
Economics of Politics


“โจรสลัด” มีที่มาอย่างไร?
การโจมตีของโจรสลัดเป็นเรื่องที่เราคุ้ยเคยกันดี แต่ก็เฉพาะในภาพยนตร์เท่านั้น แล้วในความจริง การโจมตีของโจรสลัดมีมากน้อยเพียงใด ที่ไหน ได้อะไรไปบ้าง รวมทั้งอะไรที่ทำให้คนเหล่านี้เลือกเป็นโจรสลัด เศรษฐศาสตร์จะลองตอบคำถามเหล่านี้ดู
นักการเมืองจะตอบ“อีเมล์”กันไหม…หนอ?
อีเมล์เป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่เข้าถึงนักการเมืองโดยตรง และเชื่อว่านักการเมืองทุกคนมีอีเมล์แน่ๆ (อย่างน้อยก็ในนามบัตร) แต่เคยสงสัยกันไหมว่า หากติดต่อพวกเขาด้วยช่องทางนี้จริงๆ เขาจะตอบเราหรือไม่
แม่เลี้ยงของซินเดอเรลล่า“ใจร้าย”…จริงหรือ?
เทพนิยายซินเดอเรลล่าเป็นที่รักของเด็กๆ ทั่วโลก เรื่องราวของเจ้าชาย รองเท้าแก้ว รถฟักทอง แม่เลี้ยงและพี่สาวใจร้ายที่พยายามกีดกันไม่ให้ซินเดอเรลล่าได้แต่งงานกับเจ้าชาย แต่หากมองในทางเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมของแม่เลี้ยงอาจไม่เข้าข่ายใจร้าย แต่กลับสมเหตุสมผลแล้วต่างหาก
“คนไร้บ้าน”ในเมืองใหญ่ เป็นใคร มาจากไหน?
คนไร้บ้านในเมืองใหญ่เป็นปัญหาที่พบเห็นจนชินตา รัฐบาลเมืองมิลานต้องการแก้ไขปัญหานี้ในทางเศรษฐศาสตร์ จึงได้เริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลปฐมภูมิอย่างจริงจัง เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตในระดับมหภาคของคนกลุ่มนี้ ซึ่งหากนำมาปรับใช้ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดีของสังคมไทยเช่นกัน
“โครงสร้างรัฐบาล”แบบไหนจูงใจให้เกิดรัฐประหาร?
กองทัพจะตัดสินใจก่อรัฐประหารหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับโอกาสชนะกับผลได้หลังการรัฐประหาร ภายใต้โครงสร้างรัฐบาลที่รวมศูนย์อำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะต่ำ แต่ผลได้จะสูง แต่ในรัฐบาลที่กระจายอำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะสูง แต่ผลได้จะต่ำ ซึ่งการชั่งน้ำหนักจึงเป็นแกนหลักในการตัดสินใจของกองทัพ
ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่?
ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน บทความทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” หรือ “แตกแยก ไม่แตกต่าง”?
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะมันคือเป้าหมายที่สังคมอยากให้เป็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าลองสลับคำกันดู จะกลายเป็นคำว่า “แตกแยก (ทั้งที่)ไม่แตกต่าง” ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน คำถามก็คือ คำไหนมันเป็นไปได้มากกว่ากัน
โครงสร้างตลาด“บริการค้าประเวณีของนักศึกษา”เป็นแบบไหนกัน?
การค้าประเวณีของนักศึกษาเป็นธุรกิจหนึ่งที่สามารถนำเอากรอบการวิเคราะห์ตลาดของเศรษฐศาสตร์มาใช้ได้ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ วิทยานิพนธ์ของอัญชลี (2544) ได้นำเอา Porter 5 Forces Model มาอธิบายธุรกิจนี้ได้อย่างน่าสนใจ
“มาเฟียอิตาเลียน” มีที่มาอย่างไร?
เมื่อพูดถึงมาเฟียอิตาเลียน ทุกคนคงนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง The Godfather ที่โด่งดัง แต่เคยสงสัยกันไหมว่า มาเฟียมีประวัติศาสตร์ที่มาอย่างไร ทำไมจึงเกิดระบอบนี้ขึ้นได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีปรัชญาใดสนับสนุนให้มันเกิดขึ้น บทความนี้จะเล่าถึงการถือกำเนิดขึ้นของระบอบมาเฟียในประวัติศาสตร์อิตาลี
“แอฟริกา”ไม่พัฒนาเพราะเคยตกเป็นอาณานิคม…ใช่หรือไม่?
ระดับการพัฒนาของทวีปแอฟริกาล้าหลังกว่าที่อื่นๆ ของโลก โดยมักอ้างถึงสาเหตุสองประการ หนึ่งคือเป็นเพราะผู้ล่าอาณานิคมแบ่งเส้นเขตแดนประเทศจากผลประโยชน์ของประเทศตนเอง และสองเพราะโครงสร้างสถาบันที่มีอยู่เดิมของแอฟริกาไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถกเถียงกันตลอดมา เครื่องมือเศรษฐมิติจะช่วยตอบคำถามนี้ให้กับเรา
“Made in Italy” แต่ by China?
หลายคนที่มีโอกาสมาเที่ยวอิตาลีจะเห็นสินค้าตลาดนัดตามแหล่งท่องเที่ยวที่ดูคุณภาพไม่ค่อยดีนัก ราคาแพง และคนขายยืนยันหนักแน่นว่า “Made in Italy” พวกเขาไม่ได้โกหก เพราะ “Made in Italy” จริงๆ เพียงแต่ว่าไม่ใช่ความหมายอย่างที่เราเข้าใจกัน
กฎหมายจะควบคุม”วัฒนธรรมคอรัปชั่น”ได้หรือไม่?
คอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของสังคมด้วย ไม่ว่ากฎหมายจะเข้มแข็งแค่ไหนจึงไม่อาจกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยง่าย บทความนี้อาศัยการจอดรถผิดกฎหมายของนักการฑูตในนิวยอร์คมาทำให้รู้ว่า กฎหมายที่เข้มแข็ง แม้จะไม่ 100% แต่ก็ลดคอรัปชั่นได้มากอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
อะไรจะเกิดขึ้น หากผู้นำประเทศถูก”ลอบสังหาร”?
สาขารัฐศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องการลอบสังหารผู้นำมาเป็นจำนวนมาก แต่มักเป็นแบบกรณีศึกษา หากวิเคราะห์เรื่องนี้ด้วยการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นวิถีทางที่ถนัดของนักเศรษฐศาสตร์ ผลที่ออกมาจะบอกเราได้ว่า ในภาพรวมแล้ว ความสำเร็จของการลอบสังหารจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้หรือไม่