12571043261351773352wasat_Theatre_Masks.svg.med

เสียงปรบมือของ“เซเลบริตี้”มีผลอย่างไร?

เมื่อจบการแสดงในโรงละคร สิ่งหนึ่งที่ต้องทำกันก็คือการลุกขึ้นปรบมือ บางการแสดงที่เราดูไม่รู้เรื่องก็มีคนลุกขึ้นปรบมือเป็นจำนวนมาก เคยสงสัยกันไหมว่าเป็นเพราะอะไร รวมทั้งเคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องมีเซเลบริตี้นั่งกันอยู่แถวหน้าสุดให้เราเห็นกันด้วย
made-in-italy

“Made in Italy” แต่ by China?

หลายคนที่มีโอกาสมาเที่ยวอิตาลีจะเห็นสินค้าตลาดนัดตามแหล่งท่องเที่ยวที่ดูคุณภาพไม่ค่อยดีนัก ราคาแพง และคนขายยืนยันหนักแน่นว่า “Made in Italy” พวกเขาไม่ได้โกหก เพราะ “Made in Italy” จริงๆ เพียงแต่ว่าไม่ใช่ความหมายอย่างที่เราเข้าใจกัน
239855_725068520

เรามี“เพื่อน”ได้มากที่สุด…กี่คน?

Dunbar’s Number คือตัวเลขจำนวนเพื่อนที่สมองส่วนหน้าของมนุษย์จะสามารถจำรายละเอียดได้ ซึ่งก็คือ 150 คน และก็เป็นตัวเลขเดียวกับจำนวนคนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มในประวัติศาสตร์ ซึ่งมาจากผลได้และต้นทุนของการรวมกลุ่ม บทความนี้จะชี้ให้เห็นมิติที่สอดคล้องกันดังกล่าว
poor girl

“ความยากจน” คืออะไร?

ความยากจนเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามมานาน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าความยากจนคืออะไร มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และทำไมจึงแก้ไขได้ยากยิ่ง รวมทั้งยังได้เกริ่นถึงโครงการของช่างภาพคนหนึ่งที่ตระเวนถ่ายภาพทางเลือกของคนจนในแต่ละประเทศมาให้ชมกันด้วย
Chicken_-_Cartoon_08.4172803_std

“ราคาไข่” เป็นตัวแทนของค่าครองชีพได้หรือไม่?

เป็นเวลานานแล้วที่ “ราคาไข่” เป็นเครื่องชี้วัดความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่เคยตั้งคำถามกันไหมว่า มันเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ดีหรือไม่ เพราะถ้ามันทำได้ไม่ดีพอ จะเท่ากับว่าเราไปลงโทษหรือให้คุณรัฐบาลที่ผิดฝาผิดตัวกันเลยทีเดียว
habit

ใช้เวลานานแค่ไหนในการ “เปลี่ยนนิสัย” ตัวเอง?

การเปลี่ยนนิสัยตัวเราเองเป็นเรื่องยากมาก หลายคนคงเคยพยายามและล้มเลิกไปหลายครั้ง สาเหตุหนึ่งก็เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงเป้าหมาย บทความนี้จะพอบอกเราได้ว่า นานแค่ไหนที่เราต้องเพียรพยายามเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ล้มเลิกกลางคัน
20111128-politics-economy-business

“การเมืองนำเศรษฐกิจ” หรือ “เศรษฐกิจนำการเมือง”?

การเมืองและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กัน ในอดีต การเมืองเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลของหลายประเทศมักจะอ้าง(ทางการเมือง)ว่า เศรษฐกิจนำการเมือง แท้จริงแล้ว ประเทศแบบไหนที่การเมืองนำ และแบบไหนที่เศรษฐกิจนำ
chair

เค้า “เล่นแชร์” กันยังไง?

การเล่นแชร์นั้นไม่ได้ผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แถมยังมีรูปแบบไม่ยากนักในการความเข้าใจ บทความนี้จะอธิบายวิธีการเล่นพร้อมวิธีคำนวณต่างๆ รวมทั้งมีไฟล์ EXCEL ให้ลองเล่น นอกจากนี้ การเล่นแชร์ยังสะท้อนอัตราดอกเบี้ยแบบชาวบ้านและความไว้เนื้อเชื่อใจของคนในสังคมด้วย
football 2

โอกาสชนะของ “ฟุตบอลทีมชาติ” ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

หากมองการซื้อขายตัวนักเตะตามราคาตลาดเป็นมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า (Export-Import) แล้วมองอันดับของทีมชาติตามการจัดของ FIFA เป็นผลประกอบการของประเทศ เช่นนี้แล้วการซื้อขายตัวนักเตะจะทำให้ประเทศนั้นๆ เกิดผลได้ทางการค้า (Gain from Trade) หรือไม่
shopping

ทำไมผู้หญิงต้อง “ช็อปปิ้ง”?

หลายๆ ครั้งคุณผู้ชายไม่เข้าใจว่าทำไมคุณผู้หญิงต้องช็อปปิ้ง และหลายครั้งคุณผู้หญิงเองก็ควบคุมตนเองไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพราะความสุขของพวกเธออยู่ที่การปลดปล่อยอารมณ์ในการจับจ่ายมากกว่าเรื่องการใช้สอย โดยเหตุผลที่แท้จริงของการช็อปปิ้ง Sheconomics จะทำให้เราเข้าใจ และนำเสนอวิธีการแก้ไขที่(น่าจะ)ได้ผล
สมบัติ

แบ่ง“มรดก”อย่างไรไม่ให้ทะเลาะกัน?

การแบ่งมรดกเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พี่น้องต้องมาทะเลาะกัน ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ความโลภ แต่อยู่ที่ความไม่เป็นธรรม อันเนื่องจากผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกเป็นคนเดียวกัน อีกทั้งการหามูลค่าที่เท่ากันของมรดกหลายประเภทผสมกันนั้นอาจทำได้ยาก เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์จะมาช่วยแบ่งให้เท่าเทียมกันและพอใจกันทุกฝ่ายได้
06_anu samarüütel_threesome_2011

“มือที่สาม”เข้ามาแทรกได้อย่างไร?

ในปัจจุบัน หันไปมองทางไหน ทุกคนก็มีแฟนหมดแล้ว โดยเฉพาะถึงขั้นพูดกันว่าคนดีดีก็คงมีแฟนกันหมดแล้ว แต่เชื่อไหมว่าต่อให้เขาคนนั้นมีแฟนแล้ว แต่เหตุการณ์มือที่สามก็ไม่วายมีโอกาสเกิดขึ้นได้ บทความนี้มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ว่า ทำไมรักสามเส้าจึงเกิดขึ้น และเราจะไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
polish-dating

“ข้อคิด ๑๐ ประการของการมีแฟน” โดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล

ปี 2010 รางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถูกมอบให้กับ DMP Model เกี่ยวกับการค้นหาคู่ที่เหมาะสมระหว่างแรงงานกับนายจ้าง ซึ่งต้องอาศัยทั้งความพยายามและเวลา หากนำเอาแนวคิดนี้มาประยุกต์กับการหาแฟน ลองมาดูกันว่า เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง
cartoon-taxi-7

กำหนด”ค่าแท็กซี่”อย่างไร ไม่ให้ปฏิเสธผู้โดยสาร?

ปัญหาหนึ่งของผู้ใช้บริการแท็กซี่ก็คือ การถูกปฏิเสธจากพี่แท็กซี่”บางคน” แน่นอนว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการควบคุมทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อถึงเวลาที่เรียกแล้ว พี่แท็กซี่ไม่ยอมไป หลายคนก็ไม่รู้จะเอากฎหมายบังคับเขาให้ไปได้อย่างไร ทีนี้ลองมาพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานของเรื่องของแรงจูงใจดูบ้าง ว่าหากจะออกแบบโครงสร้างราคาค่าโดยสารแท็กซี่ให้พี่แท็กซี่เต็มใจไปแล้ว จะทำได้อย่างไร
Cartoon-Monkey-Face

“ความเชื่อ” ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร?

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมความเชื่อแต่โบราณกาลจึงยังอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน การทดลองกับลิงของนักวิทยาศาสตร์จะบอกเราว่า ความเชื่อเหล่านี้มันถูกส่งผ่านต่อๆ กันมาได้อย่างไร ด้วยรูปที่เข้าใจได้ง่าย และทำให้เราคิดได้มากทีเดียว