big-banana

“ความยาวของน้องชาย” สัมพันธ์กับ GDP อย่างไร?

การเติบโตทางเศรษฐกิจถือเป็นตัวเลขที่คนในทุกสังคมให้ความสนใจ ในอีกด้านหนึ่ง “ความยาวของน้องชาย” ก็เป็นตัวเลขที่คงมีคนสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน แต่เชื่อหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วตัวเลขสองตัวนี้มีความสัมพันธ์กัน

……….


Westling (2011) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยาวของน้องชาย ระหว่างปี 1960 ถึง 1985 ของ 98 ประเทศที่ไม่รวมประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (เพราะอาจทำให้ GDP สูงกว่าที่ควรจะเป็น) ด้วยแบบจำลองการเติบโตทางเศรษฐกิจประยุกต์ของ Solow (Augmented Solow growth model)

ตารางที่ ๑ แสดงตัวแปรที่ถูกนำมาคำนวณในสมการ ประกอบด้วย GDP สัดส่วนการลงทุนต่อรายได้ (I/Y) สัดส่วนของประชากรวัยทำงานที่อยู่ในระดับมัธยม (SCHOOL) ความยาวของน้องชาย (ORGAN) ระดับการพัฒนาประชาธิปไตย (POLITY1980) [ความยาวของน้องชายเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 10.16 ซม. และดู สถิติของแต่ละตัวแปร รวมถึงความยาวของน้องชาย ของแต่ละประเทศ ได้ที่ตารางด้านล่างสุด]

“ตารางที่ ๑ ค่าสถิติเชิงพรรณนาของตัวแปร”


ตารางที่ ๒ แสดงค่าสัมประสิทธิ์ของผลการประมาณค่าสมการที่พบว่า สัดส่วนการลงทุนต่อรายได้ สัดส่วนของประชากรวัยทำงานที่อยู่ในระดับมัธยม และระดับการพัฒนาประชาธิปไตย มีผลทางบวกกับระดับ GDP ขณะที่อัตราการเติบโตของประชากร (ln(n+g+[delta]) และความเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา มีผลทางลบกับระดับ GDP

ตัวแปรที่เราสนใจคือ ความยาวของน้องชายมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก หมายความว่าระดับ GDP จะเพิ่มขึ้น เมื่อความยาวของน้องชายเพิ่มขึ้น และ ความยาวของน้องชายยกกำลังสองมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ หมายความว่าระดับ GDP จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เมื่อความยาวเพิ่มขึ้น ที่น่าสนใจก็คือ ความยาวของน้องชายมีผลต่อระดับ GDP อย่างมีนัยสำคัญ ชัดเจนกว่าระดับการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศนั้นๆ เสียอีก

“ตารางที่ ๒ ค่าสัมประสิทธิ์จากการประมาณค่าสมการ”


……….

หากนำเอาความสัมพันธ์มาแสดงเป็นกราฟ ความยาวของน้องชาย (แกนนอน เป็น ซม.) กับ ระดับ GDP (แกนตั้ง เป็นเหรียญ สรอ.ต่อหัว) จะพบว่ามีความสัมพันธ์แบบโค้งระฆังคว่ำ (Inverse U-shaped) หมายความว่า ความยาวของน้องชายจะมีความสัมพันธ์กับระดับของ GDP ในช่วงแรก และระดับของ GDP จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อยๆ ลดลง เมื่อความยาวเพิ่มขึ้น จนถึงจุดหนึ่งก็จะลดลง สอดคล้องกับผลการประมาณค่าสมการ ดังภาพที่ ๑ ซึ่งพบว่า ความยาวของน้องชายประมาณ 13 ซม.เป็นความยาวที่ดีที่สุดต่อมูลค่าของ GDP

“ภาพที่ ๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของน้องชายกับระดับ GDP”


เหตุผลของความสัมพันธ์ระหว่างความยาวน้องชายกับระดับของ GDP ก็คือ

  1. Boas et al. (2006) ชี้ว่า ความยาวของน้องชายมีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) และ Apicella et al. (2008) ก็ชี้ว่า ระดับฮอร์โมนเพศชายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกล้าเสี่ยง (risk- taking behavior) โดยสรุปก็คือว่า ความยาวของน้องชายเป็นตัวบ่งบอกพฤติกรรมกล้าเสี่ยงของคนในสังคม และแน่นอนว่า ถ้ามีพฤติกรรมกล้าเสี่ยงน้อยเกินไป หรือมากเกินไปก็จะไม่ดีต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ นั่นคือความเสี่ยงที่เหมาะสม จะทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศสูงที่สุด (เป็นรูประฆังคว่ำ)
  2. Wylie and Eardley (2007); Winter (1989) ชี้ว่า ความยาวของน้องชายเป็ยเครื่องชี้วัดความภาคภูมิใจในตัวเอง (self-esteem) ของผู้ชาย ดังนั้น การเพิ่มตัวแปรนี้เข้าไปในแบบจำลองการเติบโตทางเศรษฐกิจของ Solow จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มตัวแปรชี้วัดความภาคภูมิใจในตัวเองของคนแต่ละชาติเข้าไปในแบบจำลอง และช่วยอธิบายปัจจัยที่เคยขาดหายไปในแบบจำลองนั้นๆ นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องสำคัญของแบบจำลองนี้ก็คือ ชายเป็นใหญ่ เพราะแทบไม่มีพื้นที่ในการอธิบายบทบาทของผู้หญิงที่มีต่อระดับ GDP ในแบบจำลองเลย แต่คุณูปการก็คือการชี้ให้เห็นถึงค่าตัวชี้วัดความภาคภูมิใจที่ดูเหมือนว่าจะมีผลต่อระดับ GDP มากพอสมควรเลยทีเดียว นอกจากนี้ แม้ความยาวของน้องชายจะมีบทบาทมากเพียงใด สังคมก็ควรจะยังคงเน้นในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่ม GDP ต่อไป โดยไม่ควรมาเน้นเรื่องความยาวของน้องชายเพื่อเพิ่มระดับ GDP อย่างที่บทความนี้ว่าไว้นะครับ ^^






สถิติของแต่ละตัวแปร รวมถึงความยาวของน้องชาย ของแต่ละประเทศ

“สถิติของแต่ละตัวแปร รวมถึงความยาวของน้องชาย ของแต่ละประเทศ (๑/๒)”


“สถิติของแต่ละตัวแปร รวมถึงความยาวของน้องชาย ของแต่ละประเทศ (๒/๒)”


อ้างอิง: Westling, Tatu, 2011. “Male organ and economic growth: does size matter?,” MPRA Paper 32302, University Library of Munich, Germany.

  • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

    ขอเพิ่มเติมข้อคิดเห็นที่มาจากหน้า facebook เอาไว้ที่บลอกนี้ด้วยนะครับ เผื่อว่าบางท่านอาจจะตั้งข้อสงสัย ดังนี้

    ขออนุญาตชี้แจงสักเล็กน้อยครับ ก่อนจะเสียความน่าเชื่อถือของบลอกไป ^^

    ตอนแรกเจอบทความนี้จากการแนะนำของหนังสือพิมพ์ Economic Time ซึ่งก็ยอมรับว่าคิดเหมือนที่หลายท่านว่ามา ว่ามันสัมพันธ์กันจริงหรือ? เพราะ correlation does not imply causality

    พอลองเช็คประวัติของบทความดูก็พบว่า บทความนี้เป็น working paper ของ Munich Univ และเสนอที่ Helsinki Univ ซึ่งก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดี เลยลองเข้าไปอ่านดู แล้วก็พบว่า

    ๑. มันก็ดูมีเหตุมีผลอยู่ตามสมควร เช่น เรื่องฮอร์โมนเพศชายที่เป็นตัวชี้วัดความมั่นใจ ซึ่งก็มีงานทางการแพทย์มารองรับ แม้ว่าบทความจะมีข้อเสียอยู่หลายข้อ เช่น เรื่องบทบาทของผู้หญิง ตามที่ผมได้กล่าวไว้ในบลอก

    ๒ บทความใช้แบบจำลอง Solow และข้อสรุปของความสัมพันธ์เป็นแบบโค้งระฆังคว่ำ ซึ่งก็ดูสอดคล้องกับความเป็นจริงอยู่บ้าง

    ขอขอบคุณสำหรับคำทักท้วงและข้อเสนอเพิ่มเติมของทุกท่าน และผู้เขียนหาได้ตั้งใจเลือกบทความมาเพื่อความสนุกเท่านั้นจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ขอน้อมรับคำวิจารณ์จากใจจริงครับ _/_

  • Guyus

    ช่างจับคู่จัง

    น่าจะเป็นเรื่องของเชื้้อชาติ พงพันธ์เป็นหลักมากกว่า
    ที่สั้นๆ ก็พวกผิวเหลือง ยาวๆๆก็ผิวดำอะแหละ

  • http://thaykham.wordpress.com thaykham

    อ่านแบบไม่ระเอียดครับ แต่รัก “ไอ้น้อง” จัง

  • http://gravatar.com/it0v0me falcon

    ประเทศที่มีขนาดน้องชายปานกลางก็คือประเทศแถบยุโรบดังนั้นจะมีจีดีพีสูงก็ไม่แปลกดูไม่เกี่ยวกับขนาดน้องชาย หรือถ้าเก่ยวก็อธิบายได้ว่าขนาดน้องชายส่งผลต่อนิสัยคนยุโรปทำให้พัฒนาได้เร็วกว่า

  • http://www.facebook.com/people/Teerathanes-Tongpunt/100001584687565 Teerathanes Tongpunt

    แล้วถ้ารวมจีนเข้าไปด้วยหมายความว่าน้องชายของชาวจีนจะมีขนาดยาวและใหญ่กว่าชาวตะวันตกหรือไม่ เนื่องจากจีดีพีที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้มาจากความเชื่อมั่นของคนจีน แต่มาจากต่างชาติที่เข้าไปลทุนในปปะระเทศจีน

  • http://www.facebook.com/people/Teerathanes-Tongpunt/100001584687565 Teerathanes Tongpunt

    ดังนั้นไม่้น่าจะเป้นไปได้ครับ และไม่รักคนชื่อ” น้อง” แต่อย่างใดนะครับถือโอกาสประชาสัมพันธ์เลย