ผลประโยชน์ของประเทศ และแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนของจีน
จะเป็น “นักวิชาการที่ทรงอิทธิพล” ได้อย่างไร?
การเป็นนักวิชาการที่ทรงอิทธิพลนั้นเกิดจากการตีพิมพ์เอกสารในวารสารวิชาการให้มีผู้อ้างอิงมากเข้าไว้ เพราะเท่ากับได้รับการยอมรับจากนักวิชาการคนอื่นจำนวนมาก แต่เคยคิดไหมว่า หากมีจำนวนการอ้างอิงที่เท่ากัน การตีพิมพ์ในเอกสารน้อยชิ้นแต่ถูกอ้างอิงมากๆ กับการตีพิมพ์เอกสารมากชิ้น แต่ถูกอ้างอิงน้อย เหมือนกันหรือไม่