
General Economics


“ความคิดดีดี” มาจากไหน?
เรื่องราวเบาๆ ที่ถูกเรียกว่าเป็น “กรณีศึกษาอันยอดเยี่ยม” โดย Steven Johnson ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Where good ideas come from? ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมที่สุดเล่มหนึ่งของโลก นี่คือเรื่องราวความเป็นมาที่น่าทึ่งของนวัตกรรมอันหนึ่ง และมันก็เกิดขึ้นได้ในทางที่เหลือเชื่อเสียด้วย
“1 นาทีของเรา ไม่เท่ากัน”…จริงหรือ?
บางครั้ง มีคนมักจะบอกเราว่า คนเรามีเวลาเท่าๆ กัน ไม่มีใครมีมากน้อยไปกว่ากัน แต่หลายครั้ง 1 นาทีของแต่ละคนในแต่ละสถานการณ์ก็มีค่าไม่เท่ากัน เศรษฐศาสตร์จะช่วยให้เราตระหนักในเรื่องการจัดสรรเวลาให้กับสังคมให้ดีขึ้นได้
เข้าใจระบบการปกครองด้วยวัวสองตัว!!!
เรื่องราวเกี่ยวกับวัวสองตัวที่อธิบายรูปแบบความแตกต่างของการปกครองได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย เปรียบเทียบได้เห็นภาพจนต้องอมยิ้มกันเลยทีเดียว ^^
“ดูหมอ” เป็นสินค้าประเภทไหนกันแน่?
ดูหมอเป็นบริการประเภทหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ในด้านหนึ่งก็เกี่ยวพันกับสถิติศาสตร์ ในอีกด้านหนึ่งก็คล้ายจิตแพทย์ แต่แท้จริงแล้วบริการดูหมอเป็นสินค้าแบบไหนกันในทางเศรษฐศาสตร์ เราจ่ายกันเท่าไหร่ และรายได้สูงขึ้น เขาจะจ่ายค่าดูหมอเพิ่มขึ้นไหม บทความนี้มีคำตอบ
จะวัด GDP จากนอกโลกได้อย่างไร?
ปัญหาของคุณภาพการวัดมูลค่า GDP นั้นยังมีอยู่ให้เห็นในหลายประเทศ รวมทั้งยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่แม่นยำได้ในระดับเมือง การวัด GDP จากนอกโลก (Outer Space) ที่ถูกนำเสนอนี้ อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ให้ประโยชน์กับโลกของเราก็เป็นได้
พึ่งพากันและกัน?
เรื่องขำขันอีกเรื่องที่จะทำให้อมยิ้ม เกี่ยวกับนักบริหารกับนักเศรษฐศาสตร์ที่ดึงเอาวิธีคิดและมุมมองของแต่ละอาชีพมาล้อเลียนได้อย่างสนุกสนาน
“คนบนโลก” รู้จักกันได้ผ่านคนกี่คน?
Six degree of separation เคยบอกเราว่า คนบนโลกใบนี้ห่างกันเพียง 6 คนเท่านั้น แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดบอกเราว่ามันลดลงมาก ด้วยการใช้ facebook ลองมาดูกันว่าเราห่างกันเท่าไหร่ และอะไรที่สามารถทำให้เราใกล้กันไปยิ่งกว่านั้นได้อีก
“100 ปี American Economic Review” กับ 20 บทความที่ดีที่สุด!!!
เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีของวารสารวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งของโลก American Economic Review จึงได้มีการนำเสนอถึง 20 บทความที่ดีที่สุดจากบทความจำนวนมากที่เคยถูกตีพิมพ์ ต่อไปนี้คือรายชื่อและ link สำหรับการดาวน์โหลดบทความทั้งหมด
บริหารจัดการ “ทรัพยากรร่วม” อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ? — รางวัลโนเบลว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๒ (จบ)
การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๒ นี้จะมาดูกันว่า ทางเลือกไม่ใช่โดยรัฐหรือเอกชน ซึ่งก็คือโดยชุมชน ที่ Ostrom เสนอมานั้น จำเป็นต้องมีกติกาอะไรบ้างจึงจะทำให้กบริหารจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ทำไมการบริหารจัดการ “ทรัพยากรร่วม” จึงล้มเหลว? — รางวัลโนเบลว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม ตอนที่ ๑
Elinor Ostrom เจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2009 เรื่อง “การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม” (Common-pool Resources) ได้บอกให้เรารู้ว่า ที่ผ่านมา ทำไมสังคมส่วนใหญ่จึงล้มเหลวในการดูแลทรัพยากรของตน
เราควร “เห็นใจ” คนฉวยโอกาสหรือไม่?
สถานการณ์ภัยพิบัติจากเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้มีผู้สูญเสียเป็นจำนวนมาก ในด้านดีก็ทำให้เห็นความสามัคคีของคนไทยด้วยกันในยามเกิดวิกฤต แต่ก็ไม่วายที่จะมีคนไม่ดีที่คอยฉกฉวยโอกาส แล้วเราควรเห็นใจคนเหล่านี้หรือไม่ในเวลาสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้
ว่าด้วย “ภัยพิบัติ” ตอนที่ ๒ — ภัยพิบัติมีผลต่อเศรษฐกิจแค่ไหน?
ภัยพิบัตินับเป็นหายนะของสังคม ทำลายทั้งชีวิต และทรัพย์สินของทุกคนในสังคม แน่นอนว่าในระยะสั้น มันทำลายเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่ในระยะยาวแล้ว มันกลับส่งผลให้ภาคบางเศรษฐกิจบางส่วนขยายตัว ซึ่งแท้จริง มันเกิดผลอย่างไรกันแน่
ว่าด้วย “ภัยพิบัติ” ตอนที่ ๑ — ภูมิภาคไหนโดนภัยพิบัติกันบ้าง?
เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของประเทศไทย มาลองดูกันว่าประเทศไหนในโลกบ้างที่ประสบกับภัยพิบัติต่างๆ เหล่านี้ และผลกระทบที่เกิดกับในแต่ละพื้นที่ เมื่อพิจารณาจากหลายๆ ด้านมีมากน้อยแค่ไหนกัน