
General Economics


เสียงปรบมือของ“เซเลบริตี้”มีผลอย่างไร?
เมื่อจบการแสดงในโรงละคร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำกันก็คือการลุกขึ้นปรบมือ บางการแสดงที่เราดูไม่รู้เรื่องก็มีคนลุกขึ้นปรบมือเป็นจำนวนมาก เคยสงสัยกันไหมว่าเป็นเพราะอะไร รวมทั้งเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องมีเซเลบริตี้นั่งกันอยู่แถวหน้าสุดให้เราเห็นกันด้วย
“กวดวิชา” ทำให้เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่?
การกวดวิชาเป็นรายจ่ายมหาศาลของระบบเศรษฐกิจ แต่การกวดวิชาก็สามารถก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ อาจจะมากถึง 5% เลยทีเดียว เพียงแต่แบบจำลองชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้การกวดวิชาก่อให้เกิดการยกระดับความสามารถของนักเรียน
“Made in Italy” แต่ by China?
หลายคนที่มีโอกาสมาเที่ยวอิตาลีจะเห็นสินค้าตลาดนัดตามแหล่งท่องเที่ยวที่ดูคุณภาพไม่ค่อยดีนัก ราคาแพง และคนขายยืนยันหนักแน่นว่า “Made in Italy” พวกเขาไม่ได้โกหก เพราะ “Made in Italy” จริงๆ เพียงแต่ว่าไม่ใช่ความหมายอย่างที่เราเข้าใจกัน
กฎหมายจะควบคุม”วัฒนธรรมคอรัปชั่น”ได้หรือไม่?
คอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของสังคมด้วย ไม่ว่ากฎหมายจะเข้มแข็งแค่ไหนจึงไม่อาจกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยง่าย บทความนี้อาศัยการจอดรถผิดกฎหมายของนักการฑูตในนิวยอร์คมาทำให้รู้ว่า กฎหมายที่เข้มแข็ง แม้จะไม่ 100% แต่ก็ลดคอรัปชั่นได้มากอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
“ความยากจน” คืออะไร?
ความยากจนเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามมานาน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าความยากจนคืออะไร มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และทำไมจึงแก้ไขได้ยากยิ่ง รวมทั้งยังได้เกริ่นถึงโครงการของช่างภาพคนหนึ่งที่ตระเวนถ่ายภาพทางเลือกของคนจนในแต่ละประเทศมาให้ชมกันด้วย
จะแบ่ง”เงินรางวัล”จากการแข่งขันอย่างไรดี?
หากมีเงินรางวัลอยู่จำนวนหนึ่ง เคยสงสัยไหมว่า เราควรจะแบ่งเงินก้อนนั้นให้เป็นรางวัลสำหรับกี่รางวัลดี และรางวัลต่างๆ เช่นที่หนึ่งและที่สอง ควรมีมูลค่าต่างกันเท่าไหร่ สัดส่วนดังกล่าวควรจะมาจากอะไร และมันจะส่งผลต่อการแข่งขันอย่างไรบ้าง บทความใน AER จะให้แนวทางกับเรา
“ราคาไข่” เป็นตัวแทนของค่าครองชีพได้หรือไม่?
เป็นเวลานานแล้วที่ “ราคาไข่” เป็นเครื่องชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่เคยตั้งคำถามกันไหมว่า มันเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ดีหรือไม่ เพราะถ้ามันทำได้ไม่ดีพอ จะเท่ากับว่าเราไปลงโทษหรือให้คุณรัฐบาลที่ผิดฝาผิดตัวกันเลยทีเดียว
เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร: “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” หรือ “คบเพื่อนไม่ดี” กันแน่?
ข้อถกเถียงใหญ่ประการหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรคือ เป็นเพราะพ่อแม่ไม่สั่งสอน หรือเพราะพวกเขาคบเพื่อนไม่ดีกันแน่ แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จะเปรียบเทียบผลประทบทั้งสอง โดยควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่า ใครกันที่ควรรับผิดชอบ
จะอธิบาย “โลกาภิวัตน์” ด้วย “ฟุตบอล” ได้อย่างไร?
ฟุตบอลในฐานะกีฬาของมวลมนุษยชาติ ถือเป็นกีฬาที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์มาก เมื่อลองวิเคราะห์ผลของโลกาภิวัตน์ โดยใช้วงการฟุตบอล ในประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำที่มีการถกเถียงกันอยู่ เราก็จะได้เห็นมิติบางด้านที่น่าสนใจ
เค้า “เล่นแชร์” กันยังไง?
การเล่นแชร์นั้นไม่ได้ผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แถมยังมีรูปแบบไม่ยากนักในการความเข้าใจ บทความนี้จะอธิบายวิธีการเล่นพร้อมวิธีคำนวณต่างๆ รวมทั้งมีไฟล์ EXCEL ให้ลองเล่น นอกจากนี้ การเล่นแชร์ยังสะท้อนอัตราดอกเบี้ยแบบชาวบ้านและความไว้เนื้อเชื่อใจของคนในสังคมด้วย
เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของ “นิสิตนักศึกษา” อย่างไร?
เนื่องจากนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยเพิ่งอยู่ในช่วงเปิดภาคเรียน [เสด-ถะ-สาด].com จึงขอให้กำลังใจนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจเองหรือเลือกไม่ได้ แต่สุดท้ายต้องเข้ามาเรียนเศรษฐศาสตร์ทุกคน ด้วยการนำเอาเรื่องราวสนุกๆ เกี่ยวกับวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายวิถีชีวิตประจำวันของความเป็นนิสิตนักศึกษา
โอกาสชนะของ “ฟุตบอลทีมชาติ” ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
หากมองการซื้อขายตัวนักเตะตามราคาตลาดเป็นมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า (Export-Import) แล้วมองอันดับของทีมชาติตามการจัดของ FIFA เป็นผลประกอบการของประเทศ เช่นนี้แล้วการซื้อขายตัวนักเตะจะทำให้ประเทศนั้นๆ เกิดผลได้ทางการค้า (Gain from Trade) หรือไม่
ถ้าประชากรมี“อายุยืนขึ้น” ประเทศจะรวยขึ้นหรือไม่?
ประเทศที่ร่ำรวย ประชากรจะมีอายุยืนยาว เพราะมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วในทางกลับกัน การที่ประชากรมีอายุยืนขึ้นจะทำให้พวกเขาจะรวยขึ้นหรือไม่ Acemoglu and Johnson (2007) ตอบว่าไม่ และ Cervellati and Sunde (2011) เสริมว่าขึ้นอยู่กับขั้นการเปลี่ยนแปลงโคงสร้างประชากรของแต่ละประเทศ