
Mathematics


“เมียฝรั่ง” มีผลแค่ไหนต่อเศรษฐกิจอีสาน?
การแต่งงานกับชาวต่างชาติของหญิงไทยนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่น่าสนใจว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของการแต่งงานดังกล่าวนั้นมีมูลค่าสูงเพียงใด และสาขาการผลิตอะไรบ้างที่ได้รับผลดีดังกล่าว ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตจะช่วยตอบคำถามที่น่าสนใจนี้ให้เรา
แม่เลี้ยงของซินเดอเรลล่า“ใจร้าย”…จริงหรือ?
เทพนิยายซินเดอเรลล่าเป็นที่รักของเด็กๆ ทั่วโลก เรื่องราวของเจ้าชาย รองเท้าแก้ว รถฟักทอง แม่เลี้ยงและพี่สาวใจร้ายที่พยายามกีดกันไม่ให้ซินเดอเรลล่าได้แต่งงานกับเจ้าชาย แต่หากมองในทางเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมของแม่เลี้ยงอาจไม่เข้าข่ายใจร้าย แต่กลับสมเหตุสมผลแล้วต่างหาก
“โครงสร้างรัฐบาล”แบบไหนจูงใจให้เกิดรัฐประหาร?
กองทัพจะตัดสินใจก่อรัฐประหารหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับโอกาสชนะกับผลได้หลังการรัฐประหาร ภายใต้โครงสร้างรัฐบาลที่รวมศูนย์อำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะต่ำ แต่ผลได้จะสูง แต่ในรัฐบาลที่กระจายอำนาจ โอกาสชนะของกองทัพจะสูง แต่ผลได้จะต่ำ ซึ่งการชั่งน้ำหนักจึงเป็นแกนหลักในการตัดสินใจของกองทัพ
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” หรือ “แตกแยก ไม่แตกต่าง”?
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะมันคือเป้าหมายที่สังคมอยากให้เป็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าลองสลับคำกันดู จะกลายเป็นคำว่า “แตกแยก (ทั้งที่)ไม่แตกต่าง” ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน คำถามก็คือ คำไหนมันเป็นไปได้มากกว่ากัน
“การค้าระหว่างดวงดาว”จะเกิดได้จริงหรือไม่ในทางเศรษฐศาสตร์?
หากไม่นับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว เคยนึกไหมว่า ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การค้าในระยะทางที่ไกลและใช้เวลายาวนานมากขนาดนี้จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ใช้แนวคิดของการค้าระหว่างประเทศมาช่วยตอบคำถามนี้ให้เรา
เสียงปรบมือของ“เซเลบริตี้”มีผลอย่างไร?
เมื่อจบการแสดงในโรงละคร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำกันก็คือการลุกขึ้นปรบมือ บางการแสดงที่เราดูไม่รู้เรื่องก็มีคนลุกขึ้นปรบมือเป็นจำนวนมาก เคยสงสัยกันไหมว่าเป็นเพราะอะไร รวมทั้งเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องมีเซเลบริตี้นั่งกันอยู่แถวหน้าสุดให้เราเห็นกันด้วย
“กวดวิชา” ทำให้เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่?
การกวดวิชาเป็นรายจ่ายมหาศาลของระบบเศรษฐกิจ แต่การกวดวิชาก็สามารถก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ อาจจะมากถึง 5% เลยทีเดียว เพียงแต่แบบจำลองชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้การกวดวิชาก่อให้เกิดการยกระดับความสามารถของนักเรียน
จะแบ่ง”เงินรางวัล”จากการแข่งขันอย่างไรดี?
หากมีเงินรางวัลอยู่จำนวนหนึ่ง เคยสงสัยไหมว่า เราควรจะแบ่งเงินก้อนนั้นให้เป็นรางวัลสำหรับกี่รางวัลดี และรางวัลต่างๆ เช่นที่หนึ่งและที่สอง ควรมีมูลค่าต่างกันเท่าไหร่ สัดส่วนดังกล่าวควรจะมาจากอะไร และมันจะส่งผลต่อการแข่งขันอย่างไรบ้าง บทความใน AER จะให้แนวทางกับเรา
จะอธิบาย “โลกาภิวัตน์” ด้วย “ฟุตบอล” ได้อย่างไร?
ฟุตบอลในฐานะกีฬาของมวลมนุษยชาติ ถือเป็นกีฬาที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์มาก เมื่อลองวิเคราะห์ผลของโลกาภิวัตน์ โดยใช้วงการฟุตบอล ในประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำที่มีการถกเถียงกันอยู่ เราก็จะได้เห็นมิติบางด้านที่น่าสนใจ
เค้า “เล่นแชร์” กันยังไง?
การเล่นแชร์นั้นไม่ได้ผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แถมยังมีรูปแบบไม่ยากนักในการความเข้าใจ บทความนี้จะอธิบายวิธีการเล่นพร้อมวิธีคำนวณต่างๆ รวมทั้งมีไฟล์ EXCEL ให้ลองเล่น นอกจากนี้ การเล่นแชร์ยังสะท้อนอัตราดอกเบี้ยแบบชาวบ้านและความไว้เนื้อเชื่อใจของคนในสังคมด้วย
แบ่ง“มรดก”อย่างไรไม่ให้ทะเลาะกัน?
การแบ่งมรดกเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พี่น้องต้องมาทะเลาะกัน ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ความโลภ แต่อยู่ที่ความไม่เป็นธรรม อันเนื่องจากผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกเป็นคนเดียวกัน อีกทั้งการหามูลค่าที่เท่ากันของมรดกหลายประเภทผสมกันนั้นอาจทำได้ยาก เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์จะมาช่วยแบ่งให้เท่าเทียมกันและพอใจกันทุกฝ่ายได้
“The STAR” Model: อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อตัดสินกันด้วยคะแนนโหวต?
The STAR เป็นรายการ Reality Show ที่มีชื่อเสียงมาก กรรมการผู้ตัดสินจะมีบทบาทแค่รอบแรกๆ จากนั้นจะเป็นการโหวตจากผู้ชมทางบ้านทั้งหมด เคยสงสัยไหมว่า การแข่งขันร้องเพลง (Singing Contest) ที่กลายเป็นการแข่งขันความนิยม (Popularity Contest) แบบนี้ มันจะมีผลอะไรกับสังคมไหม
โอกาสเจอ “ใครสักคนที่ใช่” เป็นเท่าไหร่กัน?
Backus ได้ทำการประยุกต์สมการที่ใช้ประเมินจำนวนดวงดาวที่มีโอกาสจะติดต่อกับมนุษย์ได้ มาคำนวณหาโอกาสที่ชีวิตของเราจะได้เจอใครสักคนที่ใช่ แบบที่สามารถสื่อสารกับเราได้พอดี (Perfect Match) และโอกาสที่เราจะได้คบกันกับคนๆ ด้วย แต่สุดท้ายค่าที่ได้ก็ช่างน้อยเสียเหลือเกิน