
Blog


พึ่งพากันและกัน?
เรื่องขำขันอีกเรื่องที่จะทำให้อมยิ้ม เกี่ยวกับนักบริหารกับนักเศรษฐศาสตร์ที่ดึงเอาวิธีคิดและมุมมองของแต่ละอาชีพมาล้อเลียนได้อย่างสนุกสนาน
“คนบนโลก” รู้จักกันได้ผ่านคนกี่คน?
Six degree of separation เคยบอกเราว่า คนบนโลกใบนี้ห่างกันเพียง 6 คนเท่านั้น แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดบอกเราว่ามันลดลงมาก ด้วยการใช้ facebook ลองมาดูกันว่าเราห่างกันเท่าไหร่ และอะไรที่สามารถทำให้เราใกล้กันไปยิ่งกว่านั้นได้อีก
“ก่อนตาย”…เราเห็นอะไร?
คำพูดสุดท้ายของ Steve Jobs ก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจก็คือ “Oh wow. Oh wow. Oh wow.” เขาเห็นอะไรจึงอุทานออกมาเช่นนั้น และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ [เสด-ถะ-สาด].com สนใจ “ประสบการณ์เฉียดตาย” (Near Death Experiences) ว่า คนเราเห็นอะไรกันก่อนจะตาย?
“100 ปี American Economic Review” กับ 20 บทความที่ดีที่สุด!!!
เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีของวารสารวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งของโลก American Economic Review จึงได้มีการนำเสนอถึง 20 บทความที่ดีที่สุดจากบทความจำนวนมากที่เคยถูกตีพิมพ์ ต่อไปนี้คือรายชื่อและ link สำหรับการดาวน์โหลดบทความทั้งหมด
“เวลาปวดฉี่สุดๆ” การรับรู้ของเราเปลี่ยนไปอย่างไร?
เมื่อไม่นานมานี้มีการมอบรางวัล ig-Nobel ให้กับหัวข้อตามชื่อเรื่องของบทความชิ้นนี้ และเนื่องจากหัวข้อนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก [เสด-ถะ-สาด].com ขอนำมาสรุปให้ได้อ่านกันว่า เวลาที่เราปวดฉี่สุดๆ มันกระทบอย่างไรกับกระบวนการรับรู้ของเรา
ภัยพิบัติของสังคม…ฤาจะเป็นลาภลอยของรัฐบาล?
สถานการณ์น้ำท่วมทำให้เราได้เห็นการร่วมแรงร่วมใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว งบประมาณ(โดยชอบธรรม)อันมหาศาลของรัฐบาลจะตามมา ภัยพิบัติของสังคมจึงเปรียบเสมือนลาภลอยก้อนใหญ่ และอาจส่งผลต่อการคอรัปชั่นที่จะตามมา
บริหารจัดการ “ทรัพยากรร่วม” อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ? — รางวัลโนเบลว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๒ (จบ)
การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๒ นี้จะมาดูกันว่า ทางเลือกไม่ใช่โดยรัฐหรือเอกชน ซึ่งก็คือโดยชุมชน ที่ Ostrom เสนอมานั้น จำเป็นต้องมีกติกาอะไรบ้างจึงจะทำให้กบริหารจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ทำไมการบริหารจัดการ “ทรัพยากรร่วม” จึงล้มเหลว? — รางวัลโนเบลว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๑
Elinor Ostrom เจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2009 เรื่อง “การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม” (Common-pool Resources) ได้บอกให้เรารู้ว่า ที่ผ่านมา ทำไมสังคมส่วนใหญ่จึงล้มเหลวในการดูแลทรัพยากรของตน
เราควร “เห็นใจ” คนฉวยโอกาสหรือไม่?
สถานการณ์ภัยพิบัติจากเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้มีผู้สูญเสียเป็นจำนวนมาก ในด้านดีก็ทำให้เห็นความสามัคคีของคนไทยด้วยกันในยามเกิดวิกฤต แต่ก็ไม่วายที่จะมีคนไม่ดีที่คอยฉกฉวยโอกาส แล้วเราควรเห็นใจคนเหล่านี้หรือไม่ในเวลาสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้
ว่าด้วย “ภัยพิบัติ” ตอนที่ ๒ — ภัยพิบัติมีผลต่อเศรษฐกิจแค่ไหน?
ภัยพิบัตินับเป็นหายนะของสังคม ทำลายทั้งชีวิต และทรัพย์สินของทุกคนในสังคม แน่นอนว่าในระยะสั้น มันทำลายเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่ในระยะยาวแล้ว มันกลับส่งผลให้ภาคบางเศรษฐกิจบางส่วนขยายตัว ซึ่งแท้จริง มันเกิดผลอย่างไรกันแน่
ว่าด้วย “ภัยพิบัติ” ตอนที่ ๑ — ภูมิภาคไหนโดนภัยพิบัติกันบ้าง?
เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของประเทศไทย มาลองดูกันว่าประเทศไหนในโลกบ้างที่ประสบกับภัยพิบัติต่างๆ เหล่านี้ และผลกระทบที่เกิดกับในแต่ละพื้นที่ เมื่อพิจารณาจากหลายๆ ด้านมีมากน้อยแค่ไหนกัน
“คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” … จริงหรือ?
คำพูดที่ว่า “คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น” เป็นคำพูดที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังของคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งด้านดีและร้าย ขึ้นอยู่กับว่าคาดหวังอะไร ลองมาพิจารณาดูกันว่า ในมิติทางจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์ ข้อความนี้จะเป็นจริงได้หรือไม่
“ภาษีน้ำท่วม” คืออะไร?
สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันของประเทศไทยเข้าขั้นวิกฤตมากในรอบหลายปี จึงมีการยกประเด็นเรื่องภาษีน้ำท่วมขึ้นมาพูดกัน ลองมาทำความรู้จักกันว่าภาษีน้ำท่วมคืออะไร และประเทศที่เขาประกาศใช้มีหลักการอย่างไรกัน