20111128-politics-economy-business

“การเมืองนำเศรษฐกิจ” หรือ “เศรษฐกิจนำการเมือง”?

การเมืองและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กัน ในอดีต การเมืองเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลของหลายประเทศมักจะอ้าง(ทางการเมือง)ว่า เศรษฐกิจนำการเมือง แท้จริงแล้ว ประเทศแบบไหนที่การเมืองนำ และแบบไหนที่เศรษฐกิจนำ
tv_licence

ใครเชื่อ “สิ่งที่นายกฯพูด”บ้าง ยกมือขึ้น?

ในอิตาลี อดีตนายกฯ Berlusconi ซึ่งเป็นเจ้าของสื่อทีวีร้อยละ 90 ออกทีวีบ่อยมากๆ แต่มีคนให้คะแนนความน่าเชื่อถือของเขาเพียง 2 เต็ม 10 เท่านั้น แต่เมื่อถามต่อ กลับพบว่าคนเชื่อถือสื่อทีวีถึง 6 เต็ม 10 แต่เขาก็ชนะการเลือกตั้งมาหลายครั้ง คนไม่เชื่อ Berlusconi แล้วเขาเชื่ออะไรในสื่อทีวีกัน
110125- Failed coup in Bangladesh-illustration for article by Haroon Habib

อะไรคือ “ราคา”ของการ(ไม่ถูก)ยึดอำนาจ?

การปฏิวัติเป็นเรื่องที่พบเห็นกันบ่อยครั้งทั่วโลก แต่การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับทางรัฐศาสตร์ Leon (2012) ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของงบประมาณทางการทหารของทั่วโลกที่มีผลต่อการเกิดการปฏิวัติในประเทศนั้นๆ
ballot-box

ประชาธิปไตยเป็น“สินค้าปกติ”หรือไม่?

เราเชื่อกันว่าเมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูงขึ้น ความเป็นประชาธิปไตยก็จะสูงขึ้นตามมา ความเชื่อนี้ไม่ได้ผิด เพียงแต่ประเทศที่ว่านั้น ต้องเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่หากว่าประเทศนั้นๆ ยังไม่เป็นประชาธปไตยล่ะ เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูงขึ้น แล้วระดับประชาธิปไตยจะสูงขึ้นจริงหรือ
HO014WitchMoon

ทำไมต้อง“ล่าแม่มด”?

การล่าแม่มดเป็นพิธีกรรมหนึ่งของยุโรปในสมัยก่อน เชื่อไหมว่าตอนนี้พิธีกรรมนี้ยังดำรงอยู่ในอีกหลายพื้นที่ของแอฟริกา บทความของ Edward Miguel จะช่วยให้เรารู้ว่า อะไรคือเหตุผลและความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่เบื้องหลังของพิธีกรรมนี้
Occupy-Wall-St-ALAN-test

ทำไมคนจน(บางกลุ่ม)ถึง “ต่อต้าน” การกระจายรายได้ใหม่?

คนจำนวนมากเชื่อว่า คนที่ต่อต้านการกระจายรายได้ใหม่อันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกัน คงเป็นแค่คนรวยเท่านั้น เพราะจะทำให้พวกเขาเสียประโยชน์ และคนที่สนับสนุนก็คงจะเป็นคนจน แต่งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นหนึ่งจะให้คำตอบในอีกบางส่วนที่ขาดหายไปว่าอาจไม่ใช่แค่นั้น และมันก็น่าสนใจมากทีเดียว
7

ทำไมเราต้อง check in “@Terminal 21″?

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาที่เราอยากจะนัดเพื่อนๆ ไปกินข้าว เราต้องนัดที่ Terminal 21, Siam Paragon, Esplanade, Emporium, … ทั้งที่ยังมีห้างอื่นๆ ที่มีร้านอาหารให้นั่งเหมือนกัน มุมมองของ Veblen จะช่วยอธิบายความคิดของสังคมในเรื่องนี้
jail

เราจะถูก “คุมขัง” นานแค่ไหนในระหว่างการพิจารณาคดี?

หากวันนึงเรากลายเป็นผุ้ต้องหา และเราไม่ได้กระทำความผิด แน่นอนว่าเราต้องต่อสู้คดี และยืนยันความบริสุทธิ์ เคยสงสัยกันไหมว่า เราจะต้องถูกคุมขังนานแค่ไหน เพื่อต่อสู้คดีในความไม่ผิดของเรา งานวิจัยของกรมราชทัณฑ์จะช่วยบอกเราได้
ภาพที่ ๑ ภาพจากดาวเทียมของความสว่างของแสงไฟในยามค่ำคืนในปี 2003 (ภาพจากบทความ)

จะวัด GDP จากนอกโลกได้อย่างไร?

ปัญหาของคุณภาพการวัดมูลค่า GDP นั้นยังมีอยู่ให้เห็นในหลายประเทศ รวมทั้งยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่แม่นยำได้ในระดับเมือง การวัด GDP จากนอกโลก (Outer Space) ที่ถูกนำเสนอนี้ อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ให้ประโยชน์กับโลกของเราก็เป็นได้
Louis-V-SS2012-Ad-Campaign-1 2

Louis Vuitton และ Gucci “ปรับตัว” อย่างไรในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ?

ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เคยสงสัยไหมว่า กระเป๋า Louis Vuitton และ Gucci ซึ่งเป็นสินค้าหรูหราที่มีมูลค่าตราสินค้ามากที่สุดในโลก จะปรับราคา ปรับรุ่นการผลิตอย่างไร งานศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นความจริงอีกด้านของสังคมทุนนิยมบนโลกใบนี้
tcL0kEAqSBKDCcKqD_ryMw

ภัยพิบัติของสังคม…ฤาจะเป็นลาภลอยของรัฐบาล?

สถานการณ์น้ำท่วมทำให้เราได้เห็นการร่วมแรงร่วมใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว งบประมาณ(โดยชอบธรรม)อันมหาศาลของรัฐบาลจะตามมา ภัยพิบัติของสังคมจึงเปรียบเสมือนลาภลอยก้อนใหญ่ และอาจส่งผลต่อการคอรัปชั่นที่จะตามมา
cartoon_forest

บริหารจัดการ “ทรัพยากรร่วม” อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ? — รางวัลโนเบลว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๒ (จบ)

การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๒ นี้จะมาดูกันว่า ทางเลือกไม่ใช่โดยรัฐหรือเอกชน ซึ่งก็คือโดยชุมชน ที่ Ostrom เสนอมานั้น จำเป็นต้องมีกติกาอะไรบ้างจึงจะทำให้กบริหารจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
crossing_the_river_1126965

ทำไมการบริหารจัดการ “ทรัพยากรร่วม” จึงล้มเหลว? — รางวัลโนเบลว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๑

Elinor Ostrom เจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2009 เรื่อง “การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม” (Common-pool Resources) ได้บอกให้เรารู้ว่า ที่ผ่านมา ทำไมสังคมส่วนใหญ่จึงล้มเหลวในการดูแลทรัพยากรของตน
4499c83cd9c641592474a34123e054b2

เราควร “เห็นใจ” คนฉวยโอกาสหรือไม่?

สถานการณ์ภัยพิบัติจากเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้มีผู้สูญเสียเป็นจำนวนมาก ในด้านดีก็ทำให้เห็นความสามัคคีของคนไทยด้วยกันในยามเกิดวิกฤต แต่ก็ไม่วายที่จะมีคนไม่ดีที่คอยฉกฉวยโอกาส แล้วเราควรเห็นใจคนเหล่านี้หรือไม่ในเวลาสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้
cartoon-tornado

ว่าด้วย “ภัยพิบัติ” ตอนที่ ๑ — ภูมิภาคไหนโดนภัยพิบัติกันบ้าง?

เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของประเทศไทย มาลองดูกันว่าประเทศไหนในโลกบ้างที่ประสบกับภัยพิบัติต่างๆ เหล่านี้ และผลกระทบที่เกิดกับในแต่ละพื้นที่ เมื่อพิจารณาจากหลายๆ ด้านมีมากน้อยแค่ไหนกัน