“สวดมนต์”แค่ไหน พระเจ้าจึงจะเห็นใจ?
การสวดมนต์นับเป็นสิ่งที่ดี แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า แล้วสวดเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด หากต้องการให้พระเจ้าเห็นใจ Heckman (2010) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้คำแนะนำนี้กับเรา เพื่อการสวดมนต์อันเป็นสิริมงคล
……….
[เสด-ถะ-สาด].com ขอนำเสนอบทความของ James Heckman (2010) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เกี่ยวกับการประมาณการทัศนคติของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการสวดมนต์มาเป็นปัจจัยกำหนด เรื่องนี้อ่านแล้วนึกถึงอีกบทความหนึ่งของ Paul Krugman เรื่อง “การค้าระหว่างดวงดาว”จะเกิดได้จริงหรือไม่ในทางเศรษฐศาสตร์? เหมือนกันนะครับ ^^
อย่างไรก็ดี บทความนี้อาจจะสั้นๆ ห้วนๆ ทั้งนี้ก็เพราะ Heckman (2010) เขียนเรื่องนี้ไว้ไม่ถึงหนึ่งหน้าเนื้อหา (ไม่รวมตารางและกราฟ) เพียงแต่ [เสด-ถะ-สาด].com เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าจะนำไปต่อยอดได้ครับ
“ภาพวาดฝาผนังในพิพิธภัณฑ์วาติกันที่แสดงให้เห็นว่าโลกมนุษย์กับสวรรค์ห่างกันแค่เพียงปลายนิ้ว” (ที่มาของภาพ)
Heckman (2010) ใช้ข้อมูลจากการสำรวจของ National Opinion Research Center เกี่ยวกับเรื่องทัศนคติทางด้านศาสนา และใช้วิธีวิเคราะห์ในแบบเดียวกับ Singh (1977) โดยกำหนดให้ Y คือทัศนคติของพระเจ้าที่มีต่อมนุษยชาติ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 X คือความหนาแน่นของจำนวนผู้สวดมนต์เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 เช่นกัน คือฟังก์ชันความหนาแน่นของประชากรผู้สวดมนต์ (Population Density of Prayer) [Heckman (2010) อ้างว่าเอาฟังก์ชันนี้มาจาก Greeley, A. M. (1972). Unsecular man: The persistence of religion. New York: Schocken Books. แต่ [เสด-ถะ-สาด].com ไม่สามารถหาหนังสือเล่มนี้ได้จริงๆ เลยไม่สามารถบอกได้ว่าฟังก์ชันหน้าตาเป็นอย่างไร]
……….
การที่คนจะสวดมนต์มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ดังนั้น ฟังก์ชันความหนาแน่นของการสวดมนต์ย่อมอยู่ที่เงื่อนไขของทัศนคติของพระเจ้าด้วย (Conditional Density of X given Y) แสดงได้ว่า โดย เป็นฟังก์ชันที่ไม่รู้รูปแบบ
อย่างไรก็ดี จะทำให้เราสามารถประมาณค่าสมการทัศนคติของพระเจ้า (Y) ที่เกิดจากความหนาแน่นของการสวดมนต์แต่ละระดับ (X=x) จากฟังก์ชันความหนาแน่นของประชากรผู้สวดมนต์ของ Greeley ซึ้่งมีข้อมูลของฟังก์ชันนี้ว่า คนส่วนใหญ่มีสองจำพวกคือไม่สวดมนต์เลย และสวดมนต์เยอะมากๆ และจากข้อมูลของ Greeley ช่วยให้เราได้ข้อสรุปตามความหนาแน่นของการสวดมนต์ในแต่ละช่วง ดังตารางที่ ๑ และรูปที่ ๑
“ตารางที่ ๑ ผลการประมาณค่าสมการในแต่ละช่วง”
“ภาพที่ ๑ ผลการประมาณค่าสมการในแต่ละช่วง”
……….
ข้อสรุปของเรื่องนี้ก็คือ ถ้าคุณไม่สวดมนต์เลย คุณก็จะได้รับความเห็นใจจากพระเจ้าตามมีตามเกิด (เพียงเล็กน้อยตามหน้าที่ของพระเจ้า) ขณะที่ถ้าคุณสวดมนต์มากก็จะได้รับความเห็นใจจากพระเจ้ามากเช่นกัน ในส่วนของการสวดมนต์เพียงเล็กน้อยนั้น จะไม่ได้รับความเห็นใจจากพระเจ้า และอาจเสียเวลาเปล่าๆ (ผลที่ได้มีค่าเป็นลบ)
อย่างไรก็ดี ข้อสรุปของประเด็นนี้ไม่ได้รับคำอธิบายมากนักจาก Heckman (2010) ว่าทำไมการสวดมนต์น้อยจึงทำให้สถานการณ์แย่กว่าการไม่สวดมนต์เลย ทั้งนี้ก็เพราะ Heckman (2010) ต้องการชี้ให้เห็นคุณูปการของการคำนวณทางสถิติที่เราสามารถประมาณการตัวแปรบางประเภทที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตัวแปรที่มองเห็นได้ เขายังเสนอด้วยว่า เทคนิคนี้สามารถนำไปประมาณการความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับความสุข หรือความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เท่าเทียมกันของรายได้กับคุณภาพของประชาธิปไตยได้ด้วย
ที่มา:
James Heckman, 2010. “The Effect Of Prayer On God’S Attitude Toward Mankind,” Economic Inquiry, Western Economic Association International, vol. 48(1), pages 234-235, 01.
featured image from here