Chicken_-_Cartoon_08.4172803_std

“ราคาไข่” เป็นตัวแทนของค่าครองชีพได้หรือไม่?

เป็นเวลานานแล้วที่ “ราคาไข่” เป็นเครื่องชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่เคยตั้งคำถามกันไหมว่า มันเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ดีหรือไม่ เพราะถ้ามันทำได้ไม่ดีพอ จะเท่ากับว่าเราไปลงโทษหรือให้คุณรัฐบาลที่ผิดฝาผิดตัวกันเลยทีเดียว

……….


ข่เป็นอาหารโปรตีนที่มีราคาถูก เมื่อเทียบตามน้ำหนักกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่น และยังเป็นสินค้าที่มีการบริโภคในวงกว้างของครัวเรือนหลากหลายฐานะ และอาหารหลากหลายประเภท แต่การที่ราคาไข่กลายเป็นดัชนี้ชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลก็เพราะสื่อมวลชนพยายามทำให้ข้อมูลที่มากมายและหลายมิตินั้นง่ายขึ้นกับประชาชนในการออกเสียงเลือกตั้ง จึงได้เริ่มต้นกระบวนการเชื่อมโยงราคาไข่เข้ากับการเมือง โดยในกรณีของไทยจะใช้คำว่า “ไข่นายก” (= (ราคา)ไข่ + (ฝีมือ)นายก) เช่น ไข่ชวน ไข่ทักษิณ ไข่บรรหาร ไข่มาร์ค เป็นต้น

การตั้งชื่อเช่นนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเรียกว่า ไข่คุณชาย ซึ่งมีราคา 1.50 บาท สมัยพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ชื่อว่า ไข่เกรียงศักดิ์ 1.60 บาท สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้ชื่อว่า ไข่ป๋าเปรม สมัยที่หนึ่ง 1.26 บาท สมัยที่ห้า 1.80 บาท สมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือ ไข่น้าชาติ 1.90-2.00 บาท สมัยนายชวน หลีกภัย หรือ ไข่คุณชวน 1.65-2.70 บาท สมัยพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หรือ ไข่แม้ว 2.40-3.20 บาท สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หรือ ไข่บิ๊กแอ๊ด 3.00 บาท สมัยนายสมัคร สุนทรเวช หรือ ไข่สมัคร 3.00 บาท และสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือ ไข่มาร์ค 3.30 บาท อย่างไรก็ตาม มีสมัยนายอานัท์ ปันยารชุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ไม่ได้รับความสนใจในการตั้งชื่อเรื่องไข่มากนัก

……….

กิตติศักดิ์ ธรพร และชยงการ (2011) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาไข่ ซึ่งใช้ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 เพราะมีปริมาณการบริโภคสูงที่สุด กับข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจสองประเภท คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ราคาไข่สามารถเป็นเครื่องมือชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลได้หรือไม่ โดยใช้ข้อมูล 148 เดือนตั้งแต่มกราคม 2542 ถึง เมษายน 2554

จากการประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) ระหว่างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับราคาไข่ (ดูตารางที่ ๑) และระหว่างดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานกับราคาไข่ (ดูตารางที่ ๒) พบว่า ราคาไข่เป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่สำคัญมาก (ในระดับนัยสำคัญที่ 0.01) ของทั้งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน

“ตารางที่ ๑ ผลการประมาณค่าราคาไข่กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยวิธี OLS”

“ตารางที่ ๒ ผลการประมาณค่าราคาไข่กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานโดยวิธี OLS”

……….

อย่างไรก็ตาม การประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดไม่ได้ให้ค่าที่ถูกต้องกับกรณีของราคาไข่กับดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจทั้งสองตัวดังกล่าว เนื่องจากทั้งสามตัวแปรมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น เวลาจึงเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงร่วมกันของตัวแปรทั้งสามซึ่งทำให้ตัวแปรทั้งสามมีความสัมพันธ์ที่ไม่จริงต่อกัน (Spurious Regression)

[หากนึกภาพไม่ออก ลองจินตนาการดูว่าถ้าเอาราคาก๋วยเตี๋ยวตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มาหาความสัมพันธ์กับปริมาณรถยนต์บนท้องถนนตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ก็จะพบว่ามีความสัมพันธ์กันสูง ทั้งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเลย]

ความสัมพันธ์ระหว่างราคาไข่ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กับเวลา สามารถแสดงได้ตามภาพที่ ๑ ๒ และ ๓ ตามลำดับ ซึ่งแนวโน้มของตัวแปรแต่ละตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป

“ภาพที่ ๑ การเปลี่ยนแปลงราคาไข่”

“ภาพที่ ๒ การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน”

“ภาพที่ ๓ การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ”

……….

วิธีการหาความสัมพันธ์ที่ถูกต้องในกรณีเช่นนี้จึงต้องเป็นการประมาณค่าความสัมพันธ์ระยะยาวโดยวิธี Johansen Cointegration Test

ผลการประมาณค่าความสัมพันธ์ระหว่างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับราคาไข่ และระหว่างดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานกับราคาไข่ แสดงได้ในตารางที่ ๔ และ ๕ ตามลำดับ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วหากตัดเอาความสัมพันธ์ของเวลาออกไป ทั้งราคาไข่กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกลับไม่มีความสัมพันธ์กันเลย นั่นเท่ากับว่าการใช้ราคาไข่มาเป็นดัชนี้ชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ย่อมไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

“ตารางที่ ๓ ผลการประมาณค่าราคาไข่กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานโดยวิธี Johansen Cointegration Test”

“ตารางที่ ๓ ผลการประมาณค่าราคาไข่กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยวิธี Johansen Cointegration Test”

……….

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าจะดูมีเหตุผลที่ราคาไข่จะเป็นดัชนี้ชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ดี แต่สาเหตุที่ราคาไข่ไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีได้ในโลกความเป็นจริงก็เพราะราคาไข่นั้นถูกกำหนดโดยปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศที่ส่งผลต่อการออกไข่ของแม่ได้ สถานการณ์น้ำท่วมฟาร์มไก่ รวมถึงการผูกขาดตลาดไข่ไก่ของผู้ผลิตรายใหญ่ด้วย

ในประเด็นของการผูกขาดตลาดไข่ไก่สามารถดูได้จากวิดีโอนำเสนอที่จัดทำโดย VReform นะครับ ^^






ขอบคุณ สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แชร์บทความมาในกลุ่ม Social Sciences and Humanities Readers in Thailand

ที่มา: Jermsittiparsert, Kittisak, Sriyakul, Thanaporn and Pamornmast, Chayongkan, คุณภาพของสื่อไทย: ข้อเสนอเชิงประจักษ์ว่าด้วย ‘วาทกรรมไข่นายก’ (Quality of Thai Media: Empirical Proposals on ‘Prime Minister’s Eggs Discourse’) (July 1, 2011). Journal of Social Sciences and Humanities, Vol. 37, No. 2, pp. 212-225, 2011.

featured image from here