note-37460_640

“จดโน้ต” อย่างไรให้เวิร์ค?

เวลานั่งเรียนหรือนั่งฟังสัมมนา แล้วมีกระดาษว่างๆ วางอยู่ หน้ากระดาษแผ่นนั้นก็คือทรัพยากรที่มีจำกัด เคยสงสัยกันไหมว่า จะจดอย่างไรบนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้เกิดการจัดสรรที่เป็นประโยชน์สูงที่สุด แนวทางการจดโน้ตของมหาวิทยาลัย Cornell จะช่วยให้เราแบ่งหน้ากระดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

……….


วิธีการจดโน๊ตแบบ Cornell (Cornell Note-taking) เป็นวิธีการบันทึกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีงานวิจัยจำนวนมากรองรับว่าเป็นวิธีการใช้พื้นที่หน้ากระดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Jacobs (2008) ได้นำเสนองานวิจัยที่ยืนยันว่าวิธีการจดโน๊ตแบบ Cornell มีประสิทธิภาพจริง โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้จดเน้นการสังเคราะห์ (Synthesize) และประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply Learned Knowledge) แต่ก็อาจไม่ได้ผลดีนักหากผู้จดต้องการท่องจำ

……….

วิธีการจดโน๊ตแบบ Cornell เริ่มจากการแบ่งกระดาษออกเป็น ๓ ส่วน ตามรูปที่ ๑

“รูปที่ ๑ แม่แบบ Cornell Note”


แต่ละส่วนจะถูกใช้ตามหน้าที่ต่อไปนี้

  • ส่วนที่ ๑ เป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า Note-taking Area สำหรับจดทุกอย่างเท่าที่จะจดได้ ในช่วงที่นั่งเรียนหรือสัมมนาอยู่
  • ส่วนที่ ๒ เรียกว่า Cue Column สำหรับบันทึกประเด็นสำคัญ เชื่อมโยงจากส่วนที่ ๑ โดยเป็นคำสำคัญ (Keywords) หรือคำถามก็ได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ๒ ประการ หนึ่งคือง่ายสำหรับการทบทวนโดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด และสองเพื่อให้เห็นโครงร่างทั้งหมดของบทเรียนหรือการสัมมนา
  • ส่วนที่ ๓ เรียกว่า Summary Area สำหรับในอนาคตที่เกิดนึกถึงคำถามใหม่ๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะไปเจอความรู้ใหม่ๆ ก็นำมาเขียนที่นี่ รวมทั้งอาจใช้เป็นพื้นที่ในการสรุปเนื้อหาก็ได้ โดยส่วนนี้จะถูกอนุญาตให้เขียนเมื่อเวลาผ่านไปนานกว่า ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๗ วันแล้ว

……….

ตัวอย่างของการจดโน้ตแสดงได้ตามรูปที่ ๒ และ ๓

“รูปที่ ๒ ตัวอย่างการจดโน้ตแบบ Cornell Note-taking” (ที่มาของภาพ)


หากนึกไม่ออก ลองนึกถึงเวลาที่เราไปดูภาพยนตร์

ส่วนที่ ๑ ก็คือเนื้อหาภาพยนตร์ที่มีรายละเอียดเยอะมากๆ

ส่วนที่ ๒ คือประเด็นสำคัญๆ ซึ่งเวลาที่เราจะเล่าให้คนอื่นฟังว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเรื่องราวเป็นอย่างไร ก็สามารถเล่าได้จากการเรียงลำดับประเด็นสำคัญๆ เหล่านี้

ส่วนที่ ๓ คล้ายๆ กับบทวิจารณ์ภาพยนตร์หรือความคิดเห็นของเราเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ อาจจะเป็นคำถาม ข้อบกพร่อง หรือความรู้สึกก็ได้นั่นเอง

“รูปที่ ๓ ตัวอย่างการจดโน้ตแบบ Cornell Note-taking” (ที่มาของภาพ)


ลองคิดดูครับว่าหลายๆ ครั้ง เราอ่านหนังสือเรียน อย่าว่าแต่จบเล่มเลย เอาแค่จบบทเอง เราแทบจะจำอะไรไม่ได้ ไม่กล้าบอกตัวเองด้วยซ้ำว่าอ่านไปแล้วได้อะไร แต่เวลาที่เราอ่านหนังสือการ์ตูนจบเล่ม เราสามารถเล่าได้เป็นฉากๆ ส่วนหนึ่งก็เพราะหนังสือการ์ตูนมันง่ายกว่า แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะตอนที่เราอ่านหนังสือเรียน เราลงรายละเอียดมากเกินไป มากเกินกว่าที่เราจะจำมันได้ ขณะที่การอ่านหนังสือการ์ตูนนั้น เราถอยห่างออกมาจากรายละเอียด แล้วทำความเข้าใจโครงร่างของเรื่อง เราจึงรู้เรื่อง

ส่วนที่ ๒ จึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำความเข้าใจบทเรียนหรือสัมมนาที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมันจะทำให้เราเล่าต่อได้ผ่านคำสำคัญที่ได้สรุปเอาไว้ เหมือนๆ การอ่านหนังสือการ์ตูนนั่นเอง

……….

ต่อไปนี้เพื่อนๆ ก็จะสามารถใช้ทรัพยากรหน้ากระดาษที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกันได้แล้วนะครับ

อย่างไรก็ตาม [เสด-ถะ-สาด].com ได้ทำลิงค์ให้ดาวน์โหลด template ของ Cornell Note ไปให้เพื่อนๆ ลองนำไปใช้ดูด้านล่างนี้แล้ว เพื่อนๆ ใช้กันแล้วได้ผลเป็นอย่างไรก็มาเขียนเล่าให้ฟังด้วยนะครับ

PDF Template
(Mac) Pages Template
(Windows) OneNote Template
(Windows) Word Template






ที่มา: Jacobs, Keil. A Comparison of Two Note Taking Methods in a Secondary English Classroom Proceedings: 4th Annual Symposium: Graduate Research and Scholarly Projects [79] Conference proceedings held at the Eugene Hughes Metropolitan Complex, Wichita State University, April 25, 2008. Symposium Chair: David M. Eichhorn.

featured image from here

  • http://twitter.com/oomily อุ้มคุลีมาล (@oomily)

    ขอบคุณมากค่ะ ปกติจดโน๊ตคล้ายๆแบบนี้เหมือนกัน แต่จะเอาโครงร่างไว้ตรงกลาง แล้วโยงออกไปหารายละเอียด แล้วค่อยต่อด้วยส่วน summary
    แต่แบบนี้ดูง่ายกว่าเยอะเลย :)

  • http://value.exteen.com patty

    น่าซีร็อกแจกในห้องเรียน

  • http://www.facebook.com/BowInmontian Bow Inmontian

    มาเริ่มจัดการสมองใหม่กันเถอะ ^^

  • http://www.facebook.com/komson.chanprapan Komson Off Chanprapan

    น่าสนใจครับ มีปัญหาเหมือนกันเวลาอ่านบทความว่าจำไม่ได้ว่าอ่านอะไรไปบ้าง
    ปล. ส่วน summary นี่สรุปหนึ่งวัน (๒๔ ชม) หรือเจ็ดวันกันแน่ครับ

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      ที่จริงไม่ได้มีข้อสรุปตายตัวครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะกลับมาทบทวนเมื่อไหร่ เพียงแต่ไม่ให้เขียนทันทีหลังจากอ่านเสร็จน่ะครับ ^^

  • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

    ที่จริงไม่ได้มีข้อสรุปตายตัวครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะกลับมาทบทวนเมื่อไหร่ เพียงแต่ไม่ให้เขียนทันทีหลังจากอ่านเสร็จน่ะครับ ^^

  • YO

    ของผมจะมีแค่ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะอยู่ด้านซ้าย ส่วนที่ี 2+3 จะอยู่ด้านขวา
    เอาไว้ต้องลองรูปแบบนี้ดูบ้าง อย่างน้อยก็เอาส่วนที่ 3 ออกมาต่างหาก ซึ่งอาจจะเอามาไว้ข้างล่าง

  • YO

    ของผมจะมีแค่ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะอยู่ด้านซ้าย ส่วนที่ี 2+3 จะอยู่ด้านขวา
    เอาไว้ต้องลองรูปแบบนี้ดูบ้าง อย่างน้อยก็เอาส่วนที่ 3 ออกมาต่างหาก ซึ่งอาจจะเอามาไว้ข้างล่าง

  • http://www.facebook.com/jirrusth Jirusth Sirasirirusth

    เป็นประโยชน์มากครับ

  • http://www.facebook.com/jirrusth Jirusth Sirasirirusth

    เป็นประโยชน์มากครับ

  • siriporn

    ขอบคุณมากๆ สำหรับเทคนิคดีๆ ที่กำลังมองหาอยู่ทีเดียว ^__^

  • http://www.facebook.com/thanayos.hokjaroen Thanayos Porzhubz Hokjaroen

    น่าสนใจมากๆๆครับ ^_^

  • http://www.trekkingforyou.com ผ้าบัฟ

    ขอบคุณมากครับ สำหรับเทคนิคดีๆ

  • http://coachkitti.com กิตติ ไตรรัตน์

    ขอบคุณมากครับ สำหรับ เทคนิคดีๆ ที่ใช้ได้จริง ขออนุญาติ แบ่งปันต่อด้วยนะครับ

  • http://setthasat.wordpress.com ครูสอนเศรษฐศาสตร์(คนหนึ่ง)

    ยินดีครับ ^^

  • http://www.facebook.com/profile.php?id=653673696 ORn PHk

    เทคนิคเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่….ที่เรามองข้ามไป  เยี่ยมคะ…

  • คนสวย น่ารัก ^^

    ขอบคุณมากค่ะ ^^

  • http://twitter.com/LIINNAM Liinnam Tweet™

    เรียนกฎหมายจะนำไปใช้ได้ไหมคะ เพราะต้องจำเกือบหมดเลย

  • http://www.facebook.com/chanakan.ds Chanakan Rittiweerachai

    (y) ความรู้ดีดี

  • ZAii Kittiya

    ขอบคุณมากนะคะ :) น่าจะช่วยได้เยอะเลย