7

ทำไมเราต้อง check in “@Terminal 21″?

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาที่เราอยากจะนัดเพื่อนๆ ไปกินข้าว เราต้องนัดที่ Terminal 21, Siam Paragon, Esplanade, Emporium, … ทั้งที่ยังมีห้างอื่นๆ ที่มีร้านอาหารให้นั่งเหมือนกัน มุมมองของ Veblen จะช่วยอธิบายความคิดของสังคมในเรื่องนี้

……….


ทความชิ้นหนึ่งของ [เสด-ถะ-สาด].com เมื่อไม่นานมานี้เรื่อง Louis Vuitton และ Gucci “ปรับตัว” อย่างไรในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ? ได้ชี้ให้เห็นพลังอีกด้านหนึ่งของการบริโภคเพื่อแสดงสถานะของตน หรือที่ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสรองเรียกว่า “การบริโภคให้เป็นจุดสนใจ” (Conspicuous Consumption)

บทความชิ้นนี้ จะขออธิบายแนวคิดนี้ในรายละเอียด รวมทั้งจะกล่าวถึงอีกด้านหนึ่งของคำอธิบายแนวคิดนี้ที่ถูกเรียกว่า “การใช้เวลาว่างให้เป็นจุดสนใจ” (Conspicuous Leisure)

ก่อนอื่น ขอท้าวความไปถึงนักคิดคนสำคัญของสำนักเศรษฐศาสตร์สถาบันเก่า (Old Institutional Economics) [ที่ใช้คำว่า “เก่า” ไม่ใช่เพราะล้าสมัย แต่เพราะสำนักนี้เน้นปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์] ชื่อว่า Thorstein Veblen ซึ่งหนังสือเล่มสำคัญของเขาคือ “The Theory of the Leisure Class” ในปี 1899 [สมเกียรติ ตั้งนโม แปลเอาไว้ว่า “ทฤษฎีของชนชั้นที่มีเวลาว่าง”]

“ปกหนังสือ The theory of the Leisure Class (ภาพจาก wikipedia)”


Veblen มีความเชื่อในเรื่องการแบ่งชนชั้นของสังคม (Class) โดยเฉพาะว่าสังคมนั้นประกอบไปด้วย ชนชั้นที่สูงกว่า (Higher Status) และชนชั้นที่ต่ำกว่า (Lower Status) โดยพฤติกรรมของแต่ละชนชั้นนั้นก็มีความแตกต่างกัน

พฤติกรรมที่ว่าก็คือ รูปแบบการบริโภคและการใช้เวลาว่าง ซึ่งชนชั้นที่สูงกว่าจำเป็นต้องมี “การบริโภคให้เป็นจุดสนใจ” (Conspicuous Consumption) และ “การใช้เวลาว่างให้เป็นจุดสนใจ” (Conspicuous Leisure) เพื่อแสดงสถานะที่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำกว่า

……….

การบริโภคให้เป็นจุดสนใจก็คือการใช้จ่ายเงินเพื่อแสดงสถานะที่สูงขึ้น เช่น ในสมัยก่อน หลายบ้านต้องใช้เครื่องใช้ภายในบ้านที่ทำจากเงิน (Silver) เพื่อแสดงสถานะ ทั้งที่ถ้ามันทำจากโลหะอื่นจะใช้ง่ายกว่ามาก (เพราะไม่ต้องคอยขัด) หรือในปัจจุบันที่ หลายคนต้องใช้กระเป๋าราคาแพงกว่าที่ตนเองควรจะมี ทั้งนี้ก็เพราะสินค้าไม่ได้ทำหน้าที่แค่กระเป๋า แต่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกสถานะด้วย สินค้าจำพวกที่ว่านี้ถือเป็น “สินค้าที่มองเห็นได้ทางสังคม” (Socially Visible Goods) ไม่ใช่ “สินค้าที่บริโภคเป็นการส่วนตัว” (Goods Consumed in Private)

ในอีกด้านหนึ่งนอกเหนือไปจากของการบริโภคสินค้าต่างๆ Veblen ยังได้กล่าวถึง การใช้เวลาว่างให้เป็นจุดสนใจ ด้วยว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันคือการใช้เวลาว่างเพื่อแสดงสถานะให้สูงขึ้น เช่น ในสมัยก่อน ผู้ชายต้องใช้เวลาว่างในการดูภาพเขียนตามหอศิลปะ หรืออ่านหนังสือจำพวกปรัชญา ไม่ต่างจากปัจจุบัน ที่ชนชั้นสูงอาจจะต้องใช้เวลาว่างในการดูเทนนิส ฟังเพลงโอเปร่า ทั้งที่อาจจะสนุกกว่าหากดูมวยไทยหรือฟังเพลงลูกทุ่ง [ไม่นับคนที่ชอบจริงจังด้วยความชอบส่วนตัวนะครับ]

“Terminal 21 (ภาพจาก emomean.wordpress.com)”


เมื่อเป็นเช่นนี้ การชวนเพื่อนไปกินข้าว และการกินข้าวเองนั้นก็ย่อมมีความต่างกัน เราอาจนับการกินข้าวเป็นได้ทั้งการบริโภคหรือการใช้เวลาว่าง แต่ที่สำคัญคือมันเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ทางสังคม จึงเท่ากับว่าเป็นการแสดงสถานะของเราไปในตัว ทำให้เวลาที่บอกนัดเจอเพื่อนๆ ที่ KFC ใน Siam Paragon กับ KFC ใน พาต้า จึงให้ความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ยังไม่ได้นับว่า เอาเข้าจริงเรานัดร้านที่หรูหรากว่าแค่ KFC ใน Siam Paragon เสียด้วย

“ด้านนอกของ Siam Paragon ห้างสรรพสินค้าหรูหรา (ภาพโดย pahonyontin @flickr)”

“ด้านนอกของ Siam Paragon ห้างสรรพสินค้าหรูหรา (ภาพโดย pahonyontin @flickr)”

……….

อันที่จริง การบริโภคและการใช้เวลาว่างให้เป็นจุดสนใจ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตนเองในการแสดงสถานะที่สูงกว่านั้น ยังรวมไปถึงการเข้าวัดอยู่บ่อยๆ (เพื่อบอกว่าฉันมีความดีมากกว่า) การควงดาราไปเที่ยว (เพื่อบอกว่าฉันเจ๋งกว่า) การข่มขู่คนที่ไม่ทางสู้ (เพื่อบอกว่า(พ่อ)ฉันแน่กว่า) การ check in พร้อมๆ กับชื่อเพื่อนๆ (เพื่อบอกว่าฉันมีเพื่อนคบ) และอื่นๆ อีกมาก ดังนั้น ตามแนวคิดนี้ ไม่ใช่แค่การบริโภคเท่านั้นเพื่อแสดงสถานะ แต่การใช้เวลาว่างก็มักเป็นไปเพื่อแสดงสถานะเช่นกัน

การที่ในปัจจุบันเราเห็นคนจำนวนหนึ่งทำการ check in @ Terminal 21 ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าหรูหรา ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะพวกเขาต้องการแสดงให้เห็นว่า เขาได้ใช้เวลาว่างในห้างสรรพสินค้าที่หรูหราราคาแพง ดูโดดเด่น และเป็นที่สนใจ ในขณะที่เขาเหล่านี้ก็อาจจะไม่ check in เวลาที่ไปเดินพาต้า หรือ Lotus ทั้งที่พวกเขาอาจจะไปเดินห้างเหล่านี้มากกว่าด้วยซ้ำ

“สัญลักษณ์ของห้างพาต้า”


ที่น่าสนใจก็คือ การบริโภคและการใช้เวลาว่างให้เป็นจุดสนใจนั้นมีความสำคัญมากต่อ “ชนชั้นกลาง” (Middle Class) เพราะพวกเขาคือชนชั้นที่ต้องการยกระดับตนเองให้สูงขึ้น ภายใต้รายได้ที่จำกัด จึงตกอยู่ในสถานะที่ต้องใช้จ่ายเพื่อแสดงสถานะเมื่ออยู่ในสังคม แต่กลับต้อง(แอบ)ประหยัดอดออม เมื่ออยู่ตัวคนเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อเอาเงินไปใช้แสดงสถานะตอนเข้าสังคม และจะวนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาภายใต้วงจรเช่นนี้ของชนชั้นกลาง(และล่าง)ตามแนวคิดของ Veblen ก็คือ ความเหลื่อมล้ำจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะรายได้ทั้งหมดจะไปตกอยู่กับชนชั้นนายทุน ในฐานะผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ ซึ่งเป็นชนชั้นสูงตัวจริง ที่ขายสินค้าและบริการให้กับชนชั้นกลาง(และล่าง)นั่นแหล่ะ โดยวงจรเช่นนี้ในระบบทุนนิยมจะค่อยๆ กลืนกินมูลค่าที่แท้จริงของทุกสิ่งทุกอย่าง จนไม่เหลืออะไรไว้เลย นอกจากดินแดนว่างเปล่าที่เต็มไปด้วยการชิงดีชิงเด่นอย่างไร้ศีลธรรม






ที่มา: Veblen, Thorstein (1899 (1994)) “The Theory of the Leisure Class: An Economic Study of Institutions” New York, N.Y., U.S.A.: Penguin Books. Also available to download “here”.

  • hac

    ไม่จริงเสมอไปครับ

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      เป็นไปได้ครับ เช่น บางคนอาจจะ check in ทุกที่โดยไม่ได้คิดอะไร หรือบางคน check in เพราะเห่อโทรศัพท์โดยไม่เกี่ยวกับสถานที่ก็มีครับ ^^

  • Peptide

    เรียบเรียงและวิเคราะห์ได้เยี่ยมมากครับ โดยเฉพาะหัวข้อสรุป ที่เป็นจริงตามที่กล่าว แต่หลายคนในสังคมยังไม่รู้ตัวครับ

    ผมชอบการใช้คำว่า “อาจจะ” ในหลายๆตัวอย่าง ซึ่ง ไม่ เป็นการฟันธง เหมารวมคนทั้งหมด

    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      เป็นไปได้ครับ เช่น บางคนอาจจะ check in ทุกที่โดยไม่ได้คิดอะไร หรือบางคน check in เพราะเห่อโทรศัพท์โดยไม่เกี่ยวกับสถานที่ก็มีครับ ^^

      • http://germany9119.blogspot.com/ เบิร์ด ผู้กอง

        เว็ปนี้เปิดกว้างทางความคิดดีครับ ขอติดตาม:)

    • i’ziza

      ชอบความลับแบบนี้เหมือนกันค่ะ

  • SketcH

    ไม่เสมอไปฮะ บางคนนัดแถวนั้น เพราะบ้านอยู่แถวนั้น มีธุระแถวนั้น ผ่านแถวนั้นพอดี

    หรือสะดวกจะนัดเจอกันที่นั้นก่อนจะเดินทางต่อไปที่อื่น

    อย่างถ้าบ้านผมสะดวกเดินทางไปสยามมากกว่า ไปพาต้า หรือโลตัส ผมก็คงนัดเพื่อนเจอที่สยามอ่ะครับ

    อื่นๆอีกมากมายครับ อยากให้มองกว้างๆกว่านี้อีกนิดนึง

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ครับ ส่วนหนึ่งก็มีกรณีเช่นนั้นด้วยครับ ^^

  • http://bharot.wordpress.com bharot

    ชื่นชมการนำเอาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
    ผมอยากให้นักเรียนเศรษฐศาสตร์ เอาทฤษฏีมาใช้อย่างมีชีวิตชีวาอย่างนี้
    ถ้าทำได้ สิ่งที่เหลืออยู่หลังจากจบแล้ว ก็จะคุ้มกับเวลาสี่ปีที่เสียไปกับการเรียน

    ยังมีตัวอย่างอีกมากมายเช่น การสวมใส่”โรเล็กซ์”ซึ่งเป็นมากว่านาฬิกาบอกเวลา
    การขับ”เบนซ์”ซึ่งเป็นมากกว่า”รถ”ที่เป็นยานพาหนะ การเล่น”กอล์ฟ”ที่บางครั้งเป็นมากกว่ากีฬา

    แม้แต่เราจะซื้อสินค้าชนิดเดียวกัน แล้วต้องเดินผ่านกลุ่มคน
    เราก็อยากให้ถุงที่ใส่ บอกกับพวกเขาว่าซื้อมาจากสยามพารากอน
    มากกว่าจากห้างพาต้า

    นักการตลาดและนักขายที่เก่งๆ รู้ความลับนี้ดีครับ

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ขอบคุณครับ ^^

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ใช่ครับ อันนี้เป็นหัวใจหนึ่งของการทำการตลาดเลยทีเดียวครับ ^^

  • อุราเรฮัน

    ในทางมนุษยศาสตร์มันจะไม่จริงเพราะจะมีมนุษย์ที่ชอบหาเหตุผมให้ตัวเองถูกจะบอกว่าบทความนี้ไม่จริงทั้งๆที่บางทีลึกๆรู้สึกตามทฤษฏีแทบจะ 100%

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ครับ ส่วนหนึ่งก็มีกรณีเช่นนั้นด้วยครับ ^^

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ^^

  • http://germany9119.blogspot.com/ เบิร์ด ผู้กอง

    ขอบคุณบทความดีๆที่มอบแก่กันนะครับ ผมชอบอ่านบทความทางวิชาการแนวเศรษศาสตร์ครับ แม้ตัวผมจะจบกฏหมายระดับเนติ มาก็ตาม

    ในความเห็นส่วนตัว ผมเชื่อว่า มนุษย์มีความพยายามที่จะทำให้ตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น ถ้าทำให้เหนือกว่าในทางโลกไม่ได้ ก็หันไปหาทางศาสนา แล้วย้อนกลับมาบอกว่า ตัวเองเหนือกว่าคนอื่นอย่างไร

    พฤติกรรมนี้ ทำให้บริษัทผู้ผลิตสินค้า จำเป็นต้องใส่ “การบุคลิคที่โดดเด่น”ลงไปในสินค้า

    นาฬิกาโรเล็กซ์ เรือนละ 500,000 บาท กระเป๋าหลุยส์ เสื้อลาคอร์ส เครื่องประดับ เพชร ทองคำ ใช้ประดับกาย ต่างก็เป็นความพยายามแสดงออกใน 3 ประการ ต่อไปนี้
    1.ตัวเองอยู่ชนชั้นที่สูงกว่า หรือ โดดเด่นกว่าผู้อื่นในทางใดทางหนึ่ง
    2. เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในวงการธุรกิจ
    3.เพื่อเพิ่มความภูมิใจในตัวเอง ให้ตัวเองรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในตัวเอง และมีความสุขในแบบฉบับของตัวเอง

    การเช็คอิน เป็นการใช้เวลาว่างให้โดดเด่น นั้นเป็นเรื่องจริงอย่างมาก ลองสังเกตดูได้ว่า เราจะ” เลือก” โชว์อยู่ไม่กี่ที่ เช่น ไปยุโรป ไปสนามบิน ไปห้างสรรพสินค้าหรูๆ

    แม้กระทั้งในเฟสบุค ก็เลือกที่จะโพสต์ เครื่องประดับราคาแพงที่ได้มาใหม่ กระเป๋าใบใหม่ เฉพาะที่ราคาแพง
    ส่วนสถานที่ เช่นโลตัส หรือ ที่ทำงาน ก็เช็คอินบ้าง เช็คอินสามารถใช้ประโยชน์ทางสังคมอื่นๆได้มากมาย

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      เห็นด้วยครับ ^^

  • I’m struggling for the higher ground

    คนชั้นกลาง+ล่าง หลายๆ คนหาซื้อของเลียนแบบมาใช้เพื่อเข้าสังคมด้วยครับ
    ทั้ง Rolex, Mont Blanc, BlackBerry, iPhone, etc. (etc น่าจะเป็นยี่ห้อด้วยเนอะ)

    ผมก็คนหนึ่ง…

    • เบิร์ด ผู้กอง

      สร้อยคอทองคำเส้นโตของผมก็ของปลอมครับ ใส่โชว์ทุกวัน 555

    • i’ziza

      Mont Blanc?? ร้านเค้กที่เชียงใหม่ หน่ะหรอค่ะ?

  • อ่านแล้วคันจนต้องขอนิสนึง

    เอ่อ…ขนาดบาง rep ในนี้ ยังรู้สึกได้ถึงความพยายามที่จะ”ยกระดับ”เลยครับ
    เพียงแค่หยิบเนื้อหาเดิมมาเวิ่นเว้อเท่านั้น

    ปล.ชอบบทความนี้ครับ ตรงไปตรงมาอย่างนุ่มนวล ดีครับ :)

  • อ่านแล้วคันจนต้องขอนิสนึง

    เอ่อ…ขนาดบาง rep ในนี้ ยังรู้สึกได้ถึงความพยายามที่จะ”ยกระดับ”เลยครับ
    เพียงแค่หยิบเนื้อหาเดิมมาเวิ่นเว้อเท่านั้น

    ปล.ชอบบทความนี้ครับ ตรงไปตรงมาอย่างนุ่มนวล ดีครับ :)

  • http://cooltrendy.net ผ้าพันคอแฟชั่น

    ชอบบทความนี้มากครับ

  • Koofa

    ปกตินัดเจอเพื่อนไม่เคยแคร์สื่อนะ ข้างทาง ร้านส้มตำ ติ่มซำ ที่ไหนก็ได้แล้วแต่ว่าทุกคนลงมติอยากกินอะไรกัน และส่วนใหญ่ก็นัดไม่เคยพ้นร้านแถวอนุเสารีย์… แต่ถ้าถามว่า ใช้สินค้าแบรนด์รึป่าว ก็ต้องบอกว่าใช้แนว street brand ไม่ก็แบรนด์ที่บ้านเราไม่ค่อยนิยม ไม่ค่อยรู้จัก พูดง่ายๆคือ ถ้าคนไม่เชี่ยวชาญแฟชั่นจริงมาเห็นกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า เค้าจะไม่รู้เด็ดขาดว่าหลักหมื่น หรือเป็นของแบรนด์ (แน่นอนว่าไม่เคยบอกใคร ถ้าไม่ใช่เพื่อนวงใน) และปกติก็ขึ้นรถเมย์ นั่งมอร์เตอร์ไซน์รับจ้างไปทำงาน จะใช้รถยนต์ ก็ต่อเมื่อไปบ้านที่ตจว.เท่านั้น อยู่กรุงเทพขี้เกียจขับ ขี้เกียจดูแล … ฐานะส่วนตัว ยังไม่มั่นคง เพราะเพิ่งเริ่มทำงาน แต่ฐานะทางบ้านจัดว่าดี และกำลังจะย้ายนิวาสถานไปอยู่ยุโรปอย่างเงียบๆ ไม่บอกใครเลย

    … อย่างนี้จะเรียกว่าไม่เข้าทฤษฎีรึเปล่าคะ? ^ ____ ^,,

  • とるさん

    เห็นด้วยเกือบหมด ยกเว้นย่อหน้าสุดท้ายนะ คิดว่าความเป็นปัจเจกในแต่ละบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้นายทุนไม่อาจครอบคลุมทุกอย่างไว้ในมือได้ทั้งหมดอีกต่อไป ^^

  • http://www.rackmanagerpro.com rackmanager

    เหตุผลในการ check นั้นส่วนตัวแล้ว เพื่อที่จะดูข้อมูลว่า คนอื่นมี comment อะไรเอาไว้เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆบ้างครับ เช่น ร้านอาหารร้านไหน ในนั้นอร่อยหรือว่า ร้านค้านั้นมีอะไรน่าสนใจหรือเปล่า หรือว่า ถ้าหากว่าเป็นร้านอาหารก็อยากจะดูว่าร้านอาหารร้านนั้นมี เมนูเด็ด อะไรบ้างครับ

    การบอกว่าตัวเองนั้นได้มาถึงสถานที่นั้นๆแล้ว เพื่อ show ว่าตัวเองมานั้น ก็อาจจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งจากทั้งหมดเหมือนกัน เพราะ อยากจะบอกว่า “ฉันได้มาแล้ว” เพื่อเป็นการบอกสถานทางสังคมกันเลยนั้น คิดว่าไม่น่าจะถึงขนาดนั้นหรอกน่ะครับ เพราะ การ checkin ไม่ได้สื่อถึงสถานระดับสังคมได้ดีเท่าไหร่ มันไม่ได้เป็นของที่อยู่กับตัวเอง และ ใครก็ได้ก็สามารถที่จะไปยังสถานที่นั้นๆได้ไม่ได้จำกัดว่า เค้าเหล่านั้นจะยากดีมีจนมากน้อยเพียงใด หรือพูดง่ายๆว่า มันไม่ได้สื่อ ! ความรวยออกมาให้เห็นได้อย่างจะๆครับผม

    บ้านเมืองเราไม่ค่อยมีสถานที่ที่เป็น exclusive ที่บอกว่าต้องรวยเท่านั้นถึงจะเดินได้สักเท่าไหร่ครับ และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ การ check-in เองนั้นน่ะหละ เป็นตัวบอกสถานะของสังคมไว้บ้างแล้ว เพราะ อย่างน้อยจะต้องมีโทรศัพท์เพื่อการ check in ต่างหาก

    การไปอยู่ในร้านหรูถึงจะเป็นการ show ว่าฉันได้ใช้สถานที่เพื่อแสดงสถานทางสังคมให้เห็นเด่นชัดมากกว่าครับ เช่่น ร้านค้าอะไรที่ขายของแพง หรือร้านอาหารที่ขายของแพง จะแสดงสถานะได้มากกว่าครับ เพราะ อันนี้ต้องเสียเงินจริงครับผม

  • เมจิ

    ชอบบทความนี้จังคะ..จริงนะคะ ในเนื้อหาที่บรรยาย
    บางคนชอบโพสหรือcheck in เพื่อต้องการโชว์ให้คนอื่นรู้
    ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน..หรูหร่า ไฮโซ แต่แล้วยังไง..ก็มนุษย์เหมือนกัน
    ร้านอาหารจะแพงจะถูก ก็อาหาร กินอิ่มเหมือนกัน ไม่รู้จะอวดเพื่ออะไร
    *ไว้จะแวะมาอ่านเรื่อยๆนะคะ ^^

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ขอบคุณที่ติดตามครับ ^^

  • เบิร์ด ผู้กอง

    สร้อยคอทองคำเส้นโตของผมก็ของปลอมครับ ใส่โชว์ทุกวัน 555

  • http://justthehuman.wordpress.com namemetuang

    ยังไม่เคยไปterminal21…

    (เอ๊ะ เม้นท์เกี่ยวกับentry เค้าเปล่าเนี่ย?)

    ((ฮา))

    ก็เหมือนของบนโลกนี้ทุกอย่างแหละ ถ้าเรายังไม่หลุดไปโลกธรรม อยู่ใน”ทางโลก”อยู่ของก็จะมีหน้าที่สองทาง ที่ตามหน้าที่ของมัน กับทางเปรียบเทียบ

    เหมือนเลือกงานศิลปะ จริงๆไม่ได้ชอบแบบนี้แต่เลือกเพราะศิลปินคนนี้ดังเป็นต้น LOL.

  • Suthunda

    ….อึ้ง! ไปเลยคะ แต่ละคำนี่ เสียดแทง ทะลุปักอก ทะลวงหัวใจมากคะ อาจจะไม่ได้เห็นด้วย ทั้งหมด เช่นเรื่องการเช็คอิน เพราะแค่อยากลองใช้โปรแกรมหรือ อยากบอกว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน เนื่องจากคนอื่นที่ติดต่อจะได้รู้ว่าเราอยู่นี่ สะดวกมาหาหรือไม่ เป็นต้น
    แต่โดยรวม 99% เห็นด้วยมากกกก และหลายอย่างก็เหมือนตรงกับตัุวเองเข้าไปทุกที เช่นเรื่อง Middle class กับการใช้จ่ายเพื่อยกระดับตัวเอง อันนี้พูดได้เต็มปากคะว่า ดิฉันก็เป็น ฮ่าๆๆๆ เรื่องการเข้าวัดเพื่อยกระดับว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น กินข้าวที่หรู เช็คอินที่หรูๆ อันนี้ สังคมที่อยู่ทุกวันนี้เป็นอย่างนี้เลยคะ !!!
    ขอบคุณสำหรับ บทวิเคราะห์มากคะ ทำให้รู้ว่า เศรษฐศาตร์มันมีอะไรมากกว่าที่คิด!! และทำให้เราฉุกคิดว่า ทุกวันนี้ เราอยู่ในวังวนเหล่นนี้ มากเกินไปหรือเปล่า????

    ปล. แต่ชอบ Terminal 21 คะ สวยดี :)) Paragon ต่างกะ PATA กับ Lotus เพราะมันให้อารมณ์เดินเล่นๆ มีสิ่งสวยๆงามให้ดูเรื่อยๆ คนก็สวย สถานที่ก็สวย เป็นธรรมดาละคะที่เราอยากจะนัดใครไปที่นี่กัน

  • http://www.facebook.com/profile.php?id=100000271879818 Komkit Doxmon

    ชอบประโยคนี้จัง ……….ชนชั้นที่สูงกว่าจำเป็นต้องมี “การบริโภคให้เป็นจุดสนใจ” (Conspicuous Consumption) และ “การใช้เวลาว่างให้เป็นจุดสนใจ” (Conspicuous Leisure) เพื่อแสดงสถานะที่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำกว่า………. ใช่แหละดูในเฟสบุ๊กมีแต่รูปกินหรูเที่ยวอลังทั้งนั้นแหละ ใครจะมาลงรูปตอนกินข้าวแกงริมทาง นั่งรถเมล์ต่อสองแถวให้ชาวบ้านเห็น 5555 ทุกวันนี้ก็เห็นแต่ชนชั้นสูงกันท้างน้านนนนนน

  • http://www.facebook.com/autthapon.e Autthapon Eaimsriwong

    ชอบบทความแบบนี้ครับ แม้จะไม่มีสรุปตายตัว แต่ช่วยจุดประกายความคิดได้ดีครับ

  • Teerawat Rakkamnerd

    ผม check in โลตัสบ่อยกว่าterminalอีกค้าบบ T____T

  • http://nitiwats.wordpress.com นัต

    (เอาฮา) ผม check in เคราะต้องยืนยันให้แฟนรู้ว่าอยู่ที่นั่นจริงตามที่บอก ^^

    (เอาจริง) เห็นด้วยกับแนวคิดครับ เศรษฐศาสตร์เราอธิบายทุกคนด้วยคําอธิบายเดียวกันไม่ได้อยู่แล้ว กับผมเองก็ตรงบางครั้งที่บริโภค (เช่น ใช้ของแบรนด์บางอย่าง) ส่วนการบริโภคอีกหลายครั้งก็ไม่ตรง แต่ไปตรงกับแนวคิดอื่นแทน (เช่น เรื่องกิน ของผมนี่ต้องทฤษฎีดั้งเดิมคือ “ความพอใจสูงสุด” ครับ คือกินตามที่ชอบจริงๆ)

    จะคอยติดตามต่อไปด้วยความสนุกครับ

  • p_natural

    ส่วนตัวคิดว่า lotus มีหลายสาขา และส่วนใหญ่จะอยู่แถวๆบ้าน แต่เพื่อนเราไม่ได้อยู่แถวบ้านเราทุกคน ดังนั้น การที่จะนัดกันที่จุดศูนย์กลางของเมือง เดินทางสะดวก รถไฟฟ้าถึงที่ มันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยเพราะทุกคนรู้จัก รู้ว่าอยู่ที่ไหน จะเดินทางมาได้ยังไง

    แล้วอย่างพาต้า ก็อยู่ปิ่นเกล้า การเดินทางไม่สะดวก รถไฟฟ้าไม่ผ่าน ก็คงเป็นตัวเลือกที่คงจะไม่มีทางไปแน่ๆ ยกเว้นเพื่อนๆและตัวเราบ้านอยู่แถวปิ่นเกล้าก็ว่าไปอย่าง

    ถ้าเรานัดเพื่อนเก่าที่บ้านอยู่ระแวกเดียวกัน ก็ไม่เคยนัดที่พารากอน สยามเลยซักครั้ง ก็นัดกันที่ห้างแถวบ้านตลอด เพราะทุกคนสะดวกมากกว่า ไม่ต้องเข้าเมือง

    ส่วนเรื่องเช็คอิน มองว่าเป็นอาการอยากอวดอยากโชว์ล้วนๆ ทุกวันนี้เวลาคนโพสรูปในเฟสบุ๊ก ไปเที่ยวที่นั่น กินข้าวที่นี่ จุดประสงค์ก็คือการอวดกลายๆนั่นแหละ

  • http://cooltrendy.net ผ้าพันคอ

    ยิ่งอ่านยิ่งชอบ อ่านสองรอบแล้วคร้าบบบบ

  • http://chanachonlive.wordpress.com chanachonlive

    สัจธรรม เลยครับ มันเป็นอะไรที่โดนใจเอา มากๆ อยากให้ความคิดนี้ไปถึงผู้บริโภคทุกท่านเลยครับ

  • we_all_live_and_die

    อัตตา ตัวเดียว

  • http://itong2go.blogspot.com/ @itong2go

    ยอดเยี่ยมครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆแบบนี้

  • http://superstore108.com แผ่นเพิ่มความสูง

    บทความนี้อ่านแล้วสะท้อนใจ
    แต่ก็ขอบคุณมากครับ

  • http://www.facebook.com/profile.php?id=1768082071 Narin Waidcho

    ทำงานเรื่อง terminal เลยเจอ *-*

  • http://tallupforyou.com แผ่นเพิ่มความสูง

    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะครับ

  • http://gravatar.com/aliizland Aliiz❤~

    เค้าน่าจะหมายถึง ปากกาหรือป่าวค่ะ

  • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

    ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ อ่านแล้วผมลองนึกๆ ต่อได้ว่า ที่จริงการ check in นี่มีต้นทุนต่ำกว่าการทำจริงๆ ด้วยนะครับ เช่น check in ว่าอยู่ที่ terminal 21 แต่อาจจะไม่ได้ซื้อ ไม่ได้กินอะไรเลยก็เป็นได้ ^^