q115554_Snapseed

50 ปี จาก “พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” … ทำไม?

พ.ศ.2554 เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี นับจาก “พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” เพื่อนๆ รู้กันไหมว่า พวกเขาประชุมกันทำไม และเชื่อหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันคือจุดเริ่มต้นของยุคใหม่แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

……….


ลายคนคงเคยฟังเพลงผู้ใหญ่ลี และเชื่อว่าน่าจะร้องจนจบได้ เพลงนี้ขับร้องโดย “ศักดิ์ศรี ศรีอักษร” และโด่งดังมากในช่วงปี พ.ศ. 2504 ที่ว่า

พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
………

แต่รู้กันหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว เพลงผู้ใหญ่ลีมีที่ผิดอยู่(อย่างน้อย)สามที่

๑) “พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” ที่จริงแล้วต้องเป็น “ตีกะลอ” ซึ่งมาจากคำว่า “เกราะ” ที่แปลว่า “เครื่องสัญญาณทำด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง” ซึ่งผู้ใหญ่บ้านใช้ตีเพื่อเรียกลูกบ้านให้มารวมตัวกัน

๒) “ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร” ที่จริงแล้ว “ตาสีหัวคลอน” ต้องเป็น “ตาสีหัวงอน” หมายถึง คนที่มีศีรษะงอน คือศีรษะเรียวยาวและช้อยหรือโง้งขึ้นบน เป็นการล้อเลียนคนที่มีรูปหัวแปลกๆ

๓) “สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา” “หมาน้อย” ในที่จริงแล้วคือ “ม้าน้อย” ที่ออกเสียงเลียนแบบคนอิสานว่า “ม่าน้อย” ซึ่งแปลว่า หมา เพราะการกินหมาไม่เป็นที่ยอมรับ จึงเลี่ยงคำ ขณะที่ “ม้าใหญ่” ก็คือม้าปกติ

……….

ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ทำไมผู้ใหญ่ลีตีกลองในปี พ.ศ.2504? และปีนี้ พ.ศ.2554 ครบ 50 ปีพอดี นับตั้งแต่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม

ก่อนจะตอบคำถาม ขอท้าวความเล็กน้อยว่า สืบเนื่องมาจาก 15 กุมภาพันธ์ 2493 ประเทศไทยเริ่มตั้ง “สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ” หรือ “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศณษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” (สภาพัฒน์ ในปัจจุบัน) และเริ่มทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานวางแผนจากส่วนกลางเมื่อปี พ.ศ.2502 ตามข้อเสนอแนะของธนาคารโลก ในรายงานที่มีชื่อว่า “A Public Development Plan for Thailand” และถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะในแผนฯ 1 นั้น เศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 8 ต่อปี จากที่ตั้งเป้าไว้ร้อยละ 5.5 ต่อปี

ปี พ.ศ.2504 จึงเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มดำเนิน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 1 ฉบับที่ 1” ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยเพลงได้สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการกับชาวบ้าน ที่ไม่คุ้นชินกับการใช้ภาษาราชการที่สื่อสารโดยตรงมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้น ชาวบ้านหรือแม้แต่ผู้นำท้องถิ่นเองมักเป้นคนที่คุ้นเคยกันในท้องถิ่น มากกว่าที่จะถูกแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง จึงไม่ได้มีความรู้มาก [แต่ก็รู้จักท้องถิ่นดี และเข้ากับชาวบ้านด้วยกันได้ง่าย] เลยอาจจะตอบคำถามและนำแนวทางที่มาจากส่วนกลางไปใช้แบบผิดๆ ถูกๆ

……….

ในช่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน โฆษณาของธนาคารแห่งหนึ่งก็ได้เอาเพลงผู้ใหญ่ลีมาแปลง โดยคล้ายๆ กับว่าเป็นการเสียดสีนโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน ในความหมายเดียวกับการเสียดสีของผู้ใหญ่ลีแบบเก่า ก็คือประเด็นว่า “ถ้าไร้ปัญญา ทุนที่ได้มาก็ไม่เหลือ” [โฆษณานี้ถูกต่อต้านอยู่พอสมควร]

……….

ในปีนี้ พ.ศ.2554 ถือว่าครบรอบ 50 ปีพอดีของผู้ใหญ่ลีตีกลอง และก็ครบ 50 ปีที่เราเริ่มใช้แผนพัฒนาฯเป็นครั้งแรกด้วย จวบจนปัจจุบัน เรากำลังจะเข้าสู่แผนฯ 11 พ.ศ.2555-2559 ในอีกไม่กี่เดือน

ก่อนจะถึงเวลาที่เริ่มใช้แผนฯ 11 ลองย้อนไปนั่งดูเอกสารเก่าๆ ของแผนฯ 1 ในยุคผู้ใหญ่ลี (พ.ศ.2504) กันดู [ลองนึกเล่นๆ เปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันกันเอาเองนะครับ ขอใช้รูปที่ตัดมาจากแผนพัฒนาในยุคนั้น เพื่อจะได้ดูเก่าๆ ขลังๆ นะครับ]

ปี พ.ศ.2554 นี้ ประมาณการรายได้ประชาชาติของไทยอยู่ที่ 10,852.6 พันล้านบาท 50 ผ่านไป รายได้ประชาชาติสูงขึ้นกว่าปี พ.ศ.2504 ประมาณ 217 เท่า

“กราฟแสดงการเปรียบเทียบระหว่างแนวโน้มของรายได้ประชาชาติ พ.ศ.2495–2501 และรายได้ประชาชาติ พ.ศ.2502–2509 (ภาพประกอบจากสภาพัฒน์)”


ในช่วง พ.ศ.2504 ประเทศไทยยังขาดดุลการค้า แต่ปี พ.ศ.2554 นี้ประเทศไทยมีประมาณการการค้าเกินดุล และก็เกินดุลมานานแล้ว (ภาพซ้าย) ทางด้านเกษตร สินค้าหลักในช่วง พ.ศ.2504 คือ ข้าว และ อ้อย แบบเห็นได้ชัด (ภาพกลาง) รวมทั้งดูเหมือนว่า ปัญหาเรื่องน้ำจะเป็นปัญหามาตั้งแต่สมัยนั้น เพราะรายจ่ายเพื่อการชลประทานเยอะสุด [แก้มานาน แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่แฮะ] (ภาพขวา)

“(ซ้าย) กราฟแสดงผลการเปรียบเทียบแนวโน้มระหว่างสินค้านำเข้า และสินค้าส่งออก พ.ศ.2495–2509 (กลาง) ยอดรายจ่ายพัฒนาการเกษตรจากงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2504-2506 (ขวา) ยอดรายจ่ายพัฒนาการเกษตรจากงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2504-2506 (ภาพประกอบจากสภาพัฒน์)”


ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ที่สำคัญๆ บางประเภท ใน พ.ศ. 2502 ส่วนมากเป็นสินค้าไม่ค่อยคุ้นว่าสำคัญมากๆ ในปัจจุบันแล้ว[แฮะ]

 

หน่วย

.. 2502

บุหรี่

ล้านมวน

17,920

ซิการ์

ล้านมวน

9

ซีเมนต์

พันเมตริกตัน

482

เหล็กและเหล็กกล้า

พันเมตริกตัน

6

กระดาษ

พันรีม

78

น้ำตาล

พันเมตริกตัน

100

ผ้า

ล้านเมตร

13

กระสอบป่าน

ล้านใบ

6

ดีบุก

พันเมตริกตัน

10

ยิบซั่ม

พันเมตริกตัน

5

ลิกไนท์

พันเมตริกตัน

140

ทีนี้ เราก็รู้แล้วว่า ปี พ.ศ.2504 เป็นปีที่มีความสำคัญอย่างมากต่อความ “ศิวิไลซ์” ของประเทศไทยขนาดไหน เพราะเป็นการเริ่มต้นแผนฯ 1 จนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยพัฒนามาถึงทุกวันนี้

[แต่ก็ไม่รู้ว่าเหมือนกันว่าถ้าผู้ใหญ่ลีในยุคนั้น มาอยู่ในยุคที่เลยศิวิไลซ์ จนกลายมาเป็นโลกาภิวัตน์อย่างปัจจุบัน เขาจะมีความสุขมากขึ้นหรือน้อยลงกันนะ ^^]






ขอขอบคุณ อ.อนรรฆ พิทักษ์ธานิน สำหรับคำถาม และ อ.แบ๊งค์ งามอรุณโชติ สำหรับโพสต์ จนเป็นแรงจูงใจให้เกิดบทความชิ้นนี้ครับ

ที่มา ๑) สุดสงวน “ผู้ใหญ่ลีตีอะไร…?” สกุลไทย, ฉบับที่ 2599 ปีที่ 50 ประจำวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2547.
ที่มา ๒) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1″ เอกสารออนไลน์.
ที่มา ๓) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “รายงานสรุปสภาวะของประเทศ มิถุนายน 2554″ เอกสารออนไลน์.

  • unkind

    ขอแก้คำผิดนะคะ ท้าวความ ต้องใช้ เท้าความ

  • http://www.facebook.com/varinne Varinne Nifvard

    เป็นบทความที่ดีมากคะ ขอบคุณมั่กๆ XD

  • สบำพยดำพ

    ไม่รู้จริงก็ยังอยากขยายความ

    • นก

      ใช้อยากกับอย่าให้ถูกหน่อย ไม่รู้จริงอย่าขยายความ

      • ผ่านมาเจอ

        ใช้ถูกแล้วค่ะ เพราะในประโยคเดิมมีคำว่า ยัง ด้วย

  • tomwise

    ผ่านมาอ่านการวิเคราะห์เรื่องนั้นเรื่องนี้ด้วยเศรษฐศาสตร์ และอ่านมาเรื่อย ๆ ถึงหัวข้อนี้ ไม่ขอคอมเมนต์เรื่องเศรษฐศาสตร์นะครับ แต่ขอแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่บอกว่าในเพลงผู้ใหญ่ลีมีที่ผิด ตรงจุดที่ว่า “ฝ่ายตาสีหัวคลอน” ผมว่าน่าจะถูกแล้ว โดยคนแต่งเพลงน่าจะต้องการบอกว่า ตาสีคลอนหัว หมายถึง ตาสีสั่นหัวไปมา (เพราะไม่รู้ว่า สุกร คืออะไร) ครับ

    • ผ่านมา

      เห็นด้วยค่ะ ว่าคลอนหัวคือลักษณะ เอียงหัวด้วยความสงสัยอะไรแบบนี้

    • ต้า ดนตรีไทย

      เคยร้องแต่หัวงอนมาตลอด เพาะหัวคลอน ไม่ได้แปลว่าส่ายหัว

  • ต้า ดนตรีไทย

    ขออนุญาตแชร์นะครับ