สินค้าลด 50% “จำเป็น” ต้องมีต้นทุนต่ำกว่า 50% หรือไม่?
เวลาที่เพื่อนๆ ไปเดินห้างสรรพสินค้า บ่อยครั้งที่เรามักจะเจอกะบะที่เต็มไปด้วยลดราคาสินค้า 50% – 70% เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่าสินค้าที่ลดราคาเหล่านั้น จำเป็นต้องมีต้นทุนต่ำกว่าราคาที่เหลืออยู่หรือไม่ ถ้าไม่ แล้วทำไมเขาถึงต้องลดราคาด้วย
……….
เวลาที่เพื่อนๆ ไปเดินห้างสรรพสินค้า บ่อยครั้งที่เรามักจะเจอกระบะลดราคาสินค้า 30% – 50% – 70% หรือ 90% ก็ว่าไป เคยสงสัยกันไหมว่าสินค้าเหล่านั้น จำเป็นต้องมีต้นทุนต่ำกว่าราคาที่เหลืออยู่หรือไม่ หลายคนคงตอบว่าไม่ แต่อาจจะไม่รู้ว่าทำไม
ทีนี้เราลองมาดูกันว่าเพราะอะไร
……….
ขอยกตัวอย่าง เสื้อตัวหนึ่ง ต้นทุนตัวละ 700 บาท โดยขายขึ้นห้างราคาตัวละ 1,000 บาท โรงงานผลิตเสื้อทั้งหมดออกมาขาย 100 ตัว
ต้นทุนทั้งหมดของโรงงานคือ 700 บาท x 100 ตัว = 70,000 บาท รายได้ที่โรงงานจะได้รับหากขายเสื้อหมดคือ 1,000 บาท x 100 ตัว = 100,000 บาท
ลองคิดดูว่า หากโรงงานขายได้เพียง 70 ตัว โรงงานก็จะมีรายได้ 1,000 บาท x 70 ตัว = 70,000 บาท ซึ่งเท่านี้โรงงานก็ไม่ขาดทุนแล้ว (แม้จะไม่ได้กำไรก็ตาม) เราเรียกจุดนี้ว่า “จุดคุ้มทุน” (Break-even Point)
“ป้ายลดราคาสินค้าในร้านค้าแห่งหนึ่ง (ภาพประกอบโดย Sicco2007 @flickr)”
มองในอีกมุมหนึ่ง ย่อมหมายความว่า หากโรงงานขายเสื้อได้ 70 ตัว แล้วต่อให้เอาเสื้อที่เหลือ 30 ตัวไปโยนทิ้ง ก็ย่อมไม่ขาดทุน
และไม่ว่าจะลดราคาเสื้อ 30 ตัวนี้ลงไปเท่าไหร่ ย่อมเป็นกำไรทั้งสิ้น (มากหรือน้อยตามสัดส่วนที่ลดราคา) โรงงานจึงมักนำเสื้อเหล่านี้มาลดราคา เช่น 50% เพื่อให้ได้เงินสดไวขึ้น
เราก็จะเห็นว่า โรงงานสามารถลดราคาสินค้าได้ถึง 50% ทั้งที่มีต้นทุน 70% โดยไม่ขาดทุน
ดังนั้น เสื้อผ้าแฟชั่นต่างๆ ที่ตอนออกมาใหม่ๆ แพงมากๆ (เท่ากับว่ามีกำไรตอนต้นสูงมากด้วย) สามารถลดราคาได้ถึง 80% ในช่วงหลังๆ
……….
นอกจากนี้ วิธีคิดแบบนี้ยังประยุกต์ไปยังสินค้าอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์หรือเพลง ที่เมื่อนานไปก็ไปขายเป็นแผ่นในกระบะ หรือเข้าไปอยู่ใน MP3 ได้ (แบบถูกกฎหมาย) โดยผู้ประกอบการไม่ขายทุน เพราะเลยจุดคุ้มทุนไปแล้ว
ต่อไปนี้เราก็รู้แล้วว่าสินค้าหลายอย่างเขาขายต่ำกว่าราคาทุนได้อย่างไรนะครับ