jail

เราจะถูก “คุมขัง” นานแค่ไหนในระหว่างการพิจารณาคดี?

หากวันนึงเรากลายเป็นผุ้ต้องหา และเราไม่ได้กระทำความผิด แน่นอนว่าเราต้องต่อสู้คดี และยืนยันความบริสุทธิ์ เคยสงสัยกันไหมว่า เราจะต้องถูกคุมขังนานแค่ไหน เพื่อต่อสู้คดีในความไม่ผิดของเรา งานวิจัยของกรมราชทัณฑ์จะช่วยบอกเราได้

……….


ระบวนการยุติธรรม (Criminal Justice) คือ แบบแผนของการดำเนินงานเพื่อให้ความยุติธรรมแก่ผู้กระทำผิดกฎหมายและให้ความยุติธรรมแก่สังคม โดยมีสถาบันตำรวจ อัยการ ศาลและราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ

หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมจะทำงานเชื่อมต่อกัน นับแต่เกิดการกระทำผิด มีผู้ถูกกล่าวหา ตำรวจจะต้องดำเนินการสืบสวนจับกุมตัวผู้กระทำผิด สอบสวนพยานหลักฐาน เพื่อส่งอัยการตรวจสอบสำนวนการสอบสวนของตำรวจ สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อศาล อำนาจในการพิจารณาคดีเป็นอำนาจอิสระของศาล ซึ่งประเทศไทยแบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

“นักโทษในห้องขัง (ภาพโดย ABN2 @flickr)”


สำหรับขั้นตอนกระบวนการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงจนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดจำเป็นต้องใช้เวลาจึงต้องควบคุมผู้ถูกกล่าวหาไว้ก่อนซึ่งอำนาจในการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดของพนักงานสอบสวนมีข้อจำกัดเพียง 3 วัน และจะต้องขออำนาจฝากขังยังเรือนจำ

อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนของตำรวจ อัยการ ศาล ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นขอประกันตัวได้ ส่วนผู้ต้องหาที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการประกัน หรือผู้มีอำนาจไม่พิจารณาอนุมัติ ก็จะถูกนำตัวคุมขังในเรือนจำ ซึ่งกรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรมมีหน้าที่ในการควบคุม ดูแลผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี และนักโทษเด็ดขาด

ดังนั้น ผู้ต้องขังจึงจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ “คนฝาก” ซึ่งค่อนข้างชัดเจนโดยข้อกฎหมายว่าควบคุมตัวได้เพียง 3 วัน “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” และ “นักโทษเด็ดขาด” ซึ่งระยะเวลาคุมขังขึ้นอยู่กับคำตัดสินของศาล

ที่น่าสนใจจึงเป็นในส่วนของ “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” เพราะระยะเวลาการถูกคุมขังดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสังคมและตัวผู้ต้องขังเอง ทำให้สูญเสียอิสรภาพ ว่างงาน ขาดรายได้ สูญเสียโอกาสต่างๆ ทางสังคม ครอบครัว เกิดความเดือดร้อน และถึงที่สุด หากคดียกฟ้อง ก็เท่ากับว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมกับสิ่งที่เสียไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีการชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากผู้ต้องขังไม่ได้กระทำผิด แต่กฎหมายดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก

……….

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดีซึ่งถูกคุมขังที่เรือนจำ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวนในขั้นตอนของตำรวจและอัยการ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา-ไต่สวนในขั้นตอนของศาลชั้นต้น และผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์-ฎีกาในขั้นตอนของศาลอุทธรณ์-ฎีกา ซึ่งผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีทั้ง 3 ประเภทนี้มีจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากสถิติช่วงปี 2542-2546 ดังตารางที่ ๑

จากตารางที่ ๑ จะเห็นว่าผู้ต้องขังระหว่างโดยเฉลี่ยในรอบ 5 ปีมีเป็นสัดส่วนมากถึง 34.87% จากจำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศ ขณะที่สถิติผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์-ฎีกา ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากปี 2542 จำนวน 9.05 % เป็น 13.48 % ในปี 2546

“ตารางที่ ๑ สถิติผู้ต้องขังทั่วประเทศ แยกตามประเภท (ภาพจากบทความ)”


ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา กรมราชทัณฑ์ (2547) ได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากทะเบียนประวัติผู้ต้องขังของนักโทษเด็ดขาดจำนวน 6,884 คนเพื่อหาระยะเวลาเฉลี่ยในการถูกคุมขังของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และทำการสัมภาษณ์ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี จำนวน 367 คน เพื่อทราบผลกระทบระหว่างถูกคุมขังจากเรือนจำ/ทัณฑสถานที่มีจำนวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีสูงสุดในพื้นที่แต่ละภาคจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทัณฑสถานหญิงกลาง เรือนจำกลางเชียงราย เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี และเรือนจำกลางนครราชสีมา

ผลการศึกษาวิจัยพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี โดยภาพรวมทั้งหญิงและชายใช้เวลานานถึง 1 ปี 2 เดือน ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวมเพศหญิงจะมีระยะเวลาที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดียาวนานกว่าเพศชายในทุกคดี และยาวนานกว่าค่อนข้างมากด้วย โดยเพศชายจะถูกคุมขัง ประมาณ 11 เดือน แต่เพศหญิงจะนานถึง 21 เดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากเพศหญิงมักปฏิเสธการกระทำผิดและต่อสู้คดี ในขณะที่เพศชายมักจะยอมรับสารภาพเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการต่อสู้คดี โดยผู้ต้องขังคดียาเสพติดจะมีระยะเวลาเฉลี่ยยาวนานกว่าคดีอื่นๆ ดูตารางที่ ๒

“ตารางที่ ๒ ระยะเวลาเฉลี่ยในการถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี (ภาพจากบทความ)”


สำหรับคุณลักษณะของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี (จากการสุ่มตัวอย่าง 367 คน โดยน่าจะนับได้ว่าเป็นตัวแทนของประชากรที่ถูกคุมขังอยู่ด้วย) พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 57.2% อายุต่ำกว่า 25 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา 48.5% สมรสแล้ว 51% อาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้สิน 70% มีภาระรับผิดชอบในครอบครัว 77.1% คดียาเสพติด 54.2% ต่อสู้คดีและหาทนายเอง 42.2% ไม่มีหลักทรัพย์ในการประกัน 39% ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน 30.2% ระยะเวลาในการถูกคุมขังน้อยกว่า 1 ปี 55% ยอมรับว่ากระทำผิด 57.2% ปฏิเสธว่ากระทำผิด 42.8% กล่าวโดยสรุปก็เท่ากับว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเป็นคนอายุน้อย มีการศึกษาน้อย และเป็นคนจน

……….

เมื่อทำการสำรวจผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกคุมขัง โดยใช้สเกลการวัด (X) ระหว่าง 1 ถึง 5 โดย 1 หมายถึงมีผลกระทบน้อยที่สุด และ 5 หมายถึงมีผลกระทบมากที่สุด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ผลกระทบต่อผู้ต้องขัง ผู้ต้องขังส่วนใหญ่เห็นว่ามี
    ๑. “ผลกระทบด้านการควบคุม” อยู่ในระดับมาก (Χ = 3.46) โดยเฉพาะการถูกควบคุมทำให้ขาดโอกาสในการศึกษาและประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือครอบครัว
    ๒. “ผลกระทบด้านสภาพร่างกาย” อยู่ในระดับปานกลาง (Χ = 3.20)
    ๓. “ผลกระทบด้านจิตใจ” อยู่ในระดับมาก (Χ = 3.58) ส่วนใหญ่จะวิตกกังวลเรื่องสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวและการต่อสู้คดี
  2. ผลกระทบต่อครอบครัว
    ๑. “ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว” อยู่ในระดับปานกลาง (Χ = 3.17) ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ยังคงได้รับการ ยอมรับและให้กำลังใจจากครอบครัวในการต่อสู้คดีเป็นอย่างดี ได้รับการเยี่ยมจากญาติสม่ำเสมอ
    ๒. “ด้านเศรษฐกิจ” กระทบในระดับมาก (Χ = 3.44) โดยเฉพาะเรื่องครอบครัวต้องทำงานหนักมากขึ้นเมื่อผู้ต้องขังต้องเข้ามาอยู่ในเรือนจำ ทำให้ครอบครัวขาดรายได้และต้องหาเงินมาต่อสู้คดี
    ๓. “ด้านการยอมรับจากสังคม” อยู่ในระดับปานกลาง (Χ = 3.25)

……….

สิ่งที่น่าสนใจในประเด็นเรื่องผลกระทบคงไม่ใช่แค่ว่ามีการถูกคุมขังมีผลกระทบทางด้านจิตใจหรือด้านเศรษฐกิจที่มาก เพราะน่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่อยู่ที่ว่าประเด็นของผลกระทบทางด้านร่างกายที่อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสะท้อนว่า กรมราชทัณฑ์เองก็ดูแลผู้ต้องขังได้ดีพอสมควรทีเดียว ผู้ต้องขังจึงไม่มีปัญหาทางสภาพร่างกาย รวมทั้งผลกระทบทางด้านความสัมพันธ์ของครอบครัวที่อยู่ในระดับปานกลาง ก็ย่อมแสดงให้เห็นเช่นกันว่า ครอบครัวยังคงมีบทบาทสำคัญมากเสมอกับสังคมไทย

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้น่าจะทำให้เราเห็นกระบวนการพิจารณาคดีที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน ทำให้คนจำนวนหนึ่งที่ถูกตัดสินว่าไม่ได้กระทำความผิดต้องเสียโอกาสไปมาก ในอนาคตอาจจะต้องพัฒนากระบวนการเหล่านี้ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ขณะที่งานวิจัยในอนาคตน่าจะเป็นประเด็นที่ว่า สุดท้ายแล้วมีสัดส่วนของคนที่ถูกตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิดมากน้อยเพียงใด และหากถูกตัดสินว่าผิดแล้ว ระยะเวลาที่ถูกจำคุกจริงเปรียบเทียบกับโทษที่ถูกตัดสินเอาไว้นั้นต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป






ที่มา: ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์ (2547) โครงการศึกษาวิจัย “ระยะเวลาในการถูกคุมขังของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

featured image from rsgacministries.org

  • http://bharot.wordpress.com bharot

    บางที อีกชื่อหนึ่งของความ “อยุติธรรม” ก็คือ “ความยุติธรรมที่ล่าช้า”

    • http://setthasat.wordpress.com [เสด-ถะ-สาด].com

      เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ^^

    • http://justthehuman.wordpress.com namemetuang

      จริงด้วยละ

  • http://gravatar.com/1111 aa

    ถ้ากฏหมายมีไว้เพื่อปกครอง ผิดถูกก็ขึ้นอยู่กับอํานาจ
    แล้วถ้ากฏหมายปกป้องอํานาจเพื่อปกครอง ใครจะมาปกป้องคนจนเหรอครับ?

  • http://www.facebook.com/profile.php?id=100000089852546&ref=tn_tnmn เบิร์ด ผู้กอง

    ติดตามอ่านบทความครับ:)

    เรื่อง การถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี นั้น มีการถกเถียงกันมายาวนานมากครับ กฏหมายต้องเชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธ์จนกว่า ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดครับ เราใช้หลักการนี้ในรูปแบบนะครับ

    ลึกๆแล้ว เป็นปัญหาชนชั้นครับ เรื่องนี้จะไปจบที่ความแตกต่างของ กระบวนการยุติธรรมสำหรับคนรวย กับ คนจนครับ

    คนรวย ถูกจับ ประกันตัวทันที รอรายงานตัว สู้คดีหลายปี ถ้าศาลยกฟ้องก็ไม่มีมลทินเลย ถ้าพิพากษาให้ติดคุก ก็ยังเลือกได้ว่าจะหนีไป ต่างประเทศดีหรือไม่

    จุดนี้ต่างกับคนจนครับ

    ถูกจับกุม ส่งตัวไปขังที่สถานีตำรวจ นับเวลาขังที่สถานีตำรวจ 48 ชั่วโมงนับแต่เข้าห้องขัง จากนั้นก็จะถูกคุมตัวไปฝากขังที่ศาล คดีโทษหนักก็ฝากได้นาน ส่วนมากจะไม่มีเงินประกันตัว

    สภาพกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้ จึงทำให้เรือนจำเป็นที่สำหรับคนจนครับ

    การคุมขังระหว่างพิจารณานี่ เห็นรัฐพยายามแก้ไขให้ทั้งเรื่องความเท่าเทียม ความรวดเร็วของกระบวนการสอบสวน พิจารณา พิพากษา

  • http://justthehuman.wordpress.com namemetuang

    อ่านแล้ว…หดหู่นิดๆ

  • ดี

    บางครั้งไม่ได้ทำผิด แต่ต้องจำใจยอมรับ เพื่อคดีจะได้จบเร็ว เพราะต่อสู้ไปก็เสียเงินทองเปล่า ยืดเยื้อ

  • Sakchay

    ใครไม่เคยโดนไม่มีทางที่จะเข้าใจหรอกว่ามันเจ็บปวดแค่ไหนคนจนที่ไม่มีทางต่อสู้แล้วโดนยัดเยียดความผิดให้เพียงเพื่อให้ได้ยศตำแหน่งเท่านั้นหรือจะเอาอะไรไปต่อสู้กะเค้าได้ประชาชนธรรมดาตัวน้อยๆ

    • อิ่มบุญ

      ถูกต้องค่ะ เพราะเราต่างรู้ได้เมื่อโดนกะตัว

  • dfg

    ความรู้สึกมันแย่มากเลย หดหู่จริงๆๆๆ ใครไม่โดนกะตัวหรือคนใกล้ตัวก้อไม่มีวันเข้าใจ

  • dfg

    แฟนโดนจับข้อหาขายยาบ้า 15 เม็ด เมื่อ 10/10/13 แต่ยังไม่รู้เลยว่าจะโดนคุมขังเท่าไร
    ถ้าผู้ใดรุ้ช่วยตอบทีได้มั้ยคะ

    • ดาด้า

      15เม็ดถือว่าจำหนายโทดอยู่ราว3-4ปีค่ะ

  • โกหกตัวคุณเองทำได้มั๊ย

    จริงครับ ใครไม่โดนกับตัวหรือลูกหลานของตัวไม่มีวันเข้าใจหรอก ผมโดนมากับตัวไง และผมก็จะสู้ให้ถึงที่สุด

    และ..เรื่อง สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา
    มาตรา 33 ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า แสดงว่าบุคคลใด ได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

    ซึ่งในข้อนี้ ผมอยากจะฝากถามไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานยุติธรรมนะครับ ว่า ในทางปฏิบัติมันนำมาใช้ได้จริงหรือ

    เพราะ เมื่อคุณเห็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ผมสั้นเกรียน ใส่ชุด(เสื้อสีน้ำตาล กางเกงขาสั้นสีน้ำตาลเข้ม)ตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ที่ข้อเท้าเหนือตาตุมทั้งสองข้างถูกตีตรวน เดินเรียงแถวเข้ามาในศาล คุณมองพวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ได้อย่างสนิทใจมั๊ย? ผมถามแค่เนี๊ยะล่ะ

    ตอบคุณ dfg

    1.ต้องดูในบันทึกจับกุมของแฟนคุณเป็นอันดับแรกว่าแจ้งข้อกล่าวหาว่าอย่างไร แฟนคุณรับสารภาพหรือปฏิเสธจะชัดเจนที่สุด
    2.พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่ถูกจับ(2วัน นอนในห้องขังที่โรงพัก)หลังจากนั้น พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาล(ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ)
    3.การฝากขังของศาล ใน1ฝากจะขังได้ฝากละ12วัน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน84วัน (7ฝาก)
    3.1 ช่วงนี้ควรติดต่อพูดคุยกับแฟนว่าจะรับหรือปฏิเสธ ถ้าทำจริงก็ควรรับสารภาพครับ แต่ ถ้าไม่ได้ทำก็ควรปฏิเสธสู้คดีและจ้างทนายที่มีความเชี่ยวชาญคดียาเสพติดโดยเฉพาะ มาว่าความ

    ช่วยได้เท่านี้อ่ะครับ ผมเองก็สู้คดียาเหมือนกัน โดนร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายศาลชั้นต้นยกฟ้องเพิ่งได้ออกมาไม่นาน ต้องไปสู้ชั้นอุทธรณ์ต่อ
    ขอให้โชคดีนะครับ

  • ดาด้า

    อยากทราบว่าในกรนีที่เรือนจำปล่อยตัวนักโทดออกมาเพราะตำรวจไม่ส่งฟ้องแต่นักโทดใดเทำผิดจิงแบบนี้ตำรวจยังมีสิทธกลับมาจับตัวกลับไปรับโทดต่อใด้มัยช่วยตอบที

  • จิรา

    พึ่งเจอกับตัว คุกมีไว้ขังคนจนจิงๆค่ะ ความน่าเศร้าของสังคมไทย…

  • สำราญ

    ศาลชั้นต้นยกฟ้องเค้าจะปล่อยตัวเลยเปล่าครับ

  • สุริยา

    แฟนโดนจับ9เม็ดครอบครองและแสพจะโดนกี่ปีคับ ประกันได้ไหม

  • อิสระ

    คดีเก่าผมเกิดปี2552ผมอยูาในเรือนจำตั้งแต่ตอนนั้นผมรู้และแจ้งตำรวจอีก จ.ว.มารับตัวผมไปเพื่อฟ้องเขาส่งตัวผมไปแต่ไม่ฟ้องทั้งๆที่ผมได้เขียนไปโรงพักจนคบ7ปีปล่อยมาอายัตคดีใหม่อีกคดีคือคดีลักทรัพปี2552ครับรบกวนด้วยครับตอนนี้ผมประกันตัวอยู่

  • ฝอุไรพร พัดตังโม

    ถามผู้รุ้คือว่าแฟนโดนจับคดียาเสพติและตอนนี้อยู่ในช่วงฝากขังเราสามารถประกนตัวได้ไช่ไหม..แต่ในกรณีที่ไม่มีเงินประกันตัวต้องรับโทดแบบนี้นานไหม..และศานจะตัดสินตอนไหนค่ะ..ถ้าติดนานแค่ไหนค่ะ..อ่อลืมค่ะ.แฟนโดนข้อหาครอบคองเพื่อจำหน่ายค่ะ17เม็ด