amnesty

“นิรโทษกรรม”ส่งเสริมความปรองดองหรือไม่?

จุดเริ่มต้นคือรัฐบาลต้องการความปรองดองให้กับคนในสังคม แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ถูกเสนอคือกฎหมายนิรโทษกรรมในลักษณะ set zero ซึ่งบทความวิชาการชี้ว่าไม่ว่าจะเป็น set zero ในรูปแบบใดก็ตาม นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดความปรองดองแล้ว ยังส่งผลลบต่อความร่วมมือของคนในสังคมเข้าไปอีกในระยะยาว
9789881900265_p0_v1_s260x420

“เมียฝรั่ง” มีผลแค่ไหนต่อเศรษฐกิจอีสาน?

การแต่งงานกับชาวต่างชาติของหญิงไทยนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่น่าสนใจว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของการแต่งงานดังกล่าวนั้นมีมูลค่าสูงเพียงใด และสาขาการผลิตอะไรบ้างที่ได้รับผลดีดังกล่าว ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตจะช่วยตอบคำถามที่น่าสนใจนี้ให้เรา
r_12238

ข้อควรคำนึง(ทางเศรษฐศาสตร์)ในการ“บริจาค”(หรือทำบุญ)

การใช้เงินไปเพื่อการบริจาคไม่เหมือนกับการใช้เงินเพื่อการบริโภคหรือลงทุน เพราะเรามักจะไม่หาข้อมูลก่อนตัดสินใจ และเมื่อจ่ายไปแล้ว เราก็มักจะไม่สนใจติดตามผลลัพธ์ของการบริจาคอีกต่างหาก เหล่านี้คือนิสัยที่ไม่ดีของการบริจาค ลองดูว่าเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้แง่คิดอะไรกับเราได้บ้าง
happy-new-year-clip-art-02

ข้อควรระวัง(ทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม)ในการ“เลือกซื้อของขวัญ”

การให้ของขวัญก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจจำนวนหนึ่ง เพราะมูลค่าของขวัญในสายตาผู้รับนั้นมักจะต่ำกว่าราคาของขวัญที่ผู้ให้จ่ายเงินซื้อ ทีนี้ลองมาดูกันว่าถ้าเราจะเลือกซื้อของขวัญโดยให้มูลค่าดังกล่าวมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจะแนะนำให้เราต้องระวังอะไรบ้าง
tsw_logo

ทำไมน้อง“ไม่”แต่งงาน?

การแต่งงานก่อให้เกิดผลดีกับทั้งชายและหญิง เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญระหว่างกัน แต่ทำไมในปัจจุบันเรากลับเห็นคนที่ไม่แต่งงานทั้งโดยสมัครใจและไม่สมัครใจมากขึ้น ปัจจัยอะไรที่ทำให้พวกเขาเลือกจะเป็นโสด และเขาตัดสินใจกันจริงๆ จังๆ ตอนอายุเท่าไหร่กัน
290x230-coup

“โครงสร้างรัฐบาล”แบบไหนจูงใจให้เกิดรัฐประหาร?

กองทัพจะตัดสินใจก่อรัฐประหารหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับโอกาสชนะกับผลได้หลังการรัฐประหาร ภายใต้โครงสร้างรัฐบาลที่รวมศูนย์อำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะต่ำ แต่ผลได้จะสูง แต่ในรัฐบาลที่กระจายอำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะสูง แต่ผลได้จะต่ำ ซึ่งการชั่งน้ำหนักจึงเป็นแกนหลักในการตัดสินใจของกองทัพ
tv-ads

ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่?

ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน บทความทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน
new_york_segregation

“แตกต่าง ไม่แตกแยก” หรือ “แตกแยก ไม่แตกต่าง”?

“แตกต่าง ไม่แตกแยก” เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะมันคือเป้าหมายที่สังคมอยากให้เป็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าลองสลับคำกันดู จะกลายเป็นคำว่า “แตกแยก (ทั้งที่)ไม่แตกต่าง” ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน คำถามก็คือ คำไหนมันเป็นไปได้มากกว่ากัน
homework2

“การบ้าน” ทำให้เด็กฉลาดขึ้นหรือไม่?

การบ้านเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการศึกษาในโรงเรียนมาเนิ่นนาน แต่เคยสงสัยกันไหมว่าการบ้านมีผลช่วยให้เด็กๆ ฉลาดขึ้นหรือไม่ มีวินัยมากขึ้นหรือไม่ รักการเรียนมากขึ้นไหม นอกจากนั้น การบ้านยังมีผลได้ที่ลดน้อยถอยลง เบียดบังเวลาเรียนรู้ด้านอื่นๆ แถมคุณครูแต่ละคนยังมี coordination failure ในการสั่งการบ้านด้วย
collegegirl2

โครงสร้างตลาด“บริการค้าประเวณีของนักศึกษา”เป็นแบบไหนกัน?

การค้าประเวณีของนักศึกษาเป็นธุรกิจหนึ่งที่สามารถนำเอากรอบการวิเคราะห์ตลาดของเศรษฐศาสตร์มาใช้ได้ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ วิทยานิพนธ์ของอัญชลี (2544) ได้นำเอา Porter 5 Forces Model มาอธิบายธุรกิจนี้ได้อย่างน่าสนใจ
hermes birkin

“วัยรุ่นใช้แบรนด์หรู”…เป็นเรื่องปกติหรือไม่?

กระเป๋าราคาแพงที่เห็นคนใช้กันเกลื่อนในประเทศไทย เกิดจากความฟุ้งเฟ้อของคนไทยมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือเป็นเพียงพัฒนาการขั้นหนึ่งทางการตลาดของสินค้าแบรนด์หรูเหล่านี้ที่ต้องการให้สังคมเป็นไป และมันก็เป็นไปเช่นเดียวกันในหลายๆ ประเทศด้วย บทความนี้มีมุมหนึ่งให้ลองพิจารณากัน
12571043261351773352wasat_Theatre_Masks.svg.med

เสียงปรบมือของ“เซเลบริตี้”มีผลอย่างไร?

เมื่อจบการแสดงในโรงละคร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำกันก็คือการลุกขึ้นปรบมือ บางการแสดงที่เราดูไม่รู้เรื่องก็มีคนลุกขึ้นปรบมือเป็นจำนวนมาก เคยสงสัยกันไหมว่าเป็นเพราะอะไร รวมทั้งเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องมีเซเลบริตี้นั่งกันอยู่แถวหน้าสุดให้เราเห็นกันด้วย
edu350

“กวดวิชา” ทำให้เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่?

การกวดวิชาเป็นรายจ่ายมหาศาลของระบบเศรษฐกิจ แต่การกวดวิชาก็สามารถก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ อาจจะมากถึง 5% เลยทีเดียว เพียงแต่แบบจำลองชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้การกวดวิชาก่อให้เกิดการยกระดับความสามารถของนักเรียน
poor girl

“ความยากจน” คืออะไร?

ความยากจนเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามมานาน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าความยากจนคืออะไร มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และทำไมจึงแก้ไขได้ยากยิ่ง รวมทั้งยังได้เกริ่นถึงโครงการของช่างภาพคนหนึ่งที่ตระเวนถ่ายภาพทางเลือกของคนจนในแต่ละประเทศมาให้ชมกันด้วย
Chicken_-_Cartoon_08.4172803_std

“ราคาไข่” เป็นตัวแทนของค่าครองชีพได้หรือไม่?

เป็นเวลานานแล้วที่ “ราคาไข่” เป็นเครื่องชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่เคยตั้งคำถามกันไหมว่า มันเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ดีหรือไม่ เพราะถ้ามันทำได้ไม่ดีพอ จะเท่ากับว่าเราไปลงโทษหรือให้คุณรัฐบาลที่ผิดฝาผิดตัวกันเลยทีเดียว