amnesty

“นิรโทษกรรม”ส่งเสริมความปรองดองหรือไม่?

จุดเริ่มต้นคือรัฐบาลต้องการความปรองดองให้กับคนในสังคม แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ถูกเสนอคือกฎหมายนิรโทษกรรมในลักษณะ set zero ซึ่งบทความวิชาการชี้ว่าไม่ว่าจะเป็น set zero ในรูปแบบใดก็ตาม นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดความปรองดองแล้ว ยังส่งผลลบต่อความร่วมมือของคนในสังคมเข้าไปอีกในระยะยาว
prayer

“สวดมนต์”แค่ไหน พระเจ้าจึงจะเห็นใจ?

การสวดมนต์นับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า แล้วสวดเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด หากต้องการให้พระเจ้าเห็นใจ Heckman (2010) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้คำแนะนำนี้กับเรา เพื่อการสวดมนต์อันเป็นสิริมงคล
divorce

เนื้อคู่แบบไหนอยู่กัน“ไม่ยืด”?

เนื่องในวันแห่งความรัก [เสด-ถะ-สาด].com ขอเสนอบทความที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเนื้อคู่ที่เหมาะกับเรา เพื่อให้มีโอกาสหย่าร้างหลังแต่งงานน้อยที่สุด และในการใช้ชีวิตร่วมกันให้รอด แต่ละคู่อาจจะต้องผ่านมรสุมครั้งใหญ่ประมาณสองครั้ง ซึ่งเกือบทุกคู่ก็ไม่ต่างจากเราทุกคน ถนอมความรักกันให้ดีนะครับ
tv-ads

ละคร “สะท้อน” หรือ “ชี้นำ” สังคมกันแน่?

ข้อถกเถียงระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับผู้จัดละครทีวีที่ว่าละครมีหรือไม่มีผลกระทบต่อสังคม(อย่างมีนัยสำคัญ)กันแน่ และมากหรือน้อยแค่ไหนกัน บทความทางเศรษฐศาสตร์เองก็สนใจเรื่องนี้และพยายามให้คำตอบเช่นกัน
bnb

ทำไม“ผู้หญิงสวย”จึงมักลงเอยกับ“ผู้ชายไม่หล่อ”?

ความเป็นจริงของชีวิตที่เราพบเห็นกันทั่วไปที่ผู้หญิงสวยมักลงเอยกับผู้ชายไม่หล่อ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้สามารถอธิบายได้ในทางเศรษฐศาสตร์ และมันยังทำให้เรารู้ว่า หากเราอยากมีความสุขในการแต่งงาน เราควรหาคู่ครองที่มีหน้าตาระดับไหนเมื่อเทียบกับตัวเราเอง
new_york_segregation

“แตกต่าง ไม่แตกแยก” หรือ “แตกแยก ไม่แตกต่าง”?

“แตกต่าง ไม่แตกแยก” เป็นคำที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทยปัจจุบัน เพราะมันคือเป้าหมายที่สังคมอยากให้เป็น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าลองสลับคำกันดู จะกลายเป็นคำว่า “แตกแยก (ทั้งที่)ไม่แตกต่าง” ซึ่งก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน คำถามก็คือ คำไหนมันเป็นไปได้มากกว่ากัน
parking area sign

กฎหมายจะควบคุม”วัฒนธรรมคอรัปชั่น”ได้หรือไม่?

คอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของสังคมด้วย ไม่ว่ากฎหมายจะเข้มแข็งแค่ไหนจึงไม่อาจกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยง่าย บทความนี้อาศัยการจอดรถผิดกฎหมายของนักการฑูตในนิวยอร์คมาทำให้รู้ว่า กฎหมายที่เข้มแข็ง แม้จะไม่ 100% แต่ก็ลดคอรัปชั่นได้มากอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
1253

อะไรจะเกิดขึ้น หากผู้นำประเทศถูก”ลอบสังหาร”?

สาขารัฐศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องการลอบสังหารผู้นำมาเป็นจำนวนมาก แต่มักเป็นแบบกรณีศึกษา หากวิเคราะห์เรื่องนี้ด้วยการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นวิถีทางที่ถนัดของนักเศรษฐศาสตร์ ผลที่ออกมาจะบอกเราได้ว่า ในภาพรวมแล้ว ความสำเร็จของการลอบสังหารจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้หรือไม่
wikicommons_copyleft copy

“เสรีภาพทางการเมือง” หรือ “เสรีภาพทางเศรษฐกิจ” อะไรควรมาก่อนกัน?

เสรีภาพทางการเมือง และ เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ต่างก็เป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่ ประเทศที่พัฒนาแล้วย่อมประกอบด้วยเสรีภาพทั้งสองด้าน บทความชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ลำดับของการเปิดเสรีในแต่ละด้านก่อนหลังนั้น มีผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นแตกต่างกันมากทีเดียว
Chicken_-_Cartoon_08.4172803_std

“ราคาไข่” เป็นตัวแทนของค่าครองชีพได้หรือไม่?

เป็นเวลานานแล้วที่ “ราคาไข่” เป็นเครื่องชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่เคยตั้งคำถามกันไหมว่า มันเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ดีหรือไม่ เพราะถ้ามันทำได้ไม่ดีพอ จะเท่ากับว่าเราไปลงโทษหรือให้คุณรัฐบาลที่ผิดฝาผิดตัวกันเลยทีเดียว
20111128-politics-economy-business

“การเมืองนำเศรษฐกิจ” หรือ “เศรษฐกิจนำการเมือง”?

การเมืองและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กัน ในอดีต การเมืองเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลของหลายประเทศมักจะอ้าง(ทางการเมือง)ว่า เศรษฐกิจนำการเมือง แท้จริงแล้ว ประเทศแบบไหนที่การเมืองนำ และแบบไหนที่เศรษฐกิจนำ
img_191

ทำไม “เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” จึงเพิ่มขึ้น?

การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ผลการวิจัยจำนวนหนึ่งมักจะอ้างถึงพฤติกรรมหรือนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่นยุคใหม่ แต่ถ้าสมมติว่าพวกเขามีความมีเหตุมีผลไม่ได้เปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนๆ แล้วอะไรคือเหตุผลทางที่ทำให้พฤติกรรมของพวกเขาเปลี่ยนไป เศรษฐศาสตร์จะช่วยตอบเราเรื่องนี้
College-Students

เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของ “นิสิตนักศึกษา” อย่างไร?

เนื่องจากนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยเพิ่งอยู่ในช่วงเปิดภาคเรียน [เสด-ถะ-สาด].com จึงขอให้กำลังใจนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจเองหรือเลือกไม่ได้ แต่สุดท้ายต้องเข้ามาเรียนเศรษฐศาสตร์ทุกคน ด้วยการนำเอาเรื่องราวสนุกๆ เกี่ยวกับวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายวิถีชีวิตประจำวันของความเป็นนิสิตนักศึกษา
tv_licence

ใครเชื่อ “สิ่งที่นายกฯพูด”บ้าง ยกมือขึ้น?

ในอิตาลี อดีตนายกฯ Berlusconi ซึ่งเป็นเจ้าของสื่อทีวีร้อยละ 90 ออกทีวีบ่อยมากๆ แต่มีคนให้คะแนนความน่าเชื่อถือของเขาเพียง 2 เต็ม 10 เท่านั้น แต่เมื่อถามต่อ กลับพบว่าคนเชื่อถือสื่อทีวีถึง 6 เต็ม 10 แต่เขาก็ชนะการเลือกตั้งมาหลายครั้ง คนไม่เชื่อ Berlusconi แล้วเขาเชื่ออะไรในสื่อทีวีกัน
cartoon_character_professor_round_stickers-p217900408150955726envb3_400

จะเป็น “นักวิชาการที่ทรงอิทธิพล” ได้อย่างไร?

การเป็นนักวิชาการที่ทรงอิทธิพลนั้นเกิดจากการตีพิมพ์เอกสารในวารสารวิชาการให้มีผู้อ้างอิงมากเข้าไว้ เพราะเท่ากับได้รับการยอมรับจากนักวิชาการคนอื่นจำนวนมาก แต่เคยคิดไหมว่า หากมีจำนวนการอ้างอิงที่เท่ากัน การตีพิมพ์ในเอกสารน้อยชิ้นแต่ถูกอ้างอิงมากๆ กับการตีพิมพ์เอกสารมากชิ้น แต่ถูกอ้างอิงน้อย เหมือนกันหรือไม่