cartoon-donkey-8

ทำไม “ลา” ก็อาจจะชนะการเลือกตั้ง?

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของเมืองสำคัญแห่งหนึ่งในบัลแกเรีย มีการส่ง “ลา” ลงสมัครท้าชิงตำแหน่งกับนักการเมืองหน้าเดิมที่อยู่มายาวนาน ลองมาดูกันว่า ในทางทฤษฎีแล้ว ในสถานการณ์แบบไหนที่ลามีสิทธิชนะการเลือกตั้งกับคู่แข่งที่เป็นคน

……….

รรคการเมืองที่มีชื่อว่า “Society for a New Bulgaria” ในเมือง Varna เมืองท่าสำคัญริมฝั่งทะเลดำ ของประเทศบัลแกเรีย ได้นำ “ลา” ซึ่งมีชื่อว่า “มาร์โก” (Marko) ลงชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเมือง ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ตุลาคม 2011 นี้ เพื่อประท้วงนายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน นายคิริล ยอร์ดานอฟ (Kiril Yordanov) ซึ่งถูกมองว่าบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีผลงาน

“แองเจล ดียันคอฟ และ มาร์โก ผู้ท้าชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี” (ที่มาของภาพ)


ทั้งนี้ แองเจล ดียันคอฟ (Angel Dyankov) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งของพรรคเปิดเผยว่า พรรคของตนมีความคาดหวังว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงจะลงคะแนนเลือก มาร์โก มากกว่าที่จะปล่อยให้ยอร์ดานอฟชนะการเลือกตั้งและได้อยู่ในตำแหน่งต่อไปอีกสมัย อีกทั้งยังยืนยันด้วยว่า “มาร์โกนั้นน่าไว้วางใจกว่านายกฯคนปัจจุบัน เพราะมันไม่เคยยักยอกทรัพย์สินของประชาชน ไม่เคยโกหก และขยันทำงาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับตัวนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง”

[เนื่องจากตามกฎหมายการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งนั้น ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็น "มนุษย์" เพียงแต่ระบุอายุ และสัญชาติเท่านั้น ที่เหลือให้เป็นสิทธิของพรรคการเมือง]

“นายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน นายคิริล ยอร์ดานอฟ” (ที่มาของภาพ)

……….

เมื่อเห็นข่าวนี้ อาจจะดูขำๆ ที่พรรคการเมืองส่งลาลงเลือกตั้ง แต่เพื่อนๆ เคยคิดไหมว่า คนประเภทไหนที่จะเลือก “ลา” เป็นตัวแทนของเขา?

หากมองในทางทฤษฎีของ Sobbrio and Navarra (2010) แล้ว การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชน มีสองทางเลือก

หนึ่งคือ เลือกคนหรือพรรคการเมืองที่เขาชอบที่สุด โดยไม่สนใจว่าคนหรือพรรคนั้นจะชนะการเลือกตั้งหรือไม่ ในการลงคะแนนแบบนี้ เขาจะได้สื่อสารความต้องการที่แท้จริงออกไปให้นักการเมืองรับรู้ แต่ก็อาจจะเสียเปล่าเพราะคนที่เขาชอบไม่ชนะการเลือกตั้ง การลงคะแนนแบบนี้เรียกว่า “การลงคะแนนเพื่อสื่อสาร” (Communicative Voting)

สองคือ หากพรรคการเมืองที่ตนเองชอบที่สุดไม่น่าจะชนะการเลือกตั้งได้เลย พูดง่ายๆ ก็คือ แพ้แน่ๆ เขาอาจจะตัดสินใจเลือกพรรคที่ชอบน้อยกว่า แต่มีโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้คะแนนเสียงของเขาเสียเปล่า แต่ก็จะไม่มีโอกาสได้สื่อสารความต้องการที่แท้จริง การลงคะแนนแบบนี้เรียกว่า การลงคะแนนแบบมียุทธศาสตร์ (Strategic Voting)

เมื่อคะแนนเสียงมีเพียงคะแนนเดียว ประชาชนจึงต้องตัดสินใจเลือกหนึ่งในสองทางเลือกนี้ และพวกเขาย่อมเผชิญกับการได้อย่างเสียอย่าง (Trade-off) ระหว่างการสื่อสารถึงความต้องการของตน กับความหมายของคะแนนเสียงในการเลือกตัวแทน

……….

ประเด็นที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ คนที่ผิดหวังกับระบอบการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือผิดหวังกับผู้สมัครทุกคนที่มาเป็นตัวเลือก หรือผิดหวังกับผู้สมัครที่ผูกขาดชัยชนะในการเลือกตั้งตลอดมา ก็อาจจะตัดสินใจไม่ไปลงคะแนน หรือไม่ก็จะเลือกผู้สมัครที่มีนโยบายแปลกๆ ไปเลย (อาจจะคล้ายๆ กับประชดการเลือกตั้ง)

“สัญลักษณ์หนึ่งของเมืองวาร์นา (ภาพจาก Helder Caixinha @flickr)”


นี่คือสาเหตุที่ผู้สมัครรายย่อย แต่มีนโยบายที่ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้ เสียดสีและประชดสังคมก็จะได้รับการสนับสนุนอยู่จำนวนหนึ่งเสมอ [คะแนนเสียงแบบนี้จะชัดเจนมากขึ้น ในกรณีที่ประเทศนั้น ไม่มีช่องโหวตโน] และยิ่งมีการประชดหรือเสียดสีถูกใจคนที่เบื่อการเมืองมากเท่าไหร่ เขาก็จะได้รับคะแนนเสียงมากขึ้นเท่านั้น

“ชายทะเลที่มีชื่อเสียงมากของวาร์นา (ภาพจาก Nomad Tales @flickr)”


เมื่อลองวิเคราะห์กรณีการลงสมัครของท่านผู้สมัครมาร์โกแล้ว จะพบว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่เหนือชั้นของพรรค Society for a New Bulgaria ที่หากส่ง “คน” อื่นลงสมัครอาจได้คะแนนเสียงไม่มาก เนื่องจากคนกลุ่มหนึ่งจะไม่ออกมาเลือกตั้ง แต่เมื่อส่งมาร์โกลงสมัครแล้ว จะได้ทั้งคะแนนเสียงจากฐานนิยมของตนเอง และฐานนิยมจากผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และถ้าจำนวนประชาชนที่เบื่อนายกเทศมนตรีดนเดิมและเบื่อการเลือกตั้งที่เลวร้ายซ้ำซากมีมากพอ ลาก็อาจชนะการเลือกตั้งได้

“หน้าตาชัดๆ ของมาร์โก” (ที่มาของภาพ)


อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวยังระบุด้วยว่า ทีมหาเสียงของนายกเทศมนตรียอร์ดานอฟปฏิเสธที่จะให้เขาขึ้นเวทีประชันวิสัยทัศน์กับเจ้ามาร์โกตามกำหนดการที่จะมีขึ้น โดยให้เหตุผลว่าการปล่อยให้ยอร์ดานอฟขึ้นเวทีเดียวกับลาถือเป็นการลดเกียรติของนายกเทศมนตรี

ก็ยังดีที่ไม่มีพรรคการเมืองไหนในประเทศไทยส่งเพื่อนร่วมโลกสักประเภทหนึ่งลงมาแข่งขันกับนักการเมือง แต่ดีไม่ดี ก็อาจจะได้คะแนนเสียงกันไปพอสมควรเลยก็เป็นได้






ที่มา ๑) ธานี ชัยวัฒน์ “”ข้อดีเล็กๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งปี 2554″ ในมุมมองเศรษฐศาสตร์” ใน กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 มิถุนายน 2554.
ที่มา ๒) Sobbrio, Francesco and Navarra, Pietro, “Electoral Participation and Communicative Voting in Europe” (January 2, 2010). European Journal of Political Economy, Forthcoming.
ที่มา ๓) “อึ้ง!! พรรคการเมืองบัลกาเรีย ส่งลาชิงตำแหน่ง นายกเทศมนตรี” ออนไลน์ที่ mthai.com
ที่มา ๔) “Donkey stands for mayor in seaside town” online at aol.co.uk

featured image from here

  • http://sdfsdf.com bee

    คิดได้นะคนเรา

  • http://www.facebook.com/veeaum Veerawat Aumkhan

    ประเทศไทย ควรใช้ “ควาย” จะได้สูสีกับนักการเมืองบ้านเรา

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      555 ที่จริง ควายอาจจะมีบุญคุณกับสังคมไทยมากกว่านะครับ ^^

  • http://www.facebook.com/profile.php?id=1029337243 Nattapon Sivamok

    ที่จริงก้อ มีตั้งเยอะนะ .. มีประเทศสาระขันอยู่ประเทศหนึ่ง .. เกือบได้เจ้าของอาบอบนวดมาเป็นผู้ว่าเมืองหลวง .. หรือเอางคนที่ไม่เคยมีีความรู้เรื่องการเมือง (เป็นน้องของอดีตนายก) มาเป็นนายก .. ถ้าเอา ลา หรือ ควาย มาลงแข่งจริง ๆ บางทีก้อไม่แน่นะ อาจจะได้ เป็น สส ระบบบัญชีรายชื่อก็ได้ 

  • oxygenyoyo

    เมืองไทยก็น่าจะเอามาลอง