ภาพที่ ๑ ภาพจากดาวเทียมของความสว่างของแสงไฟในยามค่ำคืนในปี 2003 (ภาพจากบทความ)

จะวัด GDP จากนอกโลกได้อย่างไร?

ปัญหาของคุณภาพการวัดมูลค่า GDP นั้นยังมีอยู่ให้เห็นในหลายประเทศ รวมทั้งยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่แม่นยำได้ในระดับเมือง การวัด GDP จากนอกโลก (Outer Space) ที่ถูกนำเสนอนี้ อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ให้ประโยชน์กับโลกของเราก็เป็นได้

……….


ารวัด GDP ให้ผลที่คลาดเคลื่อนค่อนข้างมากในหลายประเทศ (Johnson, Larson, Papageorgiou, and Subramanian, 2009) โดยเฉพาะกับประเทศในกลุ่ม Sub-Saharan Africa ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนสูงถึง 30-40% (Deaton and Heston, 2008) นอกจากนี้ หากต้องการใช้ข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น เช่น ในระดับเมือง หรือจังหวัด ก็อาจจะไม่มีข้อมูล หรือไม่ก็กลับยิ่งพบปัญหาปัญหาความคลาดเคลื่อนมากขึ้นไปอีก

Henderson, Storeygard and Weil (2009) ได้เสนอวิธีวัด GDP ด้วยวิธีที่แม่นยำกว่าการเก็บข้อมูลสถิติตามปกติ นั่นก็คือ ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเกี่ยวกับความส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืน (satellite data on lights at night) โดยวิธีนี้จะใช้ได้ดีกับการวัด “อัตราการเติบโต” (growth rate) ของ GDP มากกว่าการวัด “ระดับ” (level) ของ GDP เพราะพฤติกรรมการใช้การใช้ไฟยามค่ำคืนของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน เช่น บางประเทศมีนิสัยประหยัดไฟกว่าบางประเทศ หรือค่าไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันก็มีผลทำให้ระดับปริมาณการใช้ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ ดังนั้น การวัดความส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืนจึงบอกถึงระดับ GDP ได้ไม่แม่นยำเท่าอัตราการเติบโต เพราะจะอยู่บนพื้นฐานของนิสัยผู้ใช้แบบเดียวกัน

งานศึกษาชิ้นนี้เริ่มต้นจากการพิจารณาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเปรียบเทียบกับการเติบโตของค่าการส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืนในช่วงปี 1992-2003 โดยค่าความส่องสว่างของทั้งโลกในปี 2003 แสเดงได้ตามภาพที่ ๑

“ภาพที่ ๑ ภาพจากดาวเทียมของความสว่างของแสงไฟในยามค่ำคืนในปี 2003 (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายใหญ่มากๆ ได้) (ภาพจากบทความ)”


การพิจารณาจะมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของค่าความส่องสว่างของแสงไฟ ดังเช่นตัวอย่างของประเทศในยุโรปตะวันออกตามภาพที่ ๒ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของการส่องสว่างอย่างชัดเจนของ Poland, Hungary และ Romania เปรียบเทียบกับประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากอย่าง Moldova และ Ukraine โดยข้อมูลอัตราการเติบโตของ GDP ที่เป็นทางการก็ให้ผลสอดคล้องกัน

“ภาพที่ ๒ ภาพจากดาวเทียมของความสว่างของแสงไฟในยามค่ำคืนในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก (ภาพจากบทความ)”

……….

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อมูลอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (แกนตั้ง) และการเติบโตของค่าการส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืน (แกนนอน) จะพบว่าปัจจัยทั้งสองความสัมพันธ์มีความเป็นบวกอย่างชัดเจน ดังภาพที่ ๓ เหตุผลก็คือว่า ถ้าประเทศมีระดับการเติบโตที่สูงกว่า ความเข้มของระดับการส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืนก็ย่อมมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย ทั้งจากความเป็นเมืองที่สูงขึ้น และกิจกรรมยามค่ำคืนที่มีมากขึ้น

“ภาพที่ ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างความสว่างของแสงไฟในยามค่ำคืนกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (ภาพจากบทความ)”


และหากพิจารณาความสัมพันธ์ในระยะยาวแล้ว ยิ่งพบว่า การเติบโตของค่าการส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืน (แกนนอน) มีความสัมพันธ์ที่เป็นบวกชัดเจนมากขึ้นกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (แกนตั้ง) ดังภาพที่ ๔ (จะเห็นได้ว่าการกระจายตัวของข้อมูลลดลง)

“ภาพที่ ๔ ความสัมพันธ์ระหว่างความสว่างของแสงไฟในยามค่ำคืนกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว (ภาพจากบทความ)”

……….

สิ่งที่น่าสนใจเมื่อนำเอาวิธีนี้มาเปรียบเทียบกับการประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของธนาคารโลกในกลุ่มที่คุณภาพข้อมูล GDP ค่อนข้างต่ำ (จากข้อมูลของ Penn World) พบว่าค่อนข้างมีความแตกต่างกันมาก เช่น

  • กรณีของประเทศ Democratic Republic of Congo ค่าการส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืนประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อปีไว้ที่ 2.4% ต่อปี ขณะที่ข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นทางการอยู่ที่ – 2.6% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน นั่นหมายความว่า ที่จริง Democratic Republic of Congo น่าจะมีอัตราการเติบโตมากกว่าที่ข้อมูลสถิติว่าไว้
  • อีกกรณีหนึ่งคือ Myanmar ที่มีอัตราการเติบโตของตัวเลขทางการอยู่ที่ 8.6% ต่อปี แต่ค่าการส่องสว่างของแสงไฟยามค่ำคืนประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อปีไว้ที่เพียง 3.4% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งก็น่าจะต่ำกว่าข้อมูลทางการที่ว่าไว้

แม้ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงควรจะเป็นเท่าไหร่ (ในประเทศที่คุณภาพของการวัด GDP ค่อนข้างต่ำ) อาจจะระบุอย่างแจ้งชัดไม่ได้ แต่ด้วยวิธีนี้ก็ถือเป็นอีกแนวคิดหนึ่งในการประมาณการที่ดูสมเหตุสมผล โดยเฉพาะคุณูปการในเรื่องของการประมาณค่าอัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศที่มีคุณภาพข้อมูลต่ำมาก และยังสามารถให้รายละเอียดถึงการประมาณค่าอัตราการเติบโตของ GDP ในระดับเมืองของแต่ละประเทศที่เราสนใจได้อีกด้วย เพียงเท่านี้ก็น่าจะเกิดประโยชน์ต่อเนื่องกับงานวิจัยจำนวนมาก โดยเฉพาะวิธีการนี้กำลังถูกใช้อย่างแพร่หลายในกรณีของการวัดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในแอฟริกา






ที่มา: Henderson, J. Vernon, Adam Storeygard, and David N. Weil (2009). “Measuring Economic Growth from Outer Space.” NBER Working Paper 15199.

  • http://kaebmoo.wordpress.com kaebmoo

    เมืองไทยจะวัดจากอะไรดี?

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      อืม…ตอนนี้ยังคิดไม่ออกเหมือนกันครับ – -”

    • http://www.facebook.com/profile.php?id=530800701 Akarapat Charoenpanich

      As for thai figures, I think it would be useful just to change base year in the gdp calculation krub. Now it is freaking old at 1988, which implies that our gdp figure will be automatically inflated! We are producing a lot of manufacturing goods for exports and they have a lot more value (higher price) at 1988 prices as compared to now.

  • http://www.facebook.com/profile.php?id=530800701 Akarapat Charoenpanich

    Interesting paper krub, and the use of innovative data is cool. I feel that Image data from sattellite is very rich, and hopefully it would be possible to tap into them soon, with continuous update like those economic indicators released from official bodies.

    Will also be interesting to look into those places with notorious reputation for manipulating gdp figures e.g. Burma (over report) and china (under report).

  • Pingback: “แอฟริกา”ไม่พัฒนาเพราะเคยตกเป็นอาณานิคม…ใช่หรือไม่? – [เสด-ถะ-สาด].com