
Classical Econometrics


ทำไม “เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” จึงเพิ่มขึ้น?
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ผลการวิจัยจำนวนหนึ่งมักจะอ้างถึงพฤติกรรมหรือนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่นยุคใหม่ แต่ถ้าสมมติว่าพวกเขามีความมีเหตุมีผลไม่ได้เปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนๆ แล้วอะไรคือเหตุผลทางที่ทำให้พฤติกรรมของพวกเขาเปลี่ยนไป เศรษฐศาสตร์จะช่วยตอบเราเรื่องนี้
จะอธิบาย “โลกาภิวัตน์” ด้วย “ฟุตบอล” ได้อย่างไร?
ฟุตบอลในฐานะกีฬาของมวลมนุษยชาติ ถือเป็นกีฬาที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์มาก เมื่อลองวิเคราะห์ผลของโลกาภิวัตน์ โดยใช้วงการฟุตบอล ในประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำที่มีการถกเถียงกันอยู่ เราก็จะได้เห็นมิติบางด้านที่น่าสนใจ
โอกาสชนะของ “ฟุตบอลทีมชาติ” ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
หากมองการซื้อขายตัวนักเตะตามราคาตลาดเป็นมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า (Export-Import) แล้วมองอันดับของทีมชาติตามการจัดของ FIFA เป็นผลประกอบการของประเทศ เช่นนี้แล้วการซื้อขายตัวนักเตะจะทำให้ประเทศนั้นๆ เกิดผลได้ทางการค้า (Gain from Trade) หรือไม่
จะเป็น “นักวิชาการที่ทรงอิทธิพล” ได้อย่างไร?
การเป็นนักวิชาการที่ทรงอิทธิพลนั้นเกิดจากการตีพิมพ์เอกสารในวารสารวิชาการให้มีผู้อ้างอิงมากเข้าไว้ เพราะเท่ากับได้รับการยอมรับจากนักวิชาการคนอื่นจำนวนมาก แต่เคยคิดไหมว่า หากมีจำนวนการอ้างอิงที่เท่ากัน การตีพิมพ์ในเอกสารน้อยชิ้นแต่ถูกอ้างอิงมากๆ กับการตีพิมพ์เอกสารมากชิ้น แต่ถูกอ้างอิงน้อย เหมือนกันหรือไม่
ประชาธิปไตยเป็น“สินค้าปกติ”หรือไม่?
เราเชื่อกันว่าเมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูงขึ้น ความเป็นประชาธิปไตยก็จะสูงขึ้นตามมา ความเชื่อนี้ไม่ได้ผิด เพียงแต่ประเทศที่ว่านั้น ต้องเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่หากว่าประเทศนั้นๆ ยังไม่เป็นประชาธปไตยล่ะ เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูงขึ้น แล้วระดับประชาธิปไตยจะสูงขึ้นจริงหรือ
“ไก่ กับ ไข่” อะไร(น่าจะ)เกิดก่อนกัน?
คำถามโลกแตกที่ถามกันมาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะยังหาคำตอบที่แน่ชัดไม่ได้ แต่แนวคิดของ Granger นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2003 จะให้แนวทางในการหาคำตอบกับเรา ถึงวิธีพิจารณาว่าไก่กับไข่ อะไร(น่าจะ)เกิดก่อนกัน
ทำไมต้อง“ล่าแม่มด”?
การล่าแม่มดเป็นพิธีกรรมหนึ่งของยุโรปในสมัยก่อน เชื่อไหมว่าตอนนี้พิธีกรรมนี้ยังดำรงอยู่ในอีกหลายพื้นที่ของแอฟริกา บทความของ Edward Miguel จะช่วยให้เรารู้ว่า อะไรคือเหตุผลและความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่เบื้องหลังของพิธีกรรมนี้
“เปลี่ยนตัวเรา” และ “เปลี่ยนตัวเขา” แล้วความสัมพันธ์จะดีขึ้นไหม?
การคบกันของคนสองคน คงเป็นไปได้ยากมากที่จะเข้ากันได้ทั้งหมด 100% บางคู่ก็เข้ากันได้มาก บางคู่ก็น้อย เมื่อบางส่วนที่เข้ากันได้ไม่ทั้งหมด ก็มีทางเลือกสองทาง คือ เปลี่ยนตัวเรา หรือ เปลี่ยนตัวเขา บทความวิชาการชิ้นนี้จะบอกเราว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนในทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร
“ระยะทาง” มีผลต่อความรักหรือไม่?
“แม้ตัวจะห่างไกล แต่หัวใจไม่ห่างกัน” เป็นประโยคทองของกุศโลบายให้กำลังใจคนที่กำลังจะต้องห่างกัน หรืออาจจะกำลังห่างกันอยู่ แต่เคยสงสัยในข้อมูลทางวิชาการกันไหมว่า เอาเข้าจริงแล้ว ระยะทางมีผลหรือไม่กับความสัมพันธ์ของการเป็นคนรักกัน
“ดอกกุหลาบ” สำคัญแค่ไหนในการจีบกัน?
การให้ของขวัญนับเป็นการส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ได้ว่า เรารู้ใจเขา หรือเขาเป็นคนพิเศษของเรา แล้วเราควรจะเลือกของขวัญอย่างไร จึงจะเพิ่มโอกาสที่จะจีบสาว(หนุ่ม)ติดกัน แล้วราคาล่ะ สำคัญหรือไม่ บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ให้เรา
“ความรักอันแสนโรแมนติค” หน้าตาเป็นอย่างไร?
บทความนี้ได้พยายามให้คำนิยามกับความรักอันแสนโรแมนติค และพยายามสร้างดัชนีชี้วัดความรักอันแสนโรแมนติคนั้นขึ้น และเมื่อได้ดัชนีชี้วัดแล้วก็นำไปทดสอบกันในห้องแล็ป ซึ่งผลการทดลองจะมาบอกให้เรารู้ว่า ความรักอันแสนโรแมนติคนั้นมีอยู่จริง และสังเกตกันได้ไม่ยากด้วยสิ
“ความยาวของน้องชาย” สัมพันธ์กับ GDP อย่างไร?
การเติบโตทางเศรษฐกิจถือเป็นตัวเลขที่คนในทุกสังคมให้ความสนใจ ในอีกด้านหนึ่ง “ความยาวของน้องชาย” ก็เป็นตัวเลขที่คงมีคนสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน แต่เชื่อหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วตัวเลขสองตัวนี้มีความสัมพันธ์กัน
“เสน่หา” มีผลต่อรายได้แค่ไหนกัน? (ตอนที่ ๒ – คนแสนดี)
“เสน่หา” เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของคนส่วนใหญ่ เพราะจะทำให้เราเป็นที่สนใจ ในบทความตอนที่ ๒ นี้เกี่ยวข้องกับ “ความเป็นคนแสนดี” ที่หลายคนพยายามจะเป็นเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคนรอบตัว บทความวิชาการจะบอกว่ามันมีผลอย่างไรกับรายได้ของเรา