Mario-Kart

”โทรแล้วขับ” กับ Mario Kart เพิ่มอุบัติเหตุเท่าไหร่กัน?

ผลของการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวัดออกมา Gunter (2014) ทำการทดลองทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่ายแต่น่าสนใจกับเกม Mario Kart เพื่อดูว่าผลดังกล่าวมีมากน้อยเพียงใดกัน
amnesty

“นิรโทษกรรม”ส่งเสริมความปรองดองหรือไม่?

จุดเริ่มต้นคือรัฐบาลต้องการความปรองดองให้กับคนในสังคม แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ถูกเสนอคือกฎหมายนิรโทษกรรมในลักษณะ set zero ซึ่งบทความวิชาการชี้ว่าไม่ว่าจะเป็น set zero ในรูปแบบใดก็ตาม นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดความปรองดองแล้ว ยังส่งผลลบต่อความร่วมมือของคนในสังคมเข้าไปอีกในระยะยาว
happy-new-year-clip-art-02

ข้อควรระวัง(ทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม)ในการ“เลือกซื้อของขวัญ”

การให้ของขวัญก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจจำนวนหนึ่ง เพราะมูลค่าของขวัญในสายตาผู้รับนั้นมักจะต่ำกว่าราคาของขวัญที่ผู้ให้จ่ายเงินซื้อ ทีนี้ลองมาดูกันว่าถ้าเราจะเลือกซื้อของขวัญโดยให้มูลค่าดังกล่าวมีความใกล้เคียงกันมากที่สุด นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจะแนะนำให้เราต้องระวังอะไรบ้าง
bnb

ทำไม“ผู้หญิงสวย”จึงมักลงเอยกับ“ผู้ชายไม่หล่อ”?

ความเป็นจริงของชีวิตที่เราพบเห็นกันทั่วไปที่ผู้หญิงสวยมักลงเอยกับผู้ชายไม่หล่อ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้สามารถอธิบายได้ในทางเศรษฐศาสตร์ และมันยังทำให้เรารู้ว่า หากเราอยากมีความสุขในการแต่งงาน เราควรหาคู่ครองที่มีหน้าตาระดับไหนเมื่อเทียบกับตัวเราเอง
parking area sign

กฎหมายจะควบคุม”วัฒนธรรมคอรัปชั่น”ได้หรือไม่?

คอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของสังคมด้วย ไม่ว่ากฎหมายจะเข้มแข็งแค่ไหนจึงไม่อาจกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยง่าย บทความนี้อาศัยการจอดรถผิดกฎหมายของนักการฑูตในนิวยอร์คมาทำให้รู้ว่า กฎหมายที่เข้มแข็ง แม้จะไม่ 100% แต่ก็ลดคอรัปชั่นได้มากอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
habit

ใช้เวลานานแค่ไหนในการ “เปลี่ยนนิสัย” ตัวเอง?

การเปลี่ยนนิสัยตัวเราเองเป็นเรื่องยากมาก หลายคนคงเคยพยายามและล้มเลิกไปหลายครั้ง สาเหตุหนึ่งก็เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงเป้าหมาย บทความนี้จะพอบอกเราได้ว่า นานแค่ไหนที่เราต้องเพียรพยายามเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ล้มเลิกกลางคัน
ikea

“IKEA effect” อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จ?

ทำไมร้านเครื่องเรือนประกอบเองอย่าง IKEA จึงประสบความสำเร็จไปทั่วโลก Dan Ariely และทีมของเขาได้ทำการทดลองเพื่อบอกเราว่า สินค้าที่ราคาถูกกว่า แต่มีมูลค่าในความรู้สึกของผู้บริโภคสูงกว่านั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
Cartoon-Monkey-Face

“ความเชื่อ” ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร?

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมความเชื่อแต่โบราณกาลจึงยังอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน การทดลองกับลิงของนักวิทยาศาสตร์จะบอกเราว่า ความเชื่อเหล่านี้มันถูกส่งผ่านต่อๆ กันมาได้อย่างไร ด้วยรูปที่เข้าใจได้ง่าย และทำให้เราคิดได้มากทีเดียว
angry-couple-silhouette1

“เปลี่ยนตัวเรา” และ “เปลี่ยนตัวเขา” แล้วความสัมพันธ์จะดีขึ้นไหม?

การคบกันของคนสองคน คงเป็นไปได้ยากมากที่จะเข้ากันได้ทั้งหมด 100% บางคู่ก็เข้ากันได้มาก บางคู่ก็น้อย เมื่อบางส่วนที่เข้ากันได้ไม่ทั้งหมด ก็มีทางเลือกสองทาง คือ เปลี่ยนตัวเรา หรือ เปลี่ยนตัวเขา บทความวิชาการชิ้นนี้จะบอกเราว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนในทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร
6395630645_06acd033cb_b

“ระยะทาง” มีผลต่อความรักหรือไม่?

“แม้ตัวจะห่างไกล แต่หัวใจไม่ห่างกัน” เป็นประโยคทองของกุศโลบายให้กำลังใจคนที่กำลังจะต้องห่างกัน หรืออาจจะกำลังห่างกันอยู่ แต่เคยสงสัยในข้อมูลทางวิชาการกันไหมว่า เอาเข้าจริงแล้ว ระยะทางมีผลหรือไม่กับความสัมพันธ์ของการเป็นคนรักกัน
Endless love

“โอกาส” หรือ “ความชอบ” อะไรมีบทบาทมากกว่ากันในการมีใครสักคน?

เวลาที่เราเห็นคนสองคนเป็นแฟนกัน เคยสงสัยไหมว่า เขาคบอยู่กับคนที่ตรงสเป็คตามที่อยากมีตั้งแต่แรก หรือเขาได้มาคบกันเพราะโอกาสที่พบเจอจนถูกใจกัน งานวิจัยของ Belot and Francesconi จะแสดงให้เห็นความไม่สมดุลของอุปสงค์(หรือความต้องการ)และอุปทาน(ความมีอยู่จริง)ของเรื่องนี้
2281644335_cf8a14e08d_z

“ดอกกุหลาบ” สำคัญแค่ไหนในการจีบกัน?

การให้ของขวัญนับเป็นการส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ได้ว่า เรารู้ใจเขา หรือเขาเป็นคนพิเศษของเรา แล้วเราควรจะเลือกของขวัญอย่างไร จึงจะเพิ่มโอกาสที่จะจีบสาว(หนุ่ม)ติดกัน แล้วราคาล่ะ สำคัญหรือไม่ บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ให้เรา
2966364594_72b981b8f7_z

“ความรักอันแสนโรแมนติค” หน้าตาเป็นอย่างไร?

บทความนี้ได้พยายามให้คำนิยามกับความรักอันแสนโรแมนติค และพยายามสร้างดัชนีชี้วัดความรักอันแสนโรแมนติคนั้นขึ้น และเมื่อได้ดัชนีชี้วัดแล้วก็นำไปทดสอบกันในห้องแล็ป ซึ่งผลการทดลองจะมาบอกให้เรารู้ว่า ความรักอันแสนโรแมนติคนั้นมีอยู่จริง และสังเกตกันได้ไม่ยากด้วยสิ
Occupy-Wall-St-ALAN-test

ทำไมคนจน(บางกลุ่ม)ถึง “ต่อต้าน” การกระจายรายได้ใหม่?

คนจำนวนมากเชื่อว่า คนที่ต่อต้านการกระจายรายได้ใหม่อันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกัน คงเป็นแค่คนรวยเท่านั้น เพราะจะทำให้พวกเขาเสียประโยชน์ และคนที่สนับสนุนก็คงจะเป็นคนจน แต่งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นหนึ่งจะให้คำตอบในอีกบางส่วนที่ขาดหายไปว่าอาจไม่ใช่แค่นั้น และมันก็น่าสนใจมากทีเดียว
__Yakuza_tattoo____by_Milwa_cz

ทำไมต้อง “กร่าง”?

การแสดงความไม่สุภาพหรือหยาบคายในที่สาธารณะนั้น อาจทำให้หลายคนที่พบเห็นรู้สึกว่าน่ารังเกียจ แต่ในขณะเดียวกัน การกระทำเหล่านั้นก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอำนาจในสายตาของผู้พบเห็นเช่นกัน งานศึกษาชิ้นหนึ่งช่วยยืนยันเรื่องนี้ และทำให้เราเข้าใจว่า เรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องของแค่คนบางคนเท่านั้น