
Common


ทำไมเราถึงไม่ควร“กลัวผี”?
แนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์กับการวิเคราะห์เรื่องผี ซึ่งดูไม่น่าจะเข้ากันได้ แต่ศาสตราจารย์จาก West Virginia ก็นำมาประยุกต์ได้อย่างน่าสนใจ ที่สำคัญ มันจะทำให้เราฉุกคิดว่า ที่จริงเราไม่ควรต้องกลัวผีเลยด้วยซ้ำไป
กำหนด”ค่าแท็กซี่”อย่างไร ไม่ให้ปฏิเสธผู้โดยสาร?
ปัญหาหนึ่งของผู้ใช้บริการแท็กซี่ก็คือ การถูกปฏิเสธจากพี่แท็กซี่”บางคน” แน่นอนว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการควบคุมทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อถึงเวลาที่เรียกแล้ว พี่แท็กซี่ไม่ยอมไป หลายคนก็ไม่รู้จะเอากฎหมายบังคับเขาให้ไปได้อย่างไร ทีนี้ลองมาพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานของเรื่องของแรงจูงใจดูบ้าง ว่าหากจะออกแบบโครงสร้างราคาค่าโดยสารแท็กซี่ให้พี่แท็กซี่เต็มใจไปแล้ว จะทำได้อย่างไร
“IKEA effect” อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จ?
ทำไมร้านเครื่องเรือนประกอบเองอย่าง IKEA จึงประสบความสำเร็จไปทั่วโลก Dan Ariely และทีมของเขาได้ทำการทดลองเพื่อบอกเราว่า สินค้าที่ราคาถูกกว่า แต่มีมูลค่าในความรู้สึกของผู้บริโภคสูงกว่านั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
“ความเชื่อ” ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร?
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมความเชื่อแต่โบราณกาลจึงยังอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน การทดลองกับลิงของนักวิทยาศาสตร์จะบอกเราว่า ความเชื่อเหล่านี้มันถูกส่งผ่านต่อๆ กันมาได้อย่างไร ด้วยรูปที่เข้าใจได้ง่าย และทำให้เราคิดได้มากทีเดียว
“เปลี่ยนตัวเรา” และ “เปลี่ยนตัวเขา” แล้วความสัมพันธ์จะดีขึ้นไหม?
การคบกันของคนสองคน คงเป็นไปได้ยากมากที่จะเข้ากันได้ทั้งหมด 100% บางคู่ก็เข้ากันได้มาก บางคู่ก็น้อย เมื่อบางส่วนที่เข้ากันได้ไม่ทั้งหมด ก็มีทางเลือกสองทาง คือ เปลี่ยนตัวเรา หรือ เปลี่ยนตัวเขา บทความวิชาการชิ้นนี้จะบอกเราว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนในทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร
“ระยะทาง” มีผลต่อความรักหรือไม่?
“แม้ตัวจะห่างไกล แต่หัวใจไม่ห่างกัน” เป็นประโยคทองของกุศโลบายให้กำลังใจคนที่กำลังจะต้องห่างกัน หรืออาจจะกำลังห่างกันอยู่ แต่เคยสงสัยในข้อมูลทางวิชาการกันไหมว่า เอาเข้าจริงแล้ว ระยะทางมีผลหรือไม่กับความสัมพันธ์ของการเป็นคนรักกัน
“โอกาส” หรือ “ความชอบ” อะไรมีบทบาทมากกว่ากันในการมีใครสักคน?
เวลาที่เราเห็นคนสองคนเป็นแฟนกัน เคยสงสัยไหมว่า เขาคบอยู่กับคนที่ตรงสเป็คตามที่อยากมีตั้งแต่แรก หรือเขาได้มาคบกันเพราะโอกาสที่พบเจอจนถูกใจกัน งานวิจัยของ Belot and Francesconi จะแสดงให้เห็นความไม่สมดุลของอุปสงค์(หรือความต้องการ)และอุปทาน(ความมีอยู่จริง)ของเรื่องนี้
คนเรารู้สึก“เสียใจ”กับเรื่องอะไรบ้าง ก่อนเสียชีวิต?
[เสด-ถะ-สาด].com ขอเสนอบทความจากประสบการณ์ของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยในช่วงไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายก่อนเสียชีวิต ว่าพวกเขาเหล่านั้นนึกเสียใจกับเรื่องอะไรที่ผ่านมาของชีวิตบ้าง และบทเรียนของพวกเขาเหล่านี้ จะทำให้เรารักและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของเราให้ดีขึ้น
คาถาครองรัก (ฉบับเศรษฐศาสตร์)
หนังสือชื่อ Spousonomics ได้นำเอาหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ของการใช้ชีวิตคู่ โดย [เสด-ถะ-สาด].com ได้ทำการสรุปและปรับปรุง(เพื่อให้เนื้อหาเหมาะสมกับสังคมไทย)มาเป็น “คาถาครองรัก (ฉบับเศรษฐศาสตร์)” ๑๐ ประการ ไว้ท่องจำให้ขึ้นใจ จะได้ดูแลความรักเอาไว้ได้นานๆ นะครับ
“ดอกกุหลาบ” สำคัญแค่ไหนในการจีบกัน?
การให้ของขวัญนับเป็นการส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ได้ว่า เรารู้ใจเขา หรือเขาเป็นคนพิเศษของเรา แล้วเราควรจะเลือกของขวัญอย่างไร จึงจะเพิ่มโอกาสที่จะจีบสาว(หนุ่ม)ติดกัน แล้วราคาล่ะ สำคัญหรือไม่ บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ให้เรา
“ความรักอันแสนโรแมนติค” หน้าตาเป็นอย่างไร?
บทความนี้ได้พยายามให้คำนิยามกับความรักอันแสนโรแมนติค และพยายามสร้างดัชนีชี้วัดความรักอันแสนโรแมนติคนั้นขึ้น และเมื่อได้ดัชนีชี้วัดแล้วก็นำไปทดสอบกันในห้องแล็ป ซึ่งผลการทดลองจะมาบอกให้เรารู้ว่า ความรักอันแสนโรแมนติคนั้นมีอยู่จริง และสังเกตกันได้ไม่ยากด้วยสิ
โอกาสเจอ “ใครสักคนที่ใช่” เป็นเท่าไหร่กัน?
Backus ได้ทำการประยุกต์สมการที่ใช้ประเมินจำนวนดวงดาวที่มีโอกาสจะติดต่อกับมนุษย์ได้ มาคำนวณหาโอกาสที่ชีวิตของเราจะได้เจอใครสักคนที่ใช่ แบบที่สามารถสื่อสารกับเราได้พอดี (Perfect Match) และโอกาสที่เราจะได้คบกันกับคนๆ ด้วย แต่สุดท้ายค่าที่ได้ก็ช่างน้อยเสียเหลือเกิน
ทำไมคนจน(บางกลุ่ม)ถึง “ต่อต้าน” การกระจายรายได้ใหม่?
คนจำนวนมากเชื่อว่า คนที่ต่อต้านการกระจายรายได้ใหม่อันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกัน คงเป็นแค่คนรวยเท่านั้น เพราะจะทำให้พวกเขาเสียประโยชน์ และคนที่สนับสนุนก็คงจะเป็นคนจน แต่งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นหนึ่งจะให้คำตอบในอีกบางส่วนที่ขาดหายไปว่าอาจไม่ใช่แค่นั้น และมันก็น่าสนใจมากทีเดียว