
Blog


“โครงสร้างรัฐบาล”แบบไหนจูงใจให้เกิดรัฐประหาร?
กองทัพจะตัดสินใจก่อรัฐประหารหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับโอกาสชนะกับผลได้หลังการรัฐประหาร ภายใต้โครงสร้างรัฐบาลที่รวมศูนย์อำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะต่ำ แต่ผลได้จะสูง แต่ในรัฐบาลที่กระจายอำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะสูง แต่ผลได้จะต่ำ ซึ่งการชั่งน้ำหนักจึงเป็นแกนหลักในการตัดสินใจของกองทัพ
ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่?
ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน บทความทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน
ทำไม“ผู้หญิงสวย”จึงมักลงเอยกับ“ผู้ชายไม่หล่อ”?
ความเป็นจริงของชีวิตที่เราพบเห็นกันทั่วไปที่ผู้หญิงสวยมักลงเอยกับผู้ชายไม่หล่อ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้สามารถอธิบายได้ในทางเศรษฐศาสตร์ และมันยังทำให้เรารู้ว่า หากเราอยากมีความสุขในการแต่งงาน เราควรหาคู่ครองที่มีหน้าตาระดับไหนเมื่อเทียบกับตัวเราเอง
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” หรือ “แตกแยก ไม่แตกต่าง”?
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะมันคือเป้าหมายที่สังคมอยากให้เป็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าลองสลับคำกันดู จะกลายเป็นคำว่า “แตกแยก (ทั้งที่)ไม่แตกต่าง” ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน คำถามก็คือ คำไหนมันเป็นไปได้มากกว่ากัน
“การบ้าน” ทำให้เด็กฉลาดขึ้นหรือไม่?
การบ้านเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการศึกษาในโรงเรียนมาเนิ่นนาน แต่เคยสงสัยกันไหมว่าการบ้านมีผลช่วยให้เด็กๆ ฉลาดขึ้นหรือไม่ มีวินัยมากขึ้นหรือไม่ รักการเรียนมากขึ้นไหม นอกจากนั้น การบ้านยังมีผลได้ที่ลดน้อยถอยลง เบียดบังเวลาเรียนรู้ด้านอื่นๆ แถมคุณครูแต่ละคนยังมี coordination failure ในการสั่งการบ้านด้วย
โครงสร้างตลาด“บริการค้าประเวณีของนักศึกษา”เป็นแบบไหนกัน?
การค้าประเวณีของนักศึกษาเป็นธุรกิจหนึ่งที่สามารถนำเอากรอบการวิเคราะห์ตลาดของเศรษฐศาสตร์มาใช้ได้ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ วิทยานิพนธ์ของอัญชลี (2544) ได้นำเอา Porter 5 Forces Model มาอธิบายธุรกิจนี้ได้อย่างน่าสนใจ
“การค้าระหว่างดวงดาว”จะเกิดได้จริงหรือไม่ในทางเศรษฐศาสตร์?
หากไม่นับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว เคยนึกไหมว่า ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การค้าในระยะทางที่ไกลและใช้เวลายาวนานมากขนาดนี้จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ใช้แนวคิดของการค้าระหว่างประเทศมาช่วยตอบคำถามนี้ให้เรา
“มาเฟียอิตาเลียน” มีที่มาอย่างไร?
เมื่อพูดถึงมาเฟียอิตาเลียน ทุกคนคงนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง The Godfather ที่โด่งดัง แต่เคยสงสัยกันไหมว่า มาเฟียมีประวัติศาสตร์ที่มาอย่างไร ทำไมจึงเกิดระบอบนี้ขึ้นได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีปรัชญาใดสนับสนุนให้มันเกิดขึ้น บทความนี้จะเล่าถึงการถือกำเนิดขึ้นของระบอบมาเฟียในประวัติศาสตร์อิตาลี
“วัยรุ่นใช้แบรนด์หรู”…เป็นเรื่องปกติหรือไม่?
กระเป๋าราคาแพงที่เห็นคนใช้กันเกลื่อนในประเทศไทย เกิดจากความฟุ้งเฟ้อของคนไทยมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือเป็นเพียงพัฒนาการขั้นหนึ่งทางการตลาดของสินค้าแบรนด์หรูเหล่านี้ที่ต้องการให้สังคมเป็นไป และมันก็เป็นไปเช่นเดียวกันในหลายๆ ประเทศด้วย บทความนี้มีมุมหนึ่งให้ลองพิจารณากัน
“แอฟริกา”ไม่พัฒนาเพราะเคยตกเป็นอาณานิคม…ใช่หรือไม่?
ระดับการพัฒนาของทวีปแอฟริกาล้าหลังกว่าที่อื่นๆ ของโลก โดยมักอ้างถึงสาเหตุสองประการ หนึ่งคือเป็นเพราะผู้ล่าอาณานิคมแบ่งเส้นเขตแดนประเทศจากผลประโยชน์ของประเทศตนเอง และสองเพราะโครงสร้างสถาบันที่มีอยู่เดิมของแอฟริกาไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถกเถียงกันตลอดมา เครื่องมือเศรษฐมิติจะช่วยตอบคำถามนี้ให้กับเรา
เสียงปรบมือของ“เซเลบริตี้”มีผลอย่างไร?
เมื่อจบการแสดงในโรงละคร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำกันก็คือการลุกขึ้นปรบมือ บางการแสดงที่เราดูไม่รู้เรื่องก็มีคนลุกขึ้นปรบมือเป็นจำนวนมาก เคยสงสัยกันไหมว่าเป็นเพราะอะไร รวมทั้งเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องมีเซเลบริตี้นั่งกันอยู่แถวหน้าสุดให้เราเห็นกันด้วย
“กวดวิชา” ทำให้เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่?
การกวดวิชาเป็นรายจ่ายมหาศาลของระบบเศรษฐกิจ แต่การกวดวิชาก็สามารถก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ อาจจะมากถึง 5% เลยทีเดียว เพียงแต่แบบจำลองชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้การกวดวิชาก่อให้เกิดการยกระดับความสามารถของนักเรียน
“Made in Italy” แต่ by China?
หลายคนที่มีโอกาสมาเที่ยวอิตาลีจะเห็นสินค้าตลาดนัดตามแหล่งท่องเที่ยวที่ดูคุณภาพไม่ค่อยดีนัก ราคาแพง และคนขายยืนยันหนักแน่นว่า “Made in Italy” พวกเขาไม่ได้โกหก เพราะ “Made in Italy” จริงๆ เพียงแต่ว่าไม่ใช่ความหมายอย่างที่เราเข้าใจกัน