
Common


”โทรแล้วขับ” กับ Mario Kart เพิ่มอุบัติเหตุเท่าไหร่กัน?
ผลของการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวัดออกมา Gunter (2014) ทำการทดลองทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่ายแต่น่าสนใจกับเกม Mario Kart เพื่อดูว่าผลดังกล่าวมีมากน้อยเพียงใดกัน
20 เหตุผลที่สาวๆ ควร “ออกเดท” กับหนุ่มเศรษฐศาสตร์
เนื่องในวันแห่งความรักที่กำลังจะมาถึง นักเศรษฐศาสตร์หลายคนอาจจะยังหาคนมาเดินเคียงข้างไม่ได้ [เสด-ถะ-สาด].com จึงขอเผยแพร่คำโฆษณาชวนเชื่ออย่างมีเหตุมีผลว่า ทำไมคุณสาวๆ จึงควรเลือกนักเศรษฐศาสตร์เป็นแฟนกัน
“อเมริกันป๊อป” แย่งส่วนแบ่งตลาดเพลงท้องถิ่นหรือไม่?
การขยายตัวของภาพยนตร์ Hollywood ส่งผลใหุ้ตสาหกรรมภาพยนตร์ภายในประเทศของประเทศต่างๆ นั้นหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด แล้วการขยายตัวของเพลงป๊อปอเมริกัน โดยเฉพาะผ่านช่องทางการค้าทางอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลกจะส่งผลแบบเดียวกันหรือไม่
“ขึ้นสวรรค์” หรือ “ลงนรก” มีผลกับอาชญากรรมอย่างไร?
“ทำความดี ละเว้นความชั่ว” เป็นแกนกลางของคำสอนในทุกศาสนา แล้ว “ทำความดี” กับ “ละเว้นความชั่ว” มันจะมีผลเหมือนกันหรือไม่กับจำนวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบความน่าสนใจว่า ขณะที่คำสอนเรื่องความชั่วทำให้จำนวนอาชญากรรมลดลง แต่คำสอนเรื่องความดีกลับจะทำให้อาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น
นักการเมืองจะตอบ“อีเมล์”กันไหม…หนอ?
อีเมล์เป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่เข้าถึงนักการเมืองโดยตรง และเชื่อว่านักการเมืองทุกคนมีอีเมล์แน่ๆ (อย่างน้อยก็ในนามบัตร) แต่เคยสงสัยกันไหมว่า หากติดต่อพวกเขาด้วยช่องทางนี้จริงๆ เขาจะตอบเราหรือไม่
“สวดมนต์”แค่ไหน พระเจ้าจึงจะเห็นใจ?
การสวดมนต์นับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า แล้วสวดเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด หากต้องการให้พระเจ้าเห็นใจ Heckman (2010) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้คำแนะนำนี้กับเรา เพื่อการสวดมนต์อันเป็นสิริมงคล
ข้อควรคำนึง(ทางเศรษฐศาสตร์)ในการ“บริจาค”(หรือทำบุญ)
การใช้เงินไปเพื่อการบริจาคไม่เหมือนกับการใช้เงินเพื่อการบริโภคหรือลงทุน เพราะเรามักจะไม่หาข้อมูลก่อนตัดสินใจ และเมื่อจ่ายไปแล้ว เราก็มักจะไม่สนใจติดตามผลลัพธ์ของการบริจาคอีกต่างหาก เหล่านี้คือนิสัยที่ไม่ดีของการบริจาค ลองดูว่าเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้แง่คิดอะไรกับเราได้บ้าง
ข้อควรระวัง(ทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม)ในการ“เลือกซื้อของขวัญ”
การให้ของขวัญก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจจำนวนหนึ่ง เพราะมูลค่าของขวัญในสายตาผู้รับนั้นมักจะต่ำกว่าราคาของขวัญที่ผู้ให้จ่ายเงินซื้อ ทีนี้ลองมาดูกันว่าถ้าเราจะเลือกซื้อของขวัญโดยให้มูลค่าดังกล่าวมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจะแนะนำให้เราต้องระวังอะไรบ้าง
แม่เลี้ยงของซินเดอเรลล่า“ใจร้าย”…จริงหรือ?
เทพนิยายซินเดอเรลล่าเป็นที่รักของเด็กๆ ทั่วโลก เรื่องราวของเจ้าชาย รองเท้าแก้ว รถฟักทอง แม่เลี้ยงและพี่สาวใจร้ายที่พยายามกีดกันไม่ให้ซินเดอเรลล่าได้แต่งงานกับเจ้าชาย แต่หากมองในทางเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมของแม่เลี้ยงอาจไม่เข้าข่ายใจร้าย แต่กลับสมเหตุสมผลแล้วต่างหาก
ทำไมน้อง“ไม่”แต่งงาน?
การแต่งงานก่อให้เกิดผลดีกับทั้งชายและหญิง เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญระหว่างกัน แต่ทำไมในปัจจุบันเรากลับเห็นคนที่ไม่แต่งงานทั้งโดยสมัครใจและไม่สมัครใจมากขึ้น ปัจจัยอะไรที่ทำให้พวกเขาเลือกจะเป็นโสด และเขาตัดสินใจกันจริงๆ จังๆ ตอนอายุเท่าไหร่กัน
ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่?
ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน บทความทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน
ทำไม“ผู้หญิงสวย”จึงมักลงเอยกับ“ผู้ชายไม่หล่อ”?
ความเป็นจริงของชีวิตที่เราพบเห็นกันทั่วไปที่ผู้หญิงสวยมักลงเอยกับผู้ชายไม่หล่อ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้สามารถอธิบายได้ในทางเศรษฐศาสตร์ และมันยังทำให้เรารู้ว่า หากเราอยากมีความสุขในการแต่งงาน เราควรหาคู่ครองที่มีหน้าตาระดับไหนเมื่อเทียบกับตัวเราเอง
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” หรือ “แตกแยก ไม่แตกต่าง”?
“แตกต่าง ไม่แตกแยก” เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะมันคือเป้าหมายที่สังคมอยากให้เป็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าลองสลับคำกันดู จะกลายเป็นคำว่า “แตกแยก (ทั้งที่)ไม่แตกต่าง” ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน คำถามก็คือ คำไหนมันเป็นไปได้มากกว่ากัน