skirt-coloring-page

ความยาวของกระโปรงเกี่ยวข้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างไร?

การศึกษาในอดีตของประเทศตะวันตกพบว่า ผู้หญิงจะใส่กระโปรงสั้นลง เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น เพื่ออวดถุงน่องที่มีราคาแพง ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งก็พบว่า กระโปรงที่สั้นลงมีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น เนื่องจากกระตุ้นการใช้จ่าย


……….

ารศึกษาในอดีตพบว่า ผู้หญิงจะใส่กระโปรงสั้นลง เมื่อเศรษฐกิจดี และเมื่อไม่นานมานี้ งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งก็พบด้วยว่า กระโปรงที่สั้นลงมีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นเหตุจูงใจทำให้ผู้ชายซื้อสินค้าให้ผู้หญิงด้วยราคาที่แพงขึ้น

George Taylor นักเศรษฐศาสตร์จาก Wharton School ทำการวิจัยในปี 1920 พบว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจดี ผู้หญิงมีแนวโน้มจะใส่กระโปรงสั้น เพื่ออวดถุงน่องราคาแพง เช่น ถุงน่องผ้าไหม ที่ดูน่าสนใจกว่ากระโปรง แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ผู้หญิงก็จะกลับมาใส่กระโปรงยาว เพื่อปกปิดถุงน่องที่มีราคาถูก

นั่นคือเหตุผลว่า ถ้าเศรษฐกิจดี กระโปรงก็จะสั้น ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ กระโปรงก็จะยาว

จนเมื่อไม่นานมานี้ การวิจัยด้วยการทดลอง (Experimental Research) ของ Kim, Pandelaere, Van den Bergh, Millet, Lens and Roe (2011) พบประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากงานของ Taylor

……….

การวิจัยนี้แบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็นสองกลุ่ม แล้วให้ผู้หญิงที่แต่งตัวธรรมดาๆ แบบบ้านๆ เอารูปไปให้ผู้เข้าร่วมจำนวนครึ่งหนึ่งดู และให้ผู้หญิงเซ็กซี่ที่ใส่กระโปงยีนส์สั้นมากๆ เอารูปไปให้ผู้เข้าร่วมจำนวนอีกครึ่งหนึ่งดู

“รูปแบบการแต่งตัวของผู้หญิงที่เข้าไปถาม”


รูปที่ให้ดูนั้นมีจำนวน 10 รูป ใช้เวลาดูรูปละ 1 วินาที แต่ละรูปจะมีสินค้า 10 ชนิด เรียงกันเป็นวงล้อ ตั้งแต่สินค้าแสดงสถานะ (Status Goods) เช่น รถยนต์ Porche หรือรถยนต์ Maserati ไปจนถึงสินค้าจำเป็น (Functional Goods) เช่น กระดาษชำระ

“สินค้าที่เรียงกันให้เลือกในแต่ละรูป”


จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเขียนรายชื่อสินค้าที่เขาจำได้ให้ได้มากชิ้นที่สุดภายใน 25 วินาที

ผู้หญิงทั้งสองคนจะขอให้เขาเลือกซื้อสินค้าให้จากที่เขาจำได้จากรูป แน่นอนว่าครึ่งหนึ่งถูกขอโดยผู้หญิงแต่งตัวธรรมดาๆ และอีกครึ่งหนึ่งถูกขอโดยผู้หญิงเซ็กซี่ แล้วดูว่าสัดส่วนของสินค้าแสดงสถานะเปรียบเทียบกับสินค้าจำเป็นแตกต่างกันหรือไม่

ผลการทดลองพบว่า ผู้ชายที่ยอมรับว่ามีแฟนแล้ว เลือกซื้อสินค้าแสดงสถานะ(เปรียบเทียบกับสินค้าจำเป็น)ให้ผู้หญิงแต่งตัวเซ็กซี่ (33%) และผู้หญิงแต่งตัวธรรมดา (35%) ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผู้ชายโสด เลือกซื้อสินค้าแสดงสถานะให้ผู้หญิงแต่งตัวเซ็กซี่ (43%) มากกว่าผู้หญิงแต่งตัวธรรมดา (33%) มาก [คิดง่ายๆ ว่า ถ้าผู้หญิงแต่งจัวสองแบบมาชวนผู้ชายไปกินข้าว ทั้งที่ผู้ชายคนเดิม ซึ่งมีฐานะเหมือนเดิม ส่วนใหญ่ก็คงจะไม่ได้พาเขาไปกินข้าวที่เดียวกัน]

……….

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่า ในกรณีของผู้ชายโสดซึ่งสามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจนในการจีบผู้หญิง ความรู้สึกที่มีต่อสินค้าทั่วๆ ไปจะเปลี่ยนไปโดยจิตใต้สำนึกว่าจะสามารถดึงดูดให้ผู้หญิงเซ็กซี่สนใจฐานะของเขาได้ ดังนั้น ความเซ็กซี่ของผู้หญิงไม่ได้แค่ทำให้ผู้ชายสนใจสินค้าแสดงสถานะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่มีแนวโน้มจะทำให้เขาซื้อจริงด้วย [เซลล์ขายของที่แต่งตัวเซ็กซี่ก็น่าจะเพิ่มยอดขายได้นะนี่?]

ประเด็นที่น่าคิดต่อก็คือว่า แล้วถ้ามีผู้หญิงใส่กระโปรงสั้นกันเยอะๆ ผู้หญิงเซ็กซี่ก็จะมีมากขึ้น ส่งผลให้รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าแสดงสถานะ(เพื่อแย่งชิงผู้หญิงเซ็กซี่)ย่อมมีแนวโน้มลดลง

ในทางตรงกันข้าม หากเศรษฐกิจไม่ดี ผู้ชายที่มีฐานะดีจะมีจำนวนน้อยลง และกลายเป็นที่ต้องการของผู้หญิงเซ็กซี่แทน นั่นย่อมเป็นเหตุผลว่าในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้หญิงกลับจะยิ่งใส่กระโปรงที่สั้นลง(เพื่อการแข่งขัน) และเราก็ควรจะสนับสนุนแบบนั้นด้วย เพราะมันจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายให้มากขึ้นและเศรษฐกิจก็อาจจะดีขึ้นตามมา

และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมความยาวของกระโปรงมีความสัมพันธ์กับสถานะทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจดี กระโปรงก็จะสั้น และกระโปรงสั้น ก็กระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ด้วย [บางที อุตสาหกรรมแฟชั่นก็อาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่าที่คิดไว้ก็เป็นได้]






ที่มา: Janssens, Kim; Mario Pandelaere; Bram Van den Bergh; Kobe Millet; Inge Lens and Keith Roe (2011). “Can buy me love. Mate attraction goals lead to perceptual readiness for status products.” Journal of Experimental Social Psychology 47: pp 254-258.

featured image from here

  • http://www.facebook.com/joeprajae Joe Prajae

    กระโปรงสั้นไม่เพียงแต่กระตุ้นเศษรฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังกระตุ้นอารมณ์ผมได้อีกด้วย

  • Naoto

    เป็นเรื่องที่น่าสนใจดีครับ

  • narin

    ทุกความเปลี่ยนแปลงความสั้นหรือยาวของกระโปรงมีผลภาวะทางการตัดสินใจ การประหยัดทรัพยากรน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจครับ ^^

  • Pingback: Louis Vuitton และ Gucci “ปรับตัว” อย่างไรในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ? – [เสด-ถะ-สาด].com