สมบัติ

แบ่ง“มรดก”อย่างไรไม่ให้ทะเลาะกัน?

การแบ่งมรดกเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พี่น้องต้องมาทะเลาะกัน ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ความโลภ แต่อยู่ที่ความไม่เป็นธรรม อันเนื่องจากผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกเป็นคนเดียวกัน อีกทั้งการหามูลค่าที่เท่ากันของมรดกหลายประเภทผสมกันนั้นอาจทำได้ยาก เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์จะมาช่วยแบ่งให้เท่าเทียมกันและพอใจกันทุกฝ่ายได้

……….


ารแบ่งสมบัติอาจทำให้พี่น้องซึ่งเคยรักกันกลับมาผิดใจกันได้ ยิ่งสมบัติมีมูลค่ามาก ปัญหาก็อาจจะมากตามมา ในทางตรงกันข้าม หากไม่มีสมบัติ ปัญหาความขัดแย้งบางอย่างก็อาจไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ หากเจ้าของสมบัติเสียชีวิตลง สมบัติก็จะเปลี่ยนเป็นมรดก ซึ่งถ้าไม่มีพินัยกรรมที่ชัดเจน ความขัดแย้งก็จะยิ่งสูงขึ้นเป็นทวีคูณ

บางคนอาจคิดว่าความขัดแย้งเรื่องสมบัติเป็นเรื่องของความโลภ เพราะละครไทยมักสร้างให้พระเอก/นางเอกปฏิเสธที่รับมรดก (แต่สุดท้ายก็ต้องรับมรดกด้วยความจำใจ) แต่อันที่จริง ความขัดแย้งกลับเกิดจากความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมมากกว่าเรื่องของความโลภ (รู้สึกว่าตนเองควรจะได้มากกว่า) ซึ่งสาเหตุรากฐานก็เพราะไม่มีระบบการแบ่งมรดกที่ดีพอ

ตามครรลองแล้ว กระบวนการแบ่งมรดกก็คือ กฎหมายจะทำการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก (ส่วนมากก็เป็นพี่ชายคนโต) และผู้จัดการมรดกก็จะทำหน้าที่แบ่งสรรสมบัติ ผลก็คือผู้จัดการมรดกก็มักแบ่งสรรแล้วตนเองได้ประโยชน์มากกว่าคนอื่นๆ ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น

……….

ปัญหาของการแบ่งสมบัตินั้นมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนแรกคือ ผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการแบ่งสรรนั้น เป็นผู้รับมรดกด้วย (Principal-Agent Problem) ส่วนที่สองคือ สมบัติอาจถูกตีมูลค่าไม่เท่ากันในความรู้สึกของแต่ละคนที่ได้รับ เช่น มีที่ดินอยู่ 5 ไร่ แบ่งให้พี่น้อง 5 คน จะได้คนละ 1 ไร่ ซึ่งดูเหมือนว่าจะได้เท่ากัน แต่ที่จริงแล้ว มันขึ้นอยู่กับว่า ใครได้ด้านหน้า/ด้านหลัง หน้ากว้าง/หน้าแคบ ติดถนน/ด้านใน อยู่กลางแปลง/ด้านข้าง เป็นต้น [หากสมบัติเป็นเงิน อาจจะไม่มีปัญหานี้ เพราะแบ่งได้เท่าเทียมกว่า แต่หากมีสมบัติแล้วแปลงเป็นเงิน ความขัดแย้งก็ยังอาจจะเกิดขึ้นอยู่ดี เพราะ อาจต้องถกเถียงกันในเรื่องราคาขายที่เหมาะสม]

อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้แนวทางการแบ่งมรดกนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ๒ ประการ หนึ่งคือการฮั้วกันของพี่น้องบางคนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ สองคือแนวทางนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อเป็นการแบ่งสมบัติแบบเท่ากันทุกคน

“ดอกโศกอาจจะได้มรดกมากกว่านี้ หากคุณตาแบ่งมรดกตามวิธีที่เสนอในบทความ”


ปัญหาแรกที่ผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการแบ่งสรรเป็นผู้รับมรดกด้วยนั้น หลักการก็คือต้องแยกความเป็นผู้มีอำนาจในการจัดสรรกับความเป็นผู้ได้รับส่วนแบ่งออกจากกัน แน่นอนว่าไม่ใช่การหาบุคคลที่สามเข้ามาจัดสรร เพราะเขาก็อาจเข้าข้างพี่น้องคนใดคนหนึ่ง (หรืออาจถูกประมูลซื้อตัวจากเหล่าพี่น้อง) ดังนั้น ต้องแก้ไขปัญหานี้ในเชิงระบบ

แนวทางก็คือ “เมื่อแบ่งกองมรดกแล้ว ผู้จัดการมรดกจะเป็นผู้ได้รับกองมรดกที่เหลือจากคนอื่นๆ” ลองจินตนาการดูว่า หากคุณเป็นผู้จัดการมรดก คุณจะแบ่งกองอย่างไรให้คุณได้มรดกมากที่สุด นั่นคือ คุณต้องแบ่งให้ทุกกองมีมูลค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด เพราะคุณไม่รู้ว่ากองไหนจะเหลือ และไม่ว่ากองไหนเหลือก็ตาม คุณจะได้ความพอใจไม่แตกต่างออกไป(แน่ๆ)

อย่างไรก็ตาม กองมรดกที่ถูกแบ่งจะมีมูลค่าใกล้เคียงกันเฉพาะในมุมของผู้จัดการมรดกเท่านั้น แต่พี่น้องคนอื่นอาจจะคิดต่างออกไป เช่น หากพี่น้องบางคนต้องการกองมรดกกองเดียวกัน เพราะให้มูลค่าสูงที่สุดที่มรดกกองเดียวกัน ความขัดแย้งก็อาจเกิดขึ้น และคำถามก็คือ ใครควรจะได้มรดกกองนี้ไป

ในกรณีนี้ แนวทางก็คือ “ผู้ที่จะได้รับมรดกแต่ละกองต้องเป้นผู้ชนะการประมูลมรดกกองนั้นๆ”

ลองจินตนาการดูว่า หากพี่น้องแต่ละคนเลือกมรดกคนละกองไม่ซ้ำกันเลย นั่นหมายความว่า มูลค่าการประมูลเป็นศูนย์ แต่ทุกคนจะได้รับความพอใจสูงที่สุด เพราะแต่ละคนได้รับมรดกกองที่มีมูลค่าสูงที่สุดสำหรับตนเอง ขณะที่ผู้จัดการมรดกก็ไม่ได้สูญเสียเช่นกัน

แต่หากพี่น้องแต่ละคนเลือกกองมรดกที่ซ้ำกันไปมา ให้แต่ละคนเสนอราคาประมูลกองมรดกแต่ละกอง พวกเขาจะเสนอมูลค่าเท่าที่เขารู้สึกว่ามันควรจะเป็น (หากราคาประมูลสูงเกินไป เขาจะไปเลือกกองอื่น) การแข่งขันนี้จะทำให้คนที่ให้มูลค่าสูงที่สุดกับมรดกกองนั้นๆ ได้มรดกไป ซึ่งคนที่ประมูลไปแล้วจะไม่สามารถประมูลกองอื่นได้อีก (เพราะมรดกรับได้แค่คนละกองเท่านั้น) แน่นอนว่า คนสุดท้ายจะไม่ต้องจ่ายเงินประมูลเลย เพราะไม่มีใครแข่งประมูล

จากนั้น เงินที่ได้จากการประมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมและหารเฉลี่ยเท่ากันคืนให้กับพี่น้องทุกคนเท่าๆ กัน นั่นหมายความว่าทุกคนที่จ่ายออกไปนั้น จะไม่ได้จ่ายเท่ากับที่ตัวเองจ่ายออกไปจริงๆ เพราะได้เงินคืนภายหลัง ซึ่งจะเป็นเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับการให้มูลค่ามรดกกองอื่นๆ ของคนอื่นๆ และคนที่รับมรดกกองสุดท้ายจะเป็นผู้ได้รับเงินเพิ่มจากมรดกแน่นอน ซึ่งก็สมเหตุสมผล เพราะเขากำลังได้รับมรดกกองที่สังคม(พี่น้อง)ให้มูลค่าต่ำที่สุด

……….

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย สมมติว่าคุณได้ที่ดินรูปร่างแปลกๆ มาหนึ่งแปลง และต้องแบ่งให้พี่น้อง 5 คน ผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นพี่คนโตอาจจะเริ่มจากการแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คำนึงถึงทำเลที่อยู่ตรงกลาง/ริม และติดถนน/ด้านใน โดยออกมาเป็นสัดส่วนดังนี้ 10% 15% 20% 25% และ 30% ผลการประมูลแสดงได้ดังตาราง

ลำดับการประมูล พี่น้องคนที่ชนะประมูล สัดส่วนที่ดิน ลักษณะที่ดิน ราคาประมูล เงินที่ได้รับหลังการประมูล มรดกสุทธิที่ได้รับ
(
ที่ดิน + เงิน)
1 3 30% ด้านใน 100 50 30% – 50
2 2 15% ติดน้ำ 75 50 15% – 25
3 4 20% มุมนอก 50 50 20%
4 5 10% ติดถนน 25 50 10% + 25
5 1 25% มุมใน 0 50 25% + 50


จากตัวอย่างจะเห็นว่า พี่น้องคนที่ 3 จ่ายสูงที่สุด 100 บาทเพื่อรับที่ดินผืน 30% ไป นั่นหมายความว่า อย่างน้อยที่สุด เขาให้มูลค่าของที่ดินผืนนี้มากกว่าผื่นอื่นๆ 100 บาท แต่การที่เขาได้รับเงินคืน 50 บาท นั่นก็เพราะพี่น้องทุกคนให้มูลค่าของที่ดินทุกผืนเฉลี่ยมากขึ้นไป 50 บาทอยู่แล้ว เขาจึงควรจะจ่ายแค่ส่วนต่างของสองราคานี้ก็คือ 50 บาท

ขณะที่พี่ชายคนโต (พี่น้องคนที่ 1) ซึ่งแบ่งผืนที่ดินให้มีมูลค่าใกล้เคียงกันที่สุด เพราะไม่มีสิทธิเลือก สุดท้ายเขาได้ที่ดินผืน 25% ซึ่งเขามองว่ามีมูลค่าเท่ากับผืนอื่นๆ แต่พี่น้องทุกคนให้มูลค่าของที่ดินทุกผืนเฉลี่ยมากขึ้นไป 50 บาท เขาจึงควรได้รับส่วนเพิ่มตรงนี้เพื่อปรับให้เข้ากับการตีมูลค่าของคนอื่นๆ

……….

เพียงเท่านี้ พี่น้องทุกคนก็จะมีส่วนร่วมและได้รับมรดกในส่วนที่เขาพึงพอใจมากที่สุด อาจจะติดก็เพียงแค่คนที่กำลังจะได้เป็นผู้จัดการมรดกจะยินยอมเอาวิธีนี้ไปใช้หรือไม่ ถ้าไม่ อันนี้ก็อาจไม่ใช่ปัญหาเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นปัญหาการเมือง ซึ่งก็คงต้องว่ากันไปนะครับ ^^






  • Guest

    ทำให้คำว่า พี่ น้อง ป้า น้า หายไปจากชีวิต เพราะ แค่มรดก ถ้าอาจสำนึกได้ ก็คงสายไปแล้ว
    มีแต่ความอิจฉา ริษยา มารยา โกหก ตอแหล เข้ามาแทนที ใส่หน้ากากเข้าหากัน
    ในเมื่อเราสามารถหาเองกับมือได้ เราก็คงไม่ต้องไปสนใจแค่มรดก ก้อนเดียว ที่มีแต่ความแย่งชิง สักวันนึงก็คงต้องหมด
    *** “เรื่องของเขา เรื่องของเรา” คนอื่นเห็นแก่ตัว ก็เป็น”เรื่องของเขา” เขาทำกรรมอย่างไร
    เมื่องถึงเวลาที่กรรมออกผล เขาก็จะเป็นผู้ได้รับรู้ผลของกรรมนั้นเอง ถ้าเขาไม่เรียนรู้เขาก็ต้องเจอกรรมนั้น ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เอง เราไม่มีหน้าที่จะต้องไปรับรู้ หรือเร่งผลแห่งกรรมของเขาครับ
    ส่วนเราจะทำดี เมื่อกรรมดีออกผลเราก็จะได้รับรู้ผลนั้นเอง อันนี้เป็น”เรื่องของเรา”
    เราทำทุกวันให้ดีที่สุดก็พอ

  • Guest

    ทำให้คำว่า พี่ น้อง ป้า น้า หายไปจากชีวิต เพราะ แค่มรดก ถ้าอาจสำนึกได้ ก็คงสายไปแล้ว
    มีแต่ความอิจฉา ริษยา มารยา โกหก ตอแหล เข้ามาแทนที ใส่หน้ากากเข้าหากัน
    ในเมื่อเราสามารถหาเองกับมือได้ เราก็คงไม่ต้องไปสนใจแค่มรดก ก้อนเดียว ที่มีแต่ความแย่งชิง สักวันนึงก็คงต้องหมด

    *** “เรื่องของเขา เรื่องของเรา” คนอื่นเห็นแก่ตัว ก็เป็น”เรื่องของเขา” เขาทำกรรมอย่างไร
    เมื่องถึงเวลาที่กรรมออกผล เขาก็จะเป็นผู้ได้รับรู้ผลของกรรมนั้นเอง ถ้าเขาไม่เรียนรู้เขาก็ต้องเจอกรรมนั้น ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เอง เราไม่มีหน้าที่จะต้องไปรับรู้ หรือเร่งผลแห่งกรรมของเขาครับ
    ส่วนเราจะทำดี เมื่อกรรมดีออกผลเราก็จะได้รับรู้ผลนั้นเอง อันนี้เป็น”เรื่องของเรา”

  • gas

    ของผมก็เป็น สามคนพี่น้องช่วยกันทำงานซื้อของซื้อที่ พอแม่ตาย หนี้สินที่ยังมียกให้ผมคนเดียว น้องสาวสองคนเค้าบอกว่าผมได้ของเยอะสุด แต่มาลองนับมูลค่าดู เราก็ได้เท่าๆกัน ไหนหนี้มาเป็นของผมคนเดียว(ว่ะ) น้องสองคนมีเงินเก็บอีกคนละหลายแสน แต่ผมมีเงินหักกับมูลค่าหนี้ ยังไม่พอหักหนี้เลย ตอนทำงานหาตังก็บอกว่าเงินเดือนเค้าก็ให้เราหมด ผมเองค้าขาย(กิจการของพ่อแม่) ผมก็ไม่เคยคิดจะเก็บตัง มีก็ซื้อเป็นทรัพย์ไว้ สุดท้าย ทรัพย์ที่ซื้อ (โดยมีเงินผมด้วย) ก็หารสามอีก ตอนนี้เลยเบื่อแล้วครับ อยากไปหาที่อยู่ใหม่ ทำมาหาเลี้ยงตัวเองคนเดียวดีกว่า คิดว่าพวกน้องมันอยากได้อะไรอีกก็จะยกให้มัน เพราะแค่รู้ว่าน้องสองคนเค้าคิดยังไงกับผมก็อยากขาดกันแล้วครับ ตอนนี้ร้านที่ขายของ(ตึกสามชั้นสองคูหา)น้องอีกคนก็บอกว่าแม่เคยบอกว่าจะยกให้พวกเค้าสองคน ความจริงตอนนั้นผมทะเลาะกับแม่แม่เลยให้ผมเซ็นโอนตึกไว้ให้เค้า ผมก็เซ็น (ไม่ได้อยากได้เลยครับ) ตอนนี้เลยบอกเค้าไปว่าอยากได้อะไรก็บอกมา เดี๋ยวเซ็นให้ สิ้นปีนี้ผมคงไม่ทำงานที่นี่ต่อแล้ว (กะว่าจะเลิกกิจการครับ..หาได้ก็เป็นของน้องหมด) เค้าคงจดไว้น่ะครับว่าเค้าให้เงินมาไว้กับแม่เท่าไหรแล้วผมก็ทำงานช่วยแม่อยู่ตอนที่แก่ยังมีชีวิต ส่วนที่ผมหาได้ ผมไม่ได้จดเลยครับ เลยไม่รู้จะบอกได้ไงว่ามันเป็นของผมเท่าไหร รู้แค่ จบมาทำงานใช้หนี้ให้แม่ จนสร้างหนี้ใหม่ รายได้ต่อเดือนของที่ร้านสอง-สามแสน กำไร 50% ตอนนี้ไม่อยากเถียงกับน้องแล้วครับ เงินเดือนเค้าสองคนรวมกับยังไม่ถึงห้าหมื่นเลย ชีวิตตอนนี้เหมือนโดนหักหลังครับ น้องคนเล็กก็ยังมาให้ผมกู้เงินให้มันอีกจะไปทำร้านอาหารที่เมืองนอก แม่ก็บอกให้ช่วยมันก่อนจะเสีย กู้โดยเอาทัพย์ของผมอีก (ทั้งที่หนี้กงสีผมเองยังใช้ไม่หมดเลย) ถ้ามันได้ร้านแล้วผมก็คงต้องกู้ให้น้องอีกตามที่แม่สั่ง รอหมดหนี้ของผมก่อนอีก1ปี หมดแล้วผมก็ลาแล้วครับ…อยากตัดขาดกับพวกเค้าแล้ว (ตอนนี้ผมอายุ38แล้ว กำลังจะมีลูกคนแรก ผมคงต้องเหนื่อยอีกนานครับ)

    • Ning Suchitra

      เหนื่อยใจแทนค่ะ

  • โบ

    ของดิชั้นยิ่งกว่าละครค่ะ. รับในความแตกแยกไม่ได้อยากหนีไปไกล รุ่นพ่อแม่แตกร้าวกันพ่อจะเลิกกับแม่เพื่อแยกแม่ออกจากการแบ่งปันเพื่อแม่ได้ส่วนของพ่อที่พ่อจะแบ่งให้ญาติพี่น้องคอยด่าติเตียนหลังจากกลับจากเรียนนอก ก่อนหน้าไม่เคยรู้อะไรเลย ญาติรวมกันไม่ไว้ใจพ่อแม่หาว่าจะหุปสมบัติเพราะพ่อเป็นคนโต. คีย์คือว่าทุกอย่างไม่เป็นชื่อพ่อมีแต่ญาติ. ครอบครองพ่อมีสิทธิทำธุรกิจแต้ญาติมาขอแบ่งธุรกิจด้วย. เราคิดว่าไม่ยุติธรรมหากญาติขอสิทธิจริงเราจะไม่มีที่อยู่เพราื่อครอบครองเป็นชื่อคนอื่นและลูกพี่ลูกน้องจะเอาตึกไปทำโรงแรม. ไม่ยุติธรรมเลยพ่อเป็นคนช่วยปู่ทำธุรกิจมาตลอด. ทำไมไม่เท่าเทียมกัน. เครียดไม่อยากรับรู้อยากออกไปไกล เบื่อความเป็นจริงเสียใจ กับสิ่งที่ได้เจอ ตอนญาติไปส่งไปเรียนเขาบอกว่าไม่ต้องกลับมาให้หาแฟนแต่งกับฝรั่งไปเลย. พอกลับมาพี่สาวก็รุมด่า ไม่ทราบว่าจะเกิดมาทำไม