
Modern Econometrics


“สวดมนต์”แค่ไหน พระเจ้าจึงจะเห็นใจ?
การสวดมนต์นับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า แล้วสวดเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด หากต้องการให้พระเจ้าเห็นใจ Heckman (2010) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้คำแนะนำนี้กับเรา เพื่อการสวดมนต์อันเป็นสิริมงคล
ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่?
ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน บทความทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน
“แอฟริกา”ไม่พัฒนาเพราะเคยตกเป็นอาณานิคม…ใช่หรือไม่?
ระดับการพัฒนาของทวีปแอฟริกาล้าหลังกว่าที่อื่นๆ ของโลก โดยมักอ้างถึงสาเหตุสองประการ หนึ่งคือเป็นเพราะผู้ล่าอาณานิคมแบ่งเส้นเขตแดนประเทศจากผลประโยชน์ของประเทศตนเอง และสองเพราะโครงสร้างสถาบันที่มีอยู่เดิมของแอฟริกาไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถกเถียงกันตลอดมา เครื่องมือเศรษฐมิติจะช่วยตอบคำถามนี้ให้กับเรา
กฎหมายจะควบคุม”วัฒนธรรมคอรัปชั่น”ได้หรือไม่?
คอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของสังคมด้วย ไม่ว่ากฎหมายจะเข้มแข็งแค่ไหนจึงไม่อาจกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยง่าย บทความนี้อาศัยการจอดรถผิดกฎหมายของนักการฑูตในนิวยอร์คมาทำให้รู้ว่า กฎหมายที่เข้มแข็ง แม้จะไม่ 100% แต่ก็ลดคอรัปชั่นได้มากอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
อะไรจะเกิดขึ้น หากผู้นำประเทศถูก”ลอบสังหาร”?
สาขารัฐศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องการลอบสังหารผู้นำมาเป็นจำนวนมาก แต่มักเป็นแบบกรณีศึกษา หากวิเคราะห์เรื่องนี้ด้วยการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นวิถีทางที่ถนัดของนักเศรษฐศาสตร์ ผลที่ออกมาจะบอกเราได้ว่า ในภาพรวมแล้ว ความสำเร็จของการลอบสังหารจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้หรือไม่
“การเมืองนำเศรษฐกิจ” หรือ “เศรษฐกิจนำการเมือง”?
การเมืองและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กัน ในอดีต การเมืองเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลของหลายประเทศมักจะอ้าง(ทางการเมือง)ว่า เศรษฐกิจนำการเมือง แท้จริงแล้ว ประเทศแบบไหนที่การเมืองนำ และแบบไหนที่เศรษฐกิจนำ
เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร: “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” หรือ “คบเพื่อนไม่ดี” กันแน่?
ข้อถกเถียงใหญ่ประการหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรคือ เป็นเพราะพ่อแม่ไม่สั่งสอน หรือเพราะพวกเขาคบเพื่อนไม่ดีกันแน่ แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จะเปรียบเทียบผลประทบทั้งสอง โดยควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่า ใครกันที่ควรรับผิดชอบ
ใครเชื่อ “สิ่งที่นายกฯพูด”บ้าง ยกมือขึ้น?
ในอิตาลี อดีตนายกฯ Berlusconi ซึ่งเป็นเจ้าของสื่อทีวีร้อยละ 90 ออกทีวีบ่อยมากๆ แต่มีคนให้คะแนนความน่าเชื่อถือของเขาเพียง 2 เต็ม 10 เท่านั้น แต่เมื่อถามต่อ กลับพบว่าคนเชื่อถือสื่อทีวีถึง 6 เต็ม 10 แต่เขาก็ชนะการเลือกตั้งมาหลายครั้ง คนไม่เชื่อ Berlusconi แล้วเขาเชื่ออะไรในสื่อทีวีกัน
ถ้าประชากรมี“อายุยืนขึ้น” ประเทศจะรวยขึ้นหรือไม่?
ประเทศที่ร่ำรวย ประชากรจะมีอายุยืนยาว เพราะมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วในทางกลับกัน การที่ประชากรมีอายุยืนขึ้นจะทำให้พวกเขาจะรวยขึ้นหรือไม่ Acemoglu and Johnson (2007) ตอบว่าไม่ และ Cervellati and Sunde (2011) เสริมว่าขึ้นอยู่กับขั้นการเปลี่ยนแปลงโคงสร้างประชากรของแต่ละประเทศ
อะไรคือ “ราคา”ของการ(ไม่ถูก)ยึดอำนาจ?
การปฏิวัติเป็นเรื่องที่พบเห็นกันบ่อยครั้งทั่วโลก แต่การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะหากเทียบกับทางรัฐศาสตร์ Leon (2012) ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของงบประมาณทางการทหารของทั่วโลกที่มีผลต่อการเกิดการปฏิวัติในประเทศนั้นๆ
ข้อเสนอต่อการปฏิรูปการศึกษาไทยของ TDRI มี“วิธีคิด”อย่างไร?
ในบทความเรื่อง จะปฏิรูปการศึกษาไทย“ในระยะสั้น”อย่างไรดี? — บางส่วนจากข้อเสนอของ TDRI ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูประบบการศึกษาระยะสั้นที่ TDRI ให้ข้อสรุปสำคัญคือต้องสร้างระบบที่เน้นความรับผิดชอบ (Accountability) ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอให้ลึกลงไปในรายละเอียดว่าข้อเสนอทั้งสามประการที่ TDRI เสนอมานั้นมีที่มาอย่างไร