530501248_f153d46a1f_z

โอกาสเจอ “ใครสักคนที่ใช่” เป็นเท่าไหร่กัน?

Backus ได้ทำการประยุกต์สมการที่ใช้ประเมินจำนวนดวงดาวที่มีโอกาสจะติดต่อกับมนุษย์ได้ มาคำนวณหาโอกาสที่ชีวิตของเราจะได้เจอใครสักคนที่ใช่ แบบที่สามารถสื่อสารกับเราได้พอดี (Perfect Match) และโอกาสที่เราจะได้คบกันกับคนๆ ด้วย แต่สุดท้ายค่าที่ได้ก็ช่างน้อยเสียเหลือเกิน

……….


นปี 1961 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Frank 
Drake จาก 
the 
National 
Radio 
Astronomy 
Observatory ใน West 
Virginia ได้ทำการคิดสมการที่ชื่อว่า Drake
 equation ขึ้นมา เพื่อ

ประเมินว่ามีดวงดาวสักกี่ดวงในกาแล็กซี่ที่จะมีสิ่งมีชีวิตซึ่งจะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ได้ เพราะดาวดวงนั้นต้องมีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นต้องศิวิไลซ์จนพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารได้ และต้องสื่อสารด้วยช่วงของการสื่อสารที่ตรงกับมนุษย์โลกพอดีด้วย

ต่อมา Backus นักเศรษฐศาสตร์ ได้ทำการประยุกต์ Drake
 equation เพื่อคำนวณโอกาสที่ชีวิตของเราจะได้เจอใครสักคนที่ใช่ (Perfect Match) โดยประเมินว่าจะมีสักกี่คนในสังคมที่ตรงกับความต้องการของเรา และสามารถสื่อสารกับเราได้อย่างพอดีจริงๆ (ประเภทมีฮอร์โมนตรงกันกับเราแบบมองตาก็รู้ใจ = สื่อสารด้วยสัญญาณแบบเดียวกัน) สมการดังกล่าวถูกเรียกว่า Drake-Backus
 equation

“ภาพชื่อ I found you (ภาพโดย stonepix_de @flickr)”


ขอเริ่มต้นจากการยกตัวอย่างการคำนวณ Drake
 equation ซึ่งมีหลักการว่า หากจะหาดวงดาวที่สามารถสื่อสารกับโลกได้นั้น เริ่มจากพิจารณาอัตราการเกิดดาวดวงใหม่ต่อปี ปรับด้วยจำนวนที่เป็นดาวเคราะห์ ที่สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่รอด พัฒนาความศิวิไลซ์ และสามารถสื่อสารแบบเดียวกับมนุษย์ได้ ภายในช่วงเวลาที่ไม่น้อยไปกว่าที่ใช้พัฒนาสัญญาณ[1]

N = R* x ƒp x ne x ƒl x ƒi x ƒc x L

โดยบทความของ Drake ระบุความหมายของแต่ละตัวแปรไว้ว่า
R* = 10/year (มีดวงดาวเกิดใหม่ 10 ดวงต่อปี)
ƒp = 0.5 (ครึ่งหนึ่งของดวงดาวที่เกิดใหม่เป็นดาวเคราะห์)
ne = 2 (ในดวงดาวที่เกิด มีดาวเคราะห์ 2 ดวงที่สิ่งมีชีวิตอยู่รอดได้)
ƒl = 1 (100% ดาวเคราะห์เหล่านี้ สิ่งมีชีวิตจะอยู่รอดได้)
ƒi = 0.01 (1% สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจะพัฒนาความศิวิไลซ์)
ƒc = 0.01 (1% จะสามารถสื่อสารได้)
L = 10,000 years (ใช้เวลาในการพัฒนาสัญญาณ 10,000 ปี)

ดังนั้น จำนวนดวงดาวในกาแล็กซี่ที่มีโอกาสจะสื่อสารกับโลกของเราได้ (N) = 10 × 0.5 × 2 × 1 × 0.01 × 0.01 × 10,000 = 10 ดวง(เท่านั้น)

“ภาพชื่อ Couple in the sunset (ภาพโดย tanakawho @flickr)”

……….

Backus ได้ทำการประยุกต์จนเป็นสมการใหม่เป็น Drake-Backus
 equation โดยอยู่บนพื้นฐานเดียวกันกับ Drake equation

G = R* x ƒp x ƒw x ƒL x ƒA x ƒU x ƒB x L

G = จำนวนคนที่มีโอกาสเป็น “คนที่ใช่” (The 
number 
of 
potential 
girlfriends)
R* x L 
=
 จำนวนประชากรในประเทศ (The 
number 
of 
people 
in 
our country)
[ne หายไปในสมการ เพราะประชากรที่เกิดมาเป็นคนทั้งหมด]
ƒw = สัดส่วนของประชากรที่เป็นเพศตรงข้าม (The 
fraction 
of 
people 
in 
the 
country 
who 
are 
women)
ƒL = สัดส่วนของเพศตรงข้ามที่อยู่ในเมืองของเรา (The 
fraction 
of 
women 
in 
the 
country 
who 
live 
in our city)
ƒA = สัดส่วนของเพศตรงข้ามในช่วงอายุที่เหมาะสม (The 
fraction 
of 
the 
women 
in our city 
who 
are 
age ­appropriate)
ƒU = สัดส่วนของเพศตรงข้ามในช่วงระดับการศึกษาที่เหมาะสม (The
 fraction 
of 
age ­appropriate 
women 
in our city 
with 
a 
university
 education)
ƒB = สัดส่วนของเพศตรงข้ามที่ตรงสเป็ค (The
 fraction 
of 
university 
educated, 
age ­appropriate 
women 
in our city
 who 
I 
find 
physically 
attractive)

หลักการที่สามารถเข้าใจได้ก็คือ เริ่มจากจำนวนประชากร (R* x L) ปรับด้วยสัดส่วนของเพศตรงข้าม (ƒw) ที่อยู่ในเมืองของเรา (ƒL) มีความเป็นไปได้ทางอายุ (ƒA) มีความเป็นไปได้ทางการศึกษา (ƒU) และตรงสเป็ค (ƒB) นั่นเอง

……….

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของผู้ชาย อายุ 30 ปี จบปริญญาตรี และทำงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ ข้อมูลที่ได้คือ

R* 
=
 60.6 ล้านคน (2554), ƒw = 50.2% (2543), ƒL = 9.4% (2553), ƒA = 15.18% (2553 ช่วงอายุ ± 5 ปี ของคนที่อยู่ในช่วงอายุ 15-64 ปี), ƒU = 21% (2553 สัดส่วนของคนกทม.ที่จบปริญญาตรีขึ้นไป), ƒB = 5% (ตัวเลขสมมติกรณีสเป็คแคบ หมายความว่า ใน 100 คนจะตรงสเป็ค 5 คน), L = 30 ปี

เมื่อนำมาคำนวณจะได้ G = 60,600,000 x 50.2% x 9.4% x 15.18% x 21% x 5% = 4,558 คน

หรือจำนวนของคนที่ใช่สำหรับผู้ชาย จบปริญญาตรี และทำงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะมีอยู่เพียง 4,558 คนเท่านั้น

จากนั้นยังไม่เสร็จเพียงแค่นี้ เพราะค่า G ที่ได้คือจำนวนของคนที่ใช่เท่านั้น ยังไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแฟนกับเราได้ จึงต้องนำค่า G มาปรับด้วย 3 ปัจจัย คือ

  1. สัดส่วนของคนที่จะเห็นว่าเราก็ใช่ในแบบของเขาด้วย เพราะถ้าเขาใช่ของเรา เราไม่ใช่ของเขา ก็จบ ปัจจัยนี้ขึ้นอยู่กับหน้าตา นิสัย ฐานะ และบุคลิกเฉพาะตัวของแต่ละคน (บทความสมมติว่า 5%)
  2. สัดส่วนคนที่ยังโสด มีค่าเป็นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการนิยามความโสดของแต่ละคน ถ้านับมีแฟนแล้วว่าไม่โสด คนโสดก็จะน้อย ถ้านับที่แต่งงานแล้ว ไม่นับแค่มีแฟน คนโสดก็จะเยอะขึ้น แต่บางคนเค้าไม่ถือ แต่งงานแล้วก็ยังจะนับว่าโสด อย่างนี้ก็ 100% ไปเลย (หากใช้เกณฑ์ว่ามีแฟนหรือยัง ในประเทศไทยก็คงยังไม่มีสัก 10%)
  3. และสัดส่วนของคนที่เราจะกล้าลองจีบดูจริงๆ อันนี้ขึ้นอยู่กับความกล้าของแต่ละคนครับ (ในบทความสมมติว่า 10%)

เท่ากับว่า จำนวนคนที่ใช่ และมีโอกาสจะได้คบกันจริงจัง (G*) คือ 4,558 x 5% x 10% x 10% = 2.279 ≈ 2 คนเท่านั้น

หรือ โอกาสที่จะได้คบกันจริงจังกับคนที่ใช่ในแบบของเรามีเพียง 2 ใน 60.6 ล้านคนเท่านั้น

……….

สำหรับคนที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์ แต่อยากเอาสมการนี้ไปใช้ ขอแนะนำสมการง่ายๆ เป็น [ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย เพราะสัดส่วนใกล้เคียงกันมาก]

จำนวนคนที่ใช่ และมีโอกาสจะได้คบกันจริงจัง (G*) = 9.1 x (ใน 10 คน น่าจะตรงสเป็คเรากี่คน) x (ใน 10 คน น่าจะสนใจเรากี่คน) x (ใน 10 คน น่าจะโสดกี่คน) x (ใน 10 คน จะกล้าจีบกี่คน)

และโอกาสเจอคนที่ใช่ และมีโอกาสจะได้คบกันจริงจังมีเพียง = G* / 60.6 ล้าน เท่านั้น

ดังนั้น หากใครยังไม่เจอก็ขอให้พบเจอในเร็ววันนะครับ หากใครเจอแล้วก็ขอให้ดูแลกันให้ดีและรักกันไปนานๆ ครับ เพราะจากสมการจะเห็นได้ว่าไม่ได้เจอกันง่ายๆ เลยทีเดียว ^^






อ้างอิง
[1] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก wikipedia.

ที่มา: Peter, Backus (2010). Why I don’t have a girlfriend, mimeo, online at The University of Warwick.

  • http://www.facebook.com/chutchapol Chutchapol Youngwiriyakul

    โอกาสเจอคนที่ใช่ที่ว่ายาก มาเจอโอกาสที่เกิดเป็นมนุษย์ (ตามหลักพุทธศาสนา) นั้นยากกว่านัก… ^^

    • http://gravatar.com/roseishtar roseishtar

      หวัดดีค่ะคุณชัด ตามมาถึงนี่เลย อิอิ

    • KOI

      ู^^ เจอกันอีกแล้ว พี่ชัช

      • http://www.chutchapol.com Chutchapol

        เบื่อพี่รึยังก้อย? :P

  • http://pbenzbenz.wordpress.com pbenzbenz

    Reblogged this on pbenzbenz.

  • http://www.facebook.com/sittichoke.preechasittikun Sittichoke Preechasittikun

    มันเป็นความจริงที่เราไม่เคยรู้!!!!!

  • The Day

    ข้อจำกัดมากเกินไปมั้งครับ model นี้ ช่วงอายุของคนและหน้าที่การงานที่จะได้พบเจอเพศตรงข้ามนี่สำคัญที่สุด ต้องรู้จักสร้างโอกาสให้ตัวเอง ยิ่งเจอมากโอกาสก็มากตามไปเอง เหมือนสร้าง channel ทางการค้า

  • mai

    ถ้าจะหายากจริงๆค่ะ

  • http://www.facebook.com/naru3 Naru Pan

    ถ้าเป็นคนที่เดินทางไปทำงานหลายประเทศล่ะคะ ต้องคิดถึงเนื้อคู่ที่เป็นชาวต่างชาติรึเปล่าคะ อย่างนี้โอกาสก็เหมือนจะเยอะขึ้นอีกรึเปล่าเนี่ย? 555

  • http://www.facebook.com/naru3 Naru Pan

    ถ้าเป็นคนที่เดินทางไปทำงานหลายประเทศล่ะคะ ต้องคิดถึงเนื้อคู่ที่เป็นชาวต่างชาติรึเปล่าคะ อย่างนี้โอกาสก็เหมือนจะเยอะขึ้นอีกรึเปล่าเนี่ย? 555

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      อืม…มีเหตุผลนะครับ แต่ว่าความน่าจะเป็นที่จะเจอสาวไทยอาจจะลดลง เป็นการ trade-off อย่างหนึ่ง ^^

  • http://www.facebook.com/naru3 Naru Pan

    ถ้าอย่างนี้คนที่มีเครือข่ายอยู่หลายประเทศ (ทั้งไปทำงาน มีญาติ ไปเรียน เที่ยวแบบนานๆ) ก็น่าจะมีโอกาสมากขึ้น เพราะต้องเพิ่มจำนวนที่แทนลงในตัวแปรด้านประชากรรึเปล่าคะ
    อย่างนี้ก็ดีนะคะอาจารย์ เผื่อจะได้พบเนื้อคู่เป็นสาวต่างชาติ 555

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      การเพิ่มตัวแปรด้านประชากรก็จะมีผลครับ ส่วนเนื้อคู่ชาวต่างชาติ ถ้าไม่ชอบสาวต่างชาตินี่ ตัวแปร f(B) จะลดลงในอัตราเร่งน่ะสิครับ ^^

  • http://www.facebook.com/naru3 Naru Pan

    ถ้าอย่างนี้คนที่มีเครือข่ายอยู่หลายประเทศ (ทั้งไปทำงาน มีญาติ ไปเรียน เที่ยวแบบนานๆ) ก็น่าจะมีโอกาสมากขึ้น เพราะต้องเพิ่มจำนวนที่แทนลงในตัวแปรด้านประชากรรึเปล่าคะ
    อย่างนี้ก็ดีนะคะอาจารย์ เผื่อจะได้พบเนื้อคู่เป็นสาวต่างชาติ 555

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      การเพิ่มตัวแปรด้านประชากรก็จะมีผลครับ ส่วนเนื้อคู่ชาวต่างชาติ ถ้าไม่ชอบสาวต่างชาตินี่ ตัวแปร f(B) จะลดลงในอัตราเร่งน่ะสิครับ ^^

  • Pi

    ทำไมใช้ 60ล้านคนล่ะครับ เพศตรงข้ามน่าจะลดค่านี้ลงนะครับ คนที่ใช่เพศเดียวกัน สยองอยู่นะครับ

  • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

    ใช้ 60 ล้านคน แล้วไปคูณกับค่า f_w = 50.2% ซึ่งก็คือสัดส่วนประชากรที่เป็นผู้หญิงครับ ทำให้ตัวเลขที่พิจารณาในส่วนนี้เหลือเพียง 30.12 ล้านคนครับ ^^

  • http://myblog1dotnet.wordpress.com jpmobile
  • Guest

    สงสัยอ่ะ ตรงที่ “เมื่อนำมาคำนวณจะได้ G = 60,600,000 x 50.2% x 9.4% x 15.18% x 21% x 5% = 4,558 คน” แล้ว L ที่บอกว่าอายุ 30 ปี ไม่ต้องเอามาคูณด้วยหรอคะ เหมือนตัวเลข 30 หายไปเลย ไม่งั้นก็น่าจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นนะ

    • http://setthasat.com/ [เสด-ถะ-สาด]

      มันคือค่า f(A) = 15.18% ซึ่งหมายถึงสัดส่วนของคนที่อยู่ในช่วงอายุ ± 5 ปี จากอายุ 30 ปีน่ะครับ ^^