
Features


กฎหมายจะควบคุม”วัฒนธรรมคอรัปชั่น”ได้หรือไม่?
คอรัปชั่นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของสังคมด้วย ไม่ว่ากฎหมายจะเข้มแข็งแค่ไหนจึงไม่อาจกำจัดให้หมดสิ้นไปได้โดยง่าย บทความนี้อาศัยการจอดรถผิดกฎหมายของนักการฑูตในนิวยอร์คมาทำให้รู้ว่า กฎหมายที่เข้มแข็ง แม้จะไม่ 100% แต่ก็ลดคอรัปชั่นได้มากอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
เรามี“เพื่อน”ได้มากที่สุด…กี่คน?
Dunbar’s Number คือตัวเลขจำนวนเพื่อนที่สมองส่วนหน้าของมนุษย์จะสามารถจำรายละเอียดได้ ซึ่งก็คือ 150 คน และก็เป็นตัวเลขเดียวกับจำนวนคนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มในประวัติศาสตร์ ซึ่งมาจากผลได้และต้นทุนของการรวมกลุ่ม บทความนี้จะชี้ให้เห็นมิติที่สอดคล้องกันดังกล่าว
ใช้เวลานานแค่ไหนในการ “เปลี่ยนนิสัย” ตัวเอง?
การเปลี่ยนนิสัยตัวเราเองเป็นเรื่องยากมาก หลายคนคงเคยพยายามและล้มเลิกไปหลายครั้ง สาเหตุหนึ่งก็เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงเป้าหมาย บทความนี้จะพอบอกเราได้ว่า นานแค่ไหนที่เราต้องเพียรพยายามเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ล้มเลิกกลางคัน
เค้า “เล่นแชร์” กันยังไง?
การเล่นแชร์นั้นไม่ได้ผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แถมยังมีรูปแบบไม่ยากนักในการความเข้าใจ บทความนี้จะอธิบายวิธีการเล่นพร้อมวิธีคำนวณต่างๆ รวมทั้งมีไฟล์ EXCEL ให้ลองเล่น นอกจากนี้ การเล่นแชร์ยังสะท้อนอัตราดอกเบี้ยแบบชาวบ้านและความไว้เนื้อเชื่อใจของคนในสังคมด้วย
เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของ “นิสิตนักศึกษา” อย่างไร?
เนื่องจากนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยเพิ่งอยู่ในช่วงเปิดภาคเรียน [เสด-ถะ-สาด].com จึงขอให้กำลังใจนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจเองหรือเลือกไม่ได้ แต่สุดท้ายต้องเข้ามาเรียนเศรษฐศาสตร์ทุกคน ด้วยการนำเอาเรื่องราวสนุกๆ เกี่ยวกับวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายวิถีชีวิตประจำวันของความเป็นนิสิตนักศึกษา
“มือที่สาม”เข้ามาแทรกได้อย่างไร?
ในปัจจุบัน หันไปมองทางไหน ทุกคนก็มีแฟนหมดแล้ว โดยเฉพาะถึงขั้นพูดกันว่าคนดีดีก็คงมีแฟนกันหมดแล้ว แต่เชื่อไหมว่าต่อให้เขาคนนั้นมีแฟนแล้ว แต่เหตุการณ์มือที่สามก็ไม่วายมีโอกาสเกิดขึ้นได้ บทความนี้มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ว่า ทำไมรักสามเส้าจึงเกิดขึ้น และเราจะไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
“ข้อคิด ๑๐ ประการของการมีแฟน” โดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล
ปี 2010 รางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ถูกมอบให้กับ DMP Model เกี่ยวกับการค้นหาคู่ที่เหมาะสมระหว่างแรงงานกับนายจ้าง ซึ่งต้องอาศัยทั้งความพยายามและเวลา หากนำเอาแนวคิดนี้มาประยุกต์กับการหาแฟน ลองมาดูกันว่า เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง
“ไก่ กับ ไข่” อะไร(น่าจะ)เกิดก่อนกัน?
คำถามโลกแตกที่ถามกันมาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะยังหาคำตอบที่แน่ชัดไม่ได้ แต่แนวคิดของ Granger นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2003 จะให้แนวทางในการหาคำตอบกับเรา ถึงวิธีพิจารณาว่าไก่กับไข่ อะไร(น่าจะ)เกิดก่อนกัน
ทำไมเราถึงไม่ควร“กลัวผี”?
แนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์กับการวิเคราะห์เรื่องผี ซึ่งดูไม่น่าจะเข้ากันได้ แต่ศาสตราจารย์จาก West Virginia ก็นำมาประยุกต์ได้อย่างน่าสนใจ ที่สำคัญ มันจะทำให้เราฉุกคิดว่า ที่จริงเราไม่ควรต้องกลัวผีเลยด้วยซ้ำไป
จะปฏิรูปการศึกษาไทย“ในระยะสั้น”อย่างไรดี? — บางส่วนจากข้อเสนอของ TDRI
กระแสการสอบ O-NET ทำให้เราตระหนักถึงคุณภาพของการศึกษาไทยที่ยังถูกพูดถึงวนเวียนในไม่กี่สาเหตุ ขาดแคลนงบประมาณ เงินเดือนครูน้อย โรงเรียนไม่ได้มาตราฐาน แต่ TDRI จะเสนอมุมมองที่ทำให้เราเห็นว่า สิ่งที่ว่ามานั้นไม่ใช่ปัญหา และทางออกของปัญหาการศึกษาไทยควรทำอย่างไร
“IKEA effect” อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จ?
ทำไมร้านเครื่องเรือนประกอบเองอย่าง IKEA จึงประสบความสำเร็จไปทั่วโลก Dan Ariely และทีมของเขาได้ทำการทดลองเพื่อบอกเราว่า สินค้าที่ราคาถูกกว่า แต่มีมูลค่าในความรู้สึกของผู้บริโภคสูงกว่านั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
“ความเชื่อ” ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร?
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมความเชื่อแต่โบราณกาลจึงยังอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน การทดลองกับลิงของนักวิทยาศาสตร์จะบอกเราว่า ความเชื่อเหล่านี้มันถูกส่งผ่านต่อๆ กันมาได้อย่างไร ด้วยรูปที่เข้าใจได้ง่าย และทำให้เราคิดได้มากทีเดียว
“The STAR” Model: อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อตัดสินกันด้วยคะแนนโหวต?
The STAR เป็นรายการ Reality Show ที่มีชื่อเสียงมาก กรรมการผู้ตัดสินจะมีบทบาทแค่รอบแรกๆ จากนั้นจะเป็นการโหวตจากผู้ชมทางบ้านทั้งหมด เคยสงสัยไหมว่า การแข่งขันร้องเพลง (Singing Contest) ที่กลายเป็นการแข่งขันความนิยม (Popularity Contest) แบบนี้ มันจะมีผลอะไรกับสังคมไหม